วัดไชโยแต่เดิมเป็นวัดราษฎร์
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดให้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดไชโยขึ้นใหม่ทั่วทั้งพระอาราม
และยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง พระราชทานนามว่า
วัดไชโยวรวิหาร
ภายในพระวิหารวัดไชโย
เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปนั่งปางสมาธิขนาดใหญ่ ชาวบ้านเรียกท่านว่า “หลวงพ่อโต”
เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในคราวปฏิสังขรณ์วัดไชโย
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงพระราชทานนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า
“พระมหาพุทธพิมพ์”
พระมหาพุทธพิมพ์ พระประธานในพระวิหาร วัดไชโยวรวิหาร |
ก่อนจะมาเป็น
“พระมหาพุทธพิมพ์” ดังที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน
ได้มีความพยายามสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ขึ้นสองครั้งในพระอารามแห่งนี้
โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม
ครั้งแรก
สมเด็จโตได้สร้างพระพุทธรูปนั่งขนาดใหญ่มาก ใช้วิธีก่ออิฐก่อดิน แต่ไม่คงทน
อยู่ได้ไม่นานก็พังทลายลง หลังจากนั้น
สมเด็จโตได้สร้างพระพุทธรูปนั่งขึ้นใหม่ โดยลดขนาดให้เล็กลงกว่าเดิม
แต่ถึงกระนั้นก็ยังนับว่าองค์ใหญ่มาก ครั้งนี้ก่อได้สำเร็จ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ก่ออิฐถือปูนขาว
ไม่ปิดทอง ตั้งอยู่กลางแจ้งมองเห็นได้จากที่ไกล
หลังจากที่สมเด็จโตมรณภาพไปแล้ว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดฯ
ให้เจ้าพระยารัตนบดินทร์ (บุญรอด กัลยาณมิตร) เป็นแม่กองบูรณะปฏิสังขรณ์วัดไชโยขึ้นใหม่ทั่วทั้งพระอาราม ระหว่างปี พ.ศ. 2430 – พ.ศ. 2438 การปฏิสังขรณ์ในครั้งนั้น มีการกระทุ้งฐานราก แรงสั่นสะเทือนทำให้พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สมเด็จโตสร้างไว้พังทลายลง
พระมหาพุทธพิมพ์ หรือ หลวงพ่อโต ชาวบ้านนับถือกันมาแต่โบราณว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ แต่ก่อนเมื่อยังไม่มีการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ ชาวบ้านที่ป่วยเป็นไข้ จะมากราบขอพรและขอน้ำมนต์หลวงพ่อโตไปรักษาตัว |
พระวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ
นายช่างปั้นพระพุทธรูปฝีพระหัตถ์ยอดเยี่ยมในสมัยนั้นได้เข้ามาช่วยดูแลแก้ไข
ทรงพิจารณาเห็นว่า หากจะสร้างพระพุทธรูปขึ้นใหม่ในรูปเดิม ขนาดใหญ่เท่าเดิม
กำลังยึดเหนี่ยวของอิฐปูนคงไม่เพียงพอ จึงทรงให้รื้อออกหมดทั้งองค์
แล้วทรงวางรากฐานการก่อสร้างใหม่ ใช้โครงเหล็กช่วยยึดไว้ภายใน
มีขนาดเล็กกว่าเดิมเล็กน้อย เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ
ซ้อนพระหัตถ์ตามลักษณะเดิมที่สมเด็จโตสร้างไว้
แต่ทรงจีวรและพาดสังฆาฏิกว้างตามแบบใหม่ มีนามพระราชทานว่า “พระมหาพุทธพิมพ์” คือพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหารมาจนถึงทุกวันนี้
