ภาณยักษ์และภาณพระนี้ คือเรื่องเล่าถึงความเป็นมาของพระสูตรที่มีชื่อว่า อาฏานาฏิยสูตร ซึ่งโบราณจารย์นำมาทำเป็นพระปริตร (คำสวดสำหรับคุ้มครองป้องกันภัย) เรียกว่า อาฏานาฏิยปริตร ความว่า ..
เมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ เขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์นั้น ครั้นล่วงปฐมยามแห่งราตรีแล้ว ท้าวจาตุมหาราชทั้ง 4 พร้อมด้วยหมู่เสนาบริวารยักษ์ คนธรรพ์ กุมภัณฑ์และนาค มาเฝ้าพระพุทธองค์ เปล่งรัศมีสว่างไสวงดงามไปทั่วเขาคิชฌกูฏ
ท้าวจาตุมหาราชทั้ง 4 เป็นเทวดาในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิก ซึ่งเป็นสวรรค์ชั้นที่ 1 ในจำนวน 6 ชั้นอันได้แก่ ชั้นจาตุมหาราชิก ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามะ ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี และชั้นปรนิมมิตวสวัตตี มีหน้าที่รักษาด่านหน้าของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อป้องกันพวกอสูรซึ่งเป็นศัตรูของเทพชั้นดาวดึงส์จะยกขึ้นมาตีเอาถิ่นสวรรค์ นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่รักษาโลกในทิศทั้ง 4 ตรวจดูโลกซึ่งเป็นที่อยู่ของมนุษย์ว่าได้ทำความดีมากน้อยอย่างไร จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ท้าวจตุโลกบาล" กล่าวคือ
ท้าวเวสสุวัณหรือท้าวกุเวร รักษาโลกด้านทิศอุดรหรือทิศเหนือ มียักษ์เป็นเสนาบริวาร
ท้าวธตรฐ รักษาโลกด้านทิศบูรพาหรือทิศตะวันออก มีภูติหรือคนธรรพ์เป็นเสนาบริวาร
ท้าววิรุฬหก รักษาโลกด้านทิศทักษิณหรือทิศใต้ มีเทวดาหรือกุมภัณฑ์เป็นเสนาบริวาร
ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค รักษาโลกด้านทิศประจิมหรือทิศตะวันตก มีนาคเป็นเสนาบริวาร
เมื่อถวายบังคมแล้ว ท้าวเวสสุวัณได้กราบทูลพระพุทธเจ้าว่า ยักษ์บางพวกเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า แต่โดยมากไม่เลื่อมใส เพราะพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเพื่อเว้นการฆ่าทำลายชีวิต เว้นการลักทรัพย์ เว้นการประพฤติผิดในกาม เว้นการพูดเท็จ เว้นดื่มน้ำเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ยักษ์โดยมากไม่งดเว้นดังกล่าว จึงไม่รักไม่ชอบใจหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง และสาวกของพระพุทธเจ้าผู้อยู่ป่าอันสงัดเงียบก็มีอยู่มาก พวกยักษ์ก็มักอยู่ในป่าเช่นนั้น ฉะนั้น เพื่อให้ยักษ์ที่ไม่เลื่อมใสในพระธรรมของพระพุทธเจ้า บังเกิดความเลื่อมใสขึ้น ก็ขอให้พระพุทธเจ้าได้โปรดรับ "อาฏานาฏิยรักขา" เพื่อคุ้มครองรักษาพุทธบริษัททั้งหลายให้พ้นจากการถูกเบียดเบียน เพื่ออยู่เป็นสุข
ใจความของ "อาฏานาฏิยรักขา" ขึ้นต้นด้วยถ้อยคำนมัสการพระพุทธเจ้า 7 พระองค์ คือ พระวิปัสสีพุทธเจ้า พระสิขีพุทธเจ้า พระเวสสภูพุทธเจ้า พระกกุสันธพุทธเจ้า พระโกนาคมน์พุทธเจ้า พระกัสสปพุทธเจ้า และพระศากยบุตร หรือพระบรมศาสดาของเราทั้งหลายในบัดนี้ ด้วยคาถาว่า "วิปสฺสิฺสฺส นมตฺถุ จกฺขุมนฺตสฺส สิรีมโต ... ฯ ล ฯ ... วิชฺชาจรณสมฺปนฺนํ มหนฺตํ วีตสารทํ"
ต่อไปกล่าวพรรณาถึงท้าวจาตุมหาราชทั้งสี่องค์ ประจำทิศต่าง ๆ พร้อมด้วยบุตรซึ่งเคารพ นมัสการพระพุทธเจ้า โดยกล่าวถึงทิศเหนือเป็นพิเศษ ซึ่งท้าวจาตุมหาราชผู้รักษาทิศนี้คือท้าวเวสสุวัณหรือท้าวกุเวรว่า มีนครอยู่หลายนคร มีชื่อว่าอาฏานาฏา กุสินาฏา ปรกุสินาฏา เป็นต้น และท้าวกุเวรนี้ แต่ก่อนเป็นพราหมณ์ชื่อว่ากุเวร ได้บำเพ็ญกุศลไว้ จึงมาเกิดเป็นท้าวโลกบาลประจำทิศเหนือ มีชื่อว่ากุเวร และเพราะมีราชธานีอันวิสาณ คือกว้างใหญ่ จึงเรียกว่าเวสสุวัณ
ใจความของ "อาฏานาฏิยรักขา" ขึ้นต้นด้วยถ้อยคำนมัสการพระพุทธเจ้า 7 พระองค์ คือ พระวิปัสสีพุทธเจ้า พระสิขีพุทธเจ้า พระเวสสภูพุทธเจ้า พระกกุสันธพุทธเจ้า พระโกนาคมน์พุทธเจ้า พระกัสสปพุทธเจ้า และพระศากยบุตร หรือพระบรมศาสดาของเราทั้งหลายในบัดนี้ ด้วยคาถาว่า "วิปสฺสิฺสฺส นมตฺถุ จกฺขุมนฺตสฺส สิรีมโต ... ฯ ล ฯ ... วิชฺชาจรณสมฺปนฺนํ มหนฺตํ วีตสารทํ"
ต่อไปกล่าวพรรณาถึงท้าวจาตุมหาราชทั้งสี่องค์ ประจำทิศต่าง ๆ พร้อมด้วยบุตรซึ่งเคารพ นมัสการพระพุทธเจ้า โดยกล่าวถึงทิศเหนือเป็นพิเศษ ซึ่งท้าวจาตุมหาราชผู้รักษาทิศนี้คือท้าวเวสสุวัณหรือท้าวกุเวรว่า มีนครอยู่หลายนคร มีชื่อว่าอาฏานาฏา กุสินาฏา ปรกุสินาฏา เป็นต้น และท้าวกุเวรนี้ แต่ก่อนเป็นพราหมณ์ชื่อว่ากุเวร ได้บำเพ็ญกุศลไว้ จึงมาเกิดเป็นท้าวโลกบาลประจำทิศเหนือ มีชื่อว่ากุเวร และเพราะมีราชธานีอันวิสาณ คือกว้างใหญ่ จึงเรียกว่าเวสสุวัณ
เหรียญท้าวเวสสุวัณ ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง ด้านหลังเป็นรูปท้าวเวสสุวัณ สร้างเมื่อ 25 กันยายน พ.ศ. 2521 ปลุกเสกที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช |
ท้าวเวสสุวัณได้กล่าวต่อไปถึงอาฏานาฏิยรักขานี้ว่า เมื่อภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เรียนอาฏานาฏิยรักขานี้ ท่องบ่นดีแล้ว หากมีพวกอมนุษย์ใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นยักษ์ คนธรรพ์ กุมภัณฑ์ นาคตลอดจนพวกพ้อง มีจิตคิดประทุษร้าย เข้าไปใกล้พุทธบริษัทผู้เรียน "รักขา" นี้ อมนุษย์ผู้นั้นจะต้องถูกลงโทษ ถูกตัดลาภ ถูกไล่ที่ ถูกตัดสมาคม ถูกตำหนิ ถูกครอบศีรษะด้วยหม้อเหล็ก หรือแม้แต่ถูกผ่าศีรษะออกเป็น 7 เสี่ยง
แต่ก็อาจมีพวกอมนุษย์ผู้ดุร้ายหยาบช้า ขัดเทพอาณัติ ไม่เชื่อฟังท้าวจาตุมหาราช ถ้าพึงมีขึ้น ก็ให้ร้องกล่าวโทษแก่มหาเสนาบดียักษ์ผู้มีหน้าที่รับคำร้องเพื่อนำตัวอมนุษย์ผู้ประพฤติละเมิดไปลงโทษเช่นเดียวกัน
ครั้นท้าวเวสสุวัณได้แสดงอาฏานาฏิยรักขานี้ถวายพระพุทธเจ้าแล้ว ได้กราบทูลลากลับ วันรุ่งขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเล่าแก่ภิกษุทั้งหลายมีถ้อยคำและข้อความอย่างเดียวกัน และทรงพระอนุญาตให้เรียน "รักขา" คือคำสวดสำหรับคุ้มครองป้องกันภัยนี้ได้
ความย่อของอาฏานาฏิยสูตรมีดังกล่าวมาข้างต้นนี้ แบ่งออกเป็น 2 ภาคคือ ภาคต้น เรียกว่า "ภาณยักษ์" (คือบทกล่าวของยักษ์หรือท้าวเวสสุวัณ) กล่าวถึงคืนที่ท้าวจาตุมหาราชทั้ง 4 ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่เขาคิชฌกูฏ และท้าวเวสสุวัณทูลอาราธนาพระพุทธองค์ให้สอนอาฏานาฏิยรักขาแก่พุทธบริษัท ภาคหลังเรียกว่า "ภาณพระ" (คือบทกล่าวของพระ) ที่พระพุทธเจ้าตรัสเรียกพระสงฆ์สาวกมาสอนอาฏานาฏิยรักขา
ถ้อยคำในพระสูตรทั้งสองภาคนั้นซ้ำกันโดยมาก มีแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยบางแห่ง เช่น ใน "ภาณยักษ์" เรียกพระพุทธองค์ว่า "พระผู้มีพระภาค" แต่ใน "ภาณพระ" เรียกว่า "ตัวเรา" เป็นต้น
แต่ก็อาจมีพวกอมนุษย์ผู้ดุร้ายหยาบช้า ขัดเทพอาณัติ ไม่เชื่อฟังท้าวจาตุมหาราช ถ้าพึงมีขึ้น ก็ให้ร้องกล่าวโทษแก่มหาเสนาบดียักษ์ผู้มีหน้าที่รับคำร้องเพื่อนำตัวอมนุษย์ผู้ประพฤติละเมิดไปลงโทษเช่นเดียวกัน
ครั้นท้าวเวสสุวัณได้แสดงอาฏานาฏิยรักขานี้ถวายพระพุทธเจ้าแล้ว ได้กราบทูลลากลับ วันรุ่งขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเล่าแก่ภิกษุทั้งหลายมีถ้อยคำและข้อความอย่างเดียวกัน และทรงพระอนุญาตให้เรียน "รักขา" คือคำสวดสำหรับคุ้มครองป้องกันภัยนี้ได้
ความย่อของอาฏานาฏิยสูตรมีดังกล่าวมาข้างต้นนี้ แบ่งออกเป็น 2 ภาคคือ ภาคต้น เรียกว่า "ภาณยักษ์" (คือบทกล่าวของยักษ์หรือท้าวเวสสุวัณ) กล่าวถึงคืนที่ท้าวจาตุมหาราชทั้ง 4 ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่เขาคิชฌกูฏ และท้าวเวสสุวัณทูลอาราธนาพระพุทธองค์ให้สอนอาฏานาฏิยรักขาแก่พุทธบริษัท ภาคหลังเรียกว่า "ภาณพระ" (คือบทกล่าวของพระ) ที่พระพุทธเจ้าตรัสเรียกพระสงฆ์สาวกมาสอนอาฏานาฏิยรักขา
ถ้อยคำในพระสูตรทั้งสองภาคนั้นซ้ำกันโดยมาก มีแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยบางแห่ง เช่น ใน "ภาณยักษ์" เรียกพระพุทธองค์ว่า "พระผู้มีพระภาค" แต่ใน "ภาณพระ" เรียกว่า "ตัวเรา" เป็นต้น
ตราประจำจังหวัดอุดรธานี เป็นรูปท้าวเวสสุวัณหรือท้าวกุเวร หมายถึงเทพยดาผู้คุ้มครองรักษาประจำทิศอุดร ยืนถือกระบองเฝ้ารักษาเมือง กรมศิลปากรออกแบบ พ.ศ. 2483 |
คนโบราณเชื่อว่า ยักษ์เป็นตัวนำโรคภัยไข้เจ็บ เมื่อเกิดโรคระบาดเช่นอหิวาตกโรค ก็เพราะหมู่ยักษ์ซึ่งเป็นบริวารของท้าวกุเวรพากันมาจับมนุษย์ ลัทธิความเชื่อนี้คงจะมีมาก่อนที่พระพุทธศาสนาจะเข้าถึง เมื่อพระพุทธศาสนาเข้ามาแล้ว ก็มีพระสูตรนี้ที่เล่าว่า ท้าวกุเวรซึ่งเป็นเจ้าแห่งยักษ์ได้มาเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลขอพระพุทธานุญาตให้พุทธบริษัทสวดบทอาฏานาฏิยสูตรนี้ เพื่อป้องกันอันตรายจากพวกยักษ์ที่ดุร้าย จึงเกิดเทศกาลนิมนต์พระสวดพระสูตรนี้ เพื่อป้องกันและขจัดปัดเป่าภยันตรายจากพวกยักษ์ผีปีศาจต่าง ๆ คือโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ นั้นเอง
อาฏานาฏิยสูตร เป็นบทสวดหนึ่งในคัมภีร์ภาณวารอันเป็นคัมภีร์ที่รวมรวมพระสูตรและพระปริตรบทต่าง ๆ ที่พระเถราจารย์ในลังกาทวีปแต่โบราณได้เลือกสรรไว้สวดเป็นพระพุทธมนต์ เพื่อให้เกิดสิริมงคลและป้องกันภยันตราย
คัมภีร์ภาณวารมีพระสูตรและพระปริตรรวมกัน 22 บท จัดแบ่งเป็น 4 ตอนหรือ 4 ภาณ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "จตุภาณวาร" แต่ละตอนสั้นยาวไม่เท่ากัน ในตอนที่ 4 จะมีแต่อาฏานาฏิยสูตรทั้งภาณยักษ์และภาณพระ ด้วยบทสวดภาณวารมีความยาว ต้องใช้เวลาสวดหลายชั่วโมงจึงจบ พระสงฆ์จึงอาจจะเลือกสวดภาณใดภาณหนึ่งตามสมควรแก่การพิธี เฉพาะพิธีที่มีความสำคัญยิ่ง จึงสวดหมดทั้ง 4 ภาณ
นานมาแล้ว เคยมีประเพณีที่ถือปฏิบัติกันในหมู่สงฆ์สำหรับพระภิกษุบวชใหม่ว่า ภายในพรรษาแรกต้องท่องจำ "ทำวัตรพระ" กับ "พระอภิธรรม" ให้ได้ ต่อไปในพรรษาที่ 2 ต้องท่องจำ "พระปริตร" (7 ตำนานและ 12 ตำนาน) ถึงพรรษาที่ 3 ต้องท่องจำ "ภาณวาร" ให้สวดได้ทั้งคัมภีร์ รวมถึง "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" และ "มหาสมัยสูตร" ด้วย และภายในพรรษาที่ 5 ต้องท่องจำ "ปาติโมกข์" ให้ได้
อาฏานาฏิยสูตร เป็นบทสวดหนึ่งในคัมภีร์ภาณวารอันเป็นคัมภีร์ที่รวมรวมพระสูตรและพระปริตรบทต่าง ๆ ที่พระเถราจารย์ในลังกาทวีปแต่โบราณได้เลือกสรรไว้สวดเป็นพระพุทธมนต์ เพื่อให้เกิดสิริมงคลและป้องกันภยันตราย
ในสมัยโบราณ พระราชพิธีที่มีสวดภาณวารมีไม่กี่พิธี ที่เป็นพิธีประจำปีก็มีพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ หรือพระราชพิธีตรุษสิ้นเดือน 4 เป็นพระราชพิธีสิ้นสุดปีตามจันทรคติกาลที่จัดขึ้นเพื่อความเป็นสวัสดิมงคลแก่พระนคร นอกนั้นเป็นพิธีจร เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีลงสรงโสกันต์เจ้าฟ้า (โกนจุก) พระราชพิธีพรุณศาสตร์ขอฝน พระราชพิธีหล่อพระพุทธรูปสำคัญ เป็นต้น
พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ จิตรกรรมฝาผนัง วัดเสนาสนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ จัดขึ้น ณ พระบรมมหาราชวัง รวมระยะเวลาของพิธี 5 วันนับตั้งแต่วันแรม 11 ค่ำที่เริ่มต้นทำพิธีตั้งน้ำวงด้าย ถึง แรม 15 ค่ำอันเป็นวันส่งพิธีตรุษ ลักษณะการสวดภาณวารในพิธีสัมพัจฉรฉินท์นั้น ในเดือน 4 แรม 12 ค่ำ และ แรม 13 ค่ำ พระสงฆ์จะผลัดเปลี่ยนