กล่าวถึงพระนิรันตราย (องค์ใน) เป็นพระพุทธรูปที่กำนันอินและนายยังบุตรชาย ขุดพบเมื่อปีมะโรง พ.ศ. 2399 ที่ชายป่าแขวงเมืองปราจีนบุรี ห่างจากดงศรีมหาโพธิ์ประมาณสามเส้น ในขณะที่กำลังขุดมันนกกันอยู่ โดยก่อนหน้านั้น ฝันว่าจับช้างเผือกได้
บริเวณดงศรีมหาโพธิ์เคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณที่เจริญรุ่งเรืองมาแต่สมัยทวารวดี นักโบราณคดีเคยขุดพบเทวสถานและเชิงเทินเมืองโบราณ รูปศิลาที่สลักเป็นพระปางนาคปรก และรูปสัมฤทธิ์ที่หล่อเป็นรูปพระแม่ธรณีบีบมวยผม โบราณวัตถุที่ขุดค้นพบนี้ เป็นฝีมือช่างสมัยเดียวกันกับทวารวดีหรืออู่ทอง
พระนิรันตราย (องค์ใน) พระพุทธรูปโบราณ หล่อด้วยทองคำ กำนันอินและบุตรชายขุดพบเมื่อปีมะโรง พ.ศ. 2399 ใกล้ดงศรีมหาโพธิ์ ปราจีนบุรี |
พระพุทธรูปที่กำนันอินและบุตรชายขุดพบ เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองคำเนื้อหก น้ำหนักเจ็ดตำลึงสิบเอ็ดสลึง พุทธศิลปะแบบทวารวดี จึงให้พระเกรียงไกรกระบวนยุทธ์ ปลัดเมืองฉะเชิงเทรา พาเข้ามา ณ กรุงเทพฯ เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ในวันพระฤกษ์เฉลิมพระราชมณเฑียรสีตลาภิรมย์
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 |
พระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดสองคนพ่อลูกนี้ว่า มีกตัญญูต่อพระพุทธศาสนาและพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อขุดได้พระทองคำเช่นนี้แล้ว แทนที่จะยุบหลอมนำทองคำไปจับจ่ายใช้สอยเป็นประโยชน์ตน กลับมีน้ำใจนำมาทูลเกล้าฯ ถวาย จึงทรงพระราชทานรางวัลเป็นเงินตราเจ็ดชั่ง (560 บาท)
พระนิรันตรายที่นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานนำไปเก็บไว้ในหอเสถียรธรรมปริตร ครั้นเมื่อปีวอก พ.ศ. 2403 มีคนร้ายลอบเข้าไปขโมยพระกริ่งทองคำองค์น้อยในหอนั้น แต่กลับไม่ลักพระนิรันตราย พระเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีพระราชดำริว่า พระพุทธรูปนี้ เมื่อขุดได้ก็ไม่บุบทำลาย และควรที่ผู้ร้ายจะลัก แต่ก็ไม่ลัก ทั้ง ๆ ที่เป็นพระทองคำองค์ใหญ่กว่าพระกริ่ง แคล้วคลาดไม่เป็นอันตรายถึงสองครั้งเป็นอัศจรรย์ จึงทรงถวายพระนามว่า "พระนิรันตราย" ("นิร" + "อันตราย", มีความหมายว่า "ปราศจากอันตราย")
พระนิรันตรายที่นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานนำไปเก็บไว้ในหอเสถียรธรรมปริตร ครั้นเมื่อปีวอก พ.ศ. 2403 มีคนร้ายลอบเข้าไปขโมยพระกริ่งทองคำองค์น้อยในหอนั้น แต่กลับไม่ลักพระนิรันตราย พระเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีพระราชดำริว่า พระพุทธรูปนี้ เมื่อขุดได้ก็ไม่บุบทำลาย และควรที่ผู้ร้ายจะลัก แต่ก็ไม่ลัก ทั้ง ๆ ที่เป็นพระทองคำองค์ใหญ่กว่าพระกริ่ง แคล้วคลาดไม่เป็นอันตรายถึงสองครั้งเป็นอัศจรรย์ จึงทรงถวายพระนามว่า "พระนิรันตราย" ("นิร" + "อันตราย", มีความหมายว่า "ปราศจากอันตราย")
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานหล่อพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิเพชรต้องตามพุทธลักษณะหน้าตักห้านิ้วกึ่ง หล่อด้วยทองคำ สวมครอบพระพุทธรูปนิรันตรายไว้อีกชั้นหนึ่ง และเรียกนามรวมกันมาจนถึงทุกวันนี้ว่า "พระนิรันตราย" พระพุทธรูปที่หล่อขึ้นในครั้งนี้ ไม่มีซุ้มเรือนแก้วเป็นพุ่มพระมหาโพธิ์อยู่เบื้องหลัง ปัจจุบัน ประดิษฐานอยู่ ณ หอพระสุลาลัยพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร
หอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง สถานที่ประดิษฐานพระนิรันตรายทองคำและพระนิรันตรายเงิน |
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้อัญเชิญพระนิรันตรายทองคำประดิษฐานในพระแท่นมณฑลในพระราชพิธีต่าง ๆ เช่น พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ ( ทำบุญตรุษ ) พระราชพิธีสงกรานต์ ฯลฯ ปัจจุบัน เจ้าพนักงานภูษามาลายังรักษาแบบแผนโบราณราชประเพณีโดยอัญเชิญพระนิรันตรายไปตั้งในพระราชพิธีสำคัญ เช่น ในการบำเพ็ญพระราชกุศลวันเฉลิมพระชนมพรรษา และการพระราชกุศลที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัด ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ฯลฯ เป็นต้น
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้พระพุทธรูปงาช้าง ประทับขัดสมาธิราบจากลังกา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างครอบถวายโดยจำลองจากพระนิรันตราย (องค์ครอบ) ขึ้นใหม่ด้วยเงิน เรียกว่า "พระนิรันตรายเงิน" ไม่มีซุ้มเรือนแก้ว
(ซ้าย) พระสัมพุทธพรรณี วัดราชาธิวาส (กลาง) พระสัมพุทธสิริ วัดโสมนัสราชวรวิหาร (ขวา) พระพุทธอังคีรส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม |
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพิจารณาแบบอย่างพุทธลักษณะว่า พระพุทธรูปไม่ควรมีพระเมาลี (จุกหรือมวยผม) ดังนั้น พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระองค์จึงมีพุทธศิลป์ที่ต่างจากพระพุทธรูปที่สร้างกันมาแต่โบราณ คือ มีพระรัศมีบนพระเกศา แต่ไม่มีพระเมาลี เช่น พระนิรันตราย พระสัมพุทธพรรณี พระสัมพุทธสิริ พระพุทธอังคีรส
ในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า พระสงฆ์คณะธรรมยุติกนิกายที่พระองค์ทรงสถาปนานั้น แพร่หลายไพบูลย์มากขึ้น มีผู้มีทรัพย์และศรัทธาสร้างพระอารามถวายเป็นการเฉพาะแด่พระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติหลายพระอาราม จึงควรมีสิ่งอันสำคัญเพื่อเป็นที่ระลึกสืบไป ดังนั้น ในปีมะโรง พ.ศ. 2411 โปรดเกล้าฯ ให้ช่างหล่อพระพุทธรูปด้วยทองเหลืองกะไหล่ทอง นั่งขัดสมาธิเพชร พิมพ์เดียวกันกับพระพุทธรูปทองคำซึ่งสวมพระนิรันตราย แต่มีเรือนแก้วอยู่เบื้องหลังเป็นพุ่มพระมหาโพธิ์ มีอักษรขอมจำหลักลงไว้ในวงกลีบบัว เบื้องหน้า 9 เบื้องหลัง 9 แสดงพระพุทธคุณตั้งแต่ "อรหังสัมมาสัมพุทโธ" จนถึง "ภควา" ยอดเรือนแก้วมีรูปพระมหามงกุฎตั้งติดอยู่กับฐานชั้นล่าง รองฐานพระซึ่งเป็นที่สำหรับรับน้ำสรงพระ มีท่อเป็นรูปศีรษะโคแสดงเป็นที่หมายพระโคตร ซึ่งเป็นโคตมะ
ในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า พระสงฆ์คณะธรรมยุติกนิกายที่พระองค์ทรงสถาปนานั้น แพร่หลายไพบูลย์มากขึ้น มีผู้มีทรัพย์และศรัทธาสร้างพระอารามถวายเป็นการเฉพาะแด่พระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติหลายพระอาราม จึงควรมีสิ่งอันสำคัญเพื่อเป็นที่ระลึกสืบไป ดังนั้น ในปีมะโรง พ.ศ. 2411 โปรดเกล้าฯ ให้ช่างหล่อพระพุทธรูปด้วยทองเหลืองกะไหล่ทอง นั่งขัดสมาธิเพชร พิมพ์เดียวกันกับพระพุทธรูปทองคำซึ่งสวมพระนิรันตราย แต่มีเรือนแก้วอยู่เบื้องหลังเป็นพุ่มพระมหาโพธิ์ มีอักษรขอมจำหลักลงไว้ในวงกลีบบัว เบื้องหน้า 9 เบื้องหลัง 9 แสดงพระพุทธคุณตั้งแต่ "อรหังสัมมาสัมพุทโธ" จนถึง "ภควา" ยอดเรือนแก้วมีรูปพระมหามงกุฎตั้งติดอยู่กับฐานชั้นล่าง รองฐานพระซึ่งเป็นที่สำหรับรับน้ำสรงพระ มีท่อเป็นรูปศีรษะโคแสดงเป็นที่หมายพระโคตร ซึ่งเป็นโคตมะ
พระนิรันตราย หล่อด้วยทองเหลืองกะไหล่ทอง มีซุ้มเรือนแก้ว สร้างขึ้นรวม 18 องค์ เพื่อพระราชทานไว้ ณ พระอาราม คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย |
พระพุทธรูปซึ่งหล่อใหม่นี้มีจำนวน 18 องค์ เท่าจำนวนปีที่ดำรงสิริราชสมบัติ (พ.ศ. 2394 - พ.ศ. 2411) พระราชทานนามพระพุทธรูปทั้ง 18 องค์นี้ว่า "พระนิรันตราย" เช่นกัน
พระนิรันตราย เนื้อทองเหลืองกะไหล่ทอง มีซุ้มเรือนแก้ว ประดิษฐานหน้าพระสัมพุทธสิริ พระประธานในพระอุโบสถ วัดโสมนัสราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร 1 ใน 18 องค์ที่ทรงพระราชทานไว้ ณ พระอาราม คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย |
พระนิรันตราย เนื้อทองเหลืองกะไหล่ทอง มีซุ้มเรือนแก้ว ประดิษฐานหน้าพระพุทธวรนาถ พระประธานในพระอุโบสถ วัดบุปผารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร 1 ใน 18 องค์ที่ทรงพระราชทานไว้ ณ พระอาราม คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย |
พระนิรันตรายทั้ง 18 องค์นี้ ยังมิทันได้กะไหล่ทองก็เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ช่างกะไหล่ทองจนแล้วเสร็จและพระราชทานไว้ ณ พระอารามในคณะธรรมยุติกนิกาย ตามพระราชประสงค์ในสมเด็จพระบรมชนกนาถ วัดละองค์ ได้แก่ วัดบวรนิเวศวิหาร วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม วัดเสนาสนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัดนิเวศธรรมประวัติ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัดบรมนิวาส วัดมกุฎกษัตริยาราม วัดเทพศิรินทราวาส วัดโสมนัสราชวรวิหาร วัดราชาธิวาส วัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี วัดปทุมวนาราม วัดราชผาติการาม วัดสัมพันธวงศาราม วัดเครือวัลย์ วัดบุปผารามวรวิหาร วัดบุรณศิริมาตยาราม วัดยุคันธราวาส จังหวัดนนทบุรี
อ้างอิง พระพุทธรูปสำคัญ กรมศิลปากร
พระนิรันตราย วัดบวรนิเวศวิหาร ที่ระลึกงานบำเพ็ญพระกุศลคล้ายวันประสูติ เจริญพระชันษา 99 ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก 3 ตุลาคม 2555 |
พระนิรันตราย พิธีใหญ่ วัดบวรนิเวศวิหาร พ.ศ. 2555 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จฯ ทรงเททอง จัดสร้างโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกับมูลนิธิโรงพยาบาลตำรวจ รายได้สมทบทุนจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ โรงพยาบาลตำรวจ |
ด้วยประวัติความเป็นมา จึงมีความเชื่อว่า พระนิรันตรายมีพุทธคุณโดดเด่นในด้านแคล้วคลาดและป้องกันศัตรูคิดร้าย วัดในสังกัดธรรมยุติกนิกาย จึงนิยมสร้างพระพิมพ์เป็นรูปพระนิรันตราย สำหรับแจกเป็นที่ระลึกในโอกาสสำคัญต่าง ๆ
อ้างอิง พระพุทธรูปสำคัญ กรมศิลปากร
("นิร" + "อันตราย", มีความหมายว่า "ปราศจากอันตราย")
ตอบลบปรัชญาสถานศึกษา
ความรู้คู่คุณธรรม น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
รหัสประจำตัวประชาชน 3160100547447
รหัสประจำตัวนักศึกษา 5723000263 รหัสกลุ่ม 135
นักศึกษา กศน.อำเภอเมืองลพบุรี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองลพบุรี
284 ถ.นารายณ์มหาราช ต.ทะเลชุบศร อ.เมืองลพบุรี จ.ลพบุรี 15000
เว็บไซด์ : http://lopburi.nfe.go.th/5002 โทร.063412497,036413929
ปรัชญาสถานศึกษา
ตอบลบความรู้คู่คุณธรรม น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
รหัสประจำตัวประชาชน 3160100547447
รหัสประจำตัวนักศึกษา 5723000263 รหัสกลุ่ม 135
นักศึกษา กศน.อำเภอเมืองลพบุรี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองลพบุรี
284 ถ.นารายณ์มหาราช ต.ทะเลชุบศร อ.เมืองลพบุรี จ.ลพบุรี 15000
เว็บไซด์ : http://lopburi.nfe.go.th/5002 โทร.063412497,036413929
ปรัชญาสถานศึกษา
ตอบลบความรู้คู่คุณธรรม น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
รหัสประจำตัวประชาชน 3160100547447
รหัสประจำตัวนักศึกษา 5723000263 รหัสกลุ่ม 135
นักศึกษา กศน.อำเภอเมืองลพบุรี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองลพบุรี
284 ถ.นารายณ์มหาราช ต.ทะเลชุบศร อ.เมืองลพบุรี จ.ลพบุรี 15000
เว็บไซด์ : http://lopburi.nfe.go.th/5002 โทร.063412497,036413929
กระผมนับถือมากผมได้เก็บไว้บูชาจำนวน2องค์ของกรมตำรวจออกปี2555 โดยพล.ต.อเพรียวพัน ดามาพงศ์ท่านเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ตอบลบ