รูปหล่อ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรังสี) แต่เดิมเมื่อแรกสร้าง ประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา (ซ้าย) ต่อมาได้จัดสร้างพระวิหารครอบไว้ และปิดทองตลอดทั้งองค์ (ขวา) |
กล่าวถึงสมเด็จพระพุฒาจารย์
(โต พฺรหฺมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม
ท่านเกิดในเวลาเช้าตรู่ของวันพฤหัสบดี ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 5
ปีวอก จุลศักราช 1150 ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
รัชกาลที่ 1 ที่ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ชื่อโยมบิดาไม่ปรากฏ โยมมารดาชื่อ “เกศ” เป็นธิดาของนายไชย เป็นชาวท่าอิฐ จังหวัดอุตรดิตถ์
ต่อมาโยมมารดาของท่านได้ย้ายมาอยุธยาและให้กำเนิดสมเด็จโตที่จังหวัดนี้
เมื่อสมเด็จโตเป็นเด็กนอนแบเบาะอยู่นั้น มารดาได้ย้ายมาอยู่ที่ตำบลไชโย จังหวัดอ่างทอง พอสอนนั่งได้ มารดาก็ย้ายไปอยู่ที่บางขุนพรหม กรุงเทพฯ ด้วยเหตุนี้ จึงสันนิษฐานว่า พระนั่งหรือพระพุทธรูปในพุทธลักษณะนั่งสมาธิที่สมเด็จโตเคยสร้างขึ้น ณ วัดไชโย จังหวัดอ่างทองแห่งนี้ ก็เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงสถานที่ ๆ ท่านได้สอนนั่ง
ด้วยข้อสันนิษฐานนี้
จึงเกี่ยวพันถึงพระพุทธรูปที่สมเด็จโตท่านได้สร้างขึ้นอีกสององค์
คือพระพุทธไสยาสน์ หรือพระนอน วัดสะตือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าท่านเกิดที่นั่น
และพระศรีอริยเมตไตร หรือหลวงพ่อโต
พระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตรองค์ใหญ่ที่วัดอินทรวิหาร กรุงเทพฯ
เพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าเป็นนิวาสสถานที่ท่านหัดตั้งไข่หรือยืนเมื่อครั้งเยาว์วัย
สมัยเป็นเด็ก สมเด็จโตได้เรียนหนังสือในสำนักของท่านเจ้าคุณอรัญญิก พระเถระชาวเวียงจันทน์ผู้ทรงคุณด้านวิปัสสนากรรมฐาน อยู่วัดอินทรวิหาร ต่อมาเมื่อบรรพชาเป็นสามเณร เจ้าคุณอรัญญิกได้พาสามเณรโตไปฝากเป็นศิษย์ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (นาค) วัดระฆัง เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม นอกจากนี้ ยังได้ศึกษาด้านวิปัสสนาธุระในสำนักของสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) สมเด็จโตเป็นผู้มีสติปัญญาเฉียบแหลม ความจำดีและมีไหวพริบปฏิภาณยอดเยี่ยม สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ถึงกับเอ่ยปากชมว่า "สามเณรโตเขามาแปลหนังสือให้ฟัง เขาไม่ได้มาเรียนหนังสือกับฉันดอก"
สมัยเป็นเด็ก สมเด็จโตได้เรียนหนังสือในสำนักของท่านเจ้าคุณอรัญญิก พระเถระชาวเวียงจันทน์ผู้ทรงคุณด้านวิปัสสนากรรมฐาน อยู่วัดอินทรวิหาร ต่อมาเมื่อบรรพชาเป็นสามเณร เจ้าคุณอรัญญิกได้พาสามเณรโตไปฝากเป็นศิษย์ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (นาค) วัดระฆัง เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม นอกจากนี้ ยังได้ศึกษาด้านวิปัสสนาธุระในสำนักของสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) สมเด็จโตเป็นผู้มีสติปัญญาเฉียบแหลม ความจำดีและมีไหวพริบปฏิภาณยอดเยี่ยม สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ถึงกับเอ่ยปากชมว่า "สามเณรโตเขามาแปลหนังสือให้ฟัง เขาไม่ได้มาเรียนหนังสือกับฉันดอก"
สิ่งที่สมเด็จโตสร้างและมีผู้รู้จักกันมากที่สุด
เห็นจะได้แก่ “พระสมเด็จ” พระเครื่องของสมเด็จโตเป็นที่นิยมนับถือกันมานาน
เป็นหนึ่งในพระเครื่องชุด “เบญจภาคี” ที่นักสะสมพระเครื่องปรารถนาจะมีไว้ในครอบครองเป็นที่สุด
พระธรรมถาวร (ช่วง จนฺทโชติ) รองเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามในอดีต ท่านเป็นชาวบางระมาด ฝั่งธนบุรี มาอยู่วัดระฆังในปี พ.ศ. 2397 เมื่ออายุได้ 13 ปี และมรณภาพในปี พ.ศ. 2477 เป็นพระเถระที่มีอายุยืนยาวถึง 92 ปี เป็นผู้หนึ่งที่ได้ใกล้ชิดและมีโอกาสศึกษาเล่าเรียนกับสมเด็จโต อีกทั้งเคยช่วยสมเด็จโตพิมพ์พระ ท่านเล่าให้ฟังว่า สมเด็จโตท่านสร้างพระเครื่องด้วยข้าวสุก กล้วย เปลือกกล้วยน้ำไทบ้าง กล้วยน้ำว้าบ้าง ดินสอพองชนิดเหลืองที่ใช้เขียนกระดานชนวน
ปูนสอที่ร่วงหล่นจากพระเจดีย์และกำแพงวัด เอามาตำให้ละเอียดผสมกับผงอาคมของท่าน
แล้วเคล้าด้วยน้ำผึ้งบ้าง น้ำตาลเคี่ยวบ้าง เมื่อผสมผงได้ที่แล้ว นำมาปั้นและคลึงให้เป็นท่อนยาว แล้วตัดเป็นข้อ ๆ ผ่ากลาง จากนั้นก็นำมาอัดพิมพ์ เมื่อแกะจากแม่พิมพ์แล้ว ท่านเอามีดเจียนหัวเจียนท้ายและข้าง ๆ ตกแต่งให้เรียบร้อย คราวละ 400 – 500 องค์ แล้วท่านก็ทำการปลุกเสก วันละสามครั้ง ต่อจากนั้นก็นำออกแจกจ่ายในโอกาสต่าง ๆ ตามสมควร ในตอนหลังเมื่อสร้างมากขึ้น สมเด็จโตท่านก็นำใส่บาตรหรือกระบุงไปตั้งไว้ในหอสวดมนต์ตรงหน้าพระพุทธรูป แล้วโยงสายสิญจน์จากพระพุทธรูปไปวงที่พระสมเด็จ แล้วบอกให้พระที่มาเจริญพระพุทธมนต์ในพรรษาปลุกเสกให้ด้วย
เนื่องจากสมเด็จโตท่านทำพระสมเด็จแจกเรื่อยมา
หลายครั้งหลายคราว มากบ้างน้อยบ้าง เนื้อพระจึงแตกต่างกันออกไป ส่วนมากท่านใช้อาหารหลักที่ท่านฉันคือข้าวสุกและกล้วย แบ่งเอามาผสมกับผงวิเศษของท่าน
ส่วนผสมในแต่ละคราวจึงไม่เหมือนกันเสียทีเดียว คราวใดมีส่วนผสมของปูนสอมาก
เนื้อพระจะออกมาดูแกร่ง แต่หากคราวใดมีส่วนผสมของปูนสอน้อย
แต่มีข้าวสุกและกล้วยมาก เนื้อพระก็จะดูหนึกนุ่ม สีของพระก็ต่างกันตามเนื้อพระไปด้วย บางรุ่นก็มีสีขาว บางรุ่นก็มีสีเหลืองหรือสีค่อนข้างน้ำตาล เป็นต้น
พระเครื่องที่สมเด็จโตท่านสร้างขึ้น เวลาท่านไปไหนมาไหนก็นำติดย่ามไปด้วยเพื่อแจกให้กับญาติโยม เหตุนี้เองพระสมเด็จเฉพาะที่วัดระฆัง จึงถือกันว่าไม่ใช่พระกรุและไม่มีขี้กรุ แต่อย่างไรก็ตาม ก็ไม่มีผู้ใดทราบอีกเหมือนกันว่า สมเด็จโตท่านได้นำพระสมเด็จบรรจุไว้ในพระเจดีย์ที่วัดระฆังบ้างหรือไม่ ที่ทราบก็มีเพียง "พระสมเด็จปิลันทน์" พระพิมพ์ซึ่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) วัดพระเชตุพน เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ "พระพุทธุปบาทปิลันทน์" อยู่วัดระฆัง ได้มาขอผงวิเศษจากสมเด็จโตไปผสมรวมกับผงใบลานเผาของท่าน สร้างเป็นพระพิมพ์แล้วนำมาบรรจุไว้ในพระเจดีย์ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งอยู่หลังพระอุโบสถวัดระฆังโฆสิตาราม
พระสมเด็จปิลันทน์ พิมพ์ปรกโพธิ์ |
ส่วนพระเครื่องที่สมเด็จโตท่านสร้างและบรรจุกรุไว้ตามพระอารามต่าง ๆ ก็มี เช่นที่พระเจดีย์หน้าพระอุโบสถวัดใหม่อมตรส เรียกกันว่า "พระสมเด็จบางขุนพรหม" ที่ภายในองค์หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร ที่วัดศรีสุดาราม (วัดชีปะขาว บางกอกน้อย) ที่วัดตะไกร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และที่วัดไชโยวรวิหาร จังหวัดอ่างทอง ที่เรียกกันว่า "พระสมเด็จเกศไชโย"
เล่ากันว่า ภายหลังจากที่สมเด็จโตมรณภาพ พระเครื่องที่ท่านสร้างขึ้นและเก็บไว้ในบาตร สัด กระด้ง และในหอสวดมนต์ ได้ถูกขนย้ายมาเก็บรวมกันไว้ในวิหาร ไม่ค่อยได้รับการเหลียวแลเอาใจใส่เท่าใดนัก ต่อมา มีผู้ไปพบพระสมเด็จและนำติดตัวไปบูชา ได้ประสบกับความอัศจรรย์ อภินิหารต่าง ๆ นา ๆ ทั้งเมตตามหานิยม ลาภโชคโภคทรัพย์ แคล้วคลาดคงกระพัน ตลอดจนทำน้ำมนต์รักษาโรคภัยไข้เจ็บ เป็นที่กล่าวขานเลื่องลือ กลายเป็นมูลเหตุให้ผู้คนทั่วไปเริ่มรู้จักและเสาะแสวงหาพระสมเด็จ
เล่ากันว่า ภายหลังจากที่สมเด็จโตมรณภาพ พระเครื่องที่ท่านสร้างขึ้นและเก็บไว้ในบาตร สัด กระด้ง และในหอสวดมนต์ ได้ถูกขนย้ายมาเก็บรวมกันไว้ในวิหาร ไม่ค่อยได้รับการเหลียวแลเอาใจใส่เท่าใดนัก ต่อมา มีผู้ไปพบพระสมเด็จและนำติดตัวไปบูชา ได้ประสบกับความอัศจรรย์ อภินิหารต่าง ๆ นา ๆ ทั้งเมตตามหานิยม ลาภโชคโภคทรัพย์ แคล้วคลาดคงกระพัน ตลอดจนทำน้ำมนต์รักษาโรคภัยไข้เจ็บ เป็นที่กล่าวขานเลื่องลือ กลายเป็นมูลเหตุให้ผู้คนทั่วไปเริ่มรู้จักและเสาะแสวงหาพระสมเด็จ
พระสมเด็จเกศไชโย กล่าวกันว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรังสี) ท่านเป็นผู้สร้างที่วัดระฆัง และนำไปบรรจุกรุไว้ที่วัดไชโยวรวิหาร จังหวัดอ่างทอง |
พระสมเด็จที่วัดไชโยวรวิหารนี้ บรรจุอยู่ในองค์พระเจดีย์ ต่อมาพระเจดีย์พังลง
จึงมีผู้พบและเรียกพระเครื่องกรุนี้ว่า พระสมเด็จเกศไชโย องค์พระมีลักษณะหูยาน เศียรโต เรียกกันว่า
หูบายศรี เศียรบาตร เนื้อพระค่อนข้างเหลือง มี 5 พิมพ์คือ
พิมพ์อกร่องหูยานหรืออกร่องหูบายศรี 9 ชั้น พิมพ์อกร่องหูยาน
8 ชั้น พิมพ์อกร่องหูยาน 7 ชั้น
พิมพ์อกร่องหูยาน 6 ชั้น และพิมพ์อกร่องหูยาน 5 ชั้น
ช่วงปี พ.ศ. 2495 อันเป็นระยะต้น ๆ ที่พระสมเด็จเกศไชโยเริ่มเป็นที่รู้จักแพร่หลาย ราคาเช่าบูชาในขณะนั้นเพียงองค์ละ 50 – 100 บาทเท่านั้น ปัจจุบัน ความนิยมพระสมเด็จเกศไชโยไม่แพ้สมเด็จวัดระฆังและสมเด็จบางขุนพรหม และราคาเช่าบูชาก็ไปไกลมากแล้ว
ช่วงปี พ.ศ. 2495 อันเป็นระยะต้น ๆ ที่พระสมเด็จเกศไชโยเริ่มเป็นที่รู้จักแพร่หลาย ราคาเช่าบูชาในขณะนั้นเพียงองค์ละ 50 – 100 บาทเท่านั้น ปัจจุบัน ความนิยมพระสมเด็จเกศไชโยไม่แพ้สมเด็จวัดระฆังและสมเด็จบางขุนพรหม และราคาเช่าบูชาก็ไปไกลมากแล้ว
สำหรับท่านที่ไม่มีพระสมเด็จไว้บูชา
ก็นิยมอัญเชิญ “พระคาถาชินบัญชร” มาสวดบูชาแทน พระคาถานี้
สมเด็จโตเก็บความมาจากคัมภีร์โบราณผูกหนึ่งซึ่งได้มาจากลังกา มีคุณานุภาพมากมาย
ผู้ใดได้เจริญภาวนาไว้เสมอ จะเจริญด้วยลาภยศ อายุยืนยาว
ปราศจากภัยอันตรายทั้งปวง
ในงานพระราชพิธีหนึ่ง
สมเด็จโตได้เจริญพระคาถาชินบัญชรถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงสดับแล้วรับสั่งว่าพระคาถานี้ดี ซักถามขรัวโตว่าได้มาจากไหน แต่งเองหรือเปล่า สมเด็จโตท่านก็ถวายพระพรว่าเป็นสำนวนเก่า นำมาตัดตอนแก้ไขดัดแปลงใหม่ ตั้งแต่นั้นมา
ทรงมีรับสั่งให้เจ้าจอมหม่อมห้ามและข้าราชบริพารใกล้ชิดพระยุคลบาทเจริญภาวนาพระคาถาบทนี้
หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพระเถระอีกท่านหนึ่งที่ชักชวนพระเณรและญาติโยมสวดพระคาถาชินบัญชร เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อปี พ.ศ. 2529 มีโยมเอารูปหล่อเก่าของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรังสี) มาถวาย ท่านก็เลยสั่งให้ลูกศิษย์ไปคัดลอกบทสวดพระคาถาชินบัญชรพร้อมทั้งบทแปล มาแจกจ่ายให้สมาชิกของวัดถ้ำผาปล่องได้สวด หลวงปู่สิมเอง ท่านก็หัดสวดไปพร้อม ๆ กับลูกศิษย์ด้วย ท่านบอกเพียงว่า "หลวงพ่อโตท่านสั่งให้สวด" ตั้งแต่นั้นมา พระคาถาชินบัญชร จึงเป็นบทสวดมนต์ประจำอีกบทหนึ่งของวัดถ้ำผาปล่อง ด้วยประการฉะนี้
พระคาถาชินบัญชรนี้เป็นพระคาถาศักดิ์สิทธิ์
เป็นการอัญเชิญคุณพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ มาเป็นเครื่องคุ้มครองป้องกัน
มาประดับในสรีระร่างกายของตน เพื่อความเป็นสิริมงคลปลอดภัยในที่ทั้งปวง
สมเด็จโตท่านใช้พระคาถาบทนี้เสกพระเครื่องของท่าน นอกจากนี้
การสร้างพระเครื่องของครูบาอาจารย์ในยุคต่อ ๆ มา
ก็ได้อัญเชิญพระคาถาชินบัญชรนี้มาสวดในพิธีพุทธาภิเษกอยู่เสมอ ๆ
เจ้าคุณนรฯ หรือท่านธมฺมวิตกฺโกภิกขุ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร พระเถระผู้ได้รับการเคารพยกย่องว่าเป็น "พระอรหันต์กลางกรุง" |
ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ วัดเทพศิรินทราวาส เคยปรารภกับผู้ใกล้ชิดว่า "...สำหรับพระเครื่องที่อาตมาพบว่ามีพลังมากที่สุดก็คือ พระสมเด็จของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พฺรหฺมรังสี แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม เพราะพลังจิตของท่านสูงและบริสุทธิ์อย่างแท้จริง อีกทั้งชินบัญชรคาถา ก็เป็นพระคาถาที่ได้ร้อยกรองมาอย่างดี อาตมาใช้สวดในการอธิษฐานจิตเป็นประจำ.."
อ้างอิง - พระสมเด็จ (โต) ของท่านอาจารย์เทพชู ทับทอง
- พระพุทธรูปสำคัญ กรมศิลปากร
อ้างอิง - พระสมเด็จ (โต) ของท่านอาจารย์เทพชู ทับทอง
- พระพุทธรูปสำคัญ กรมศิลปากร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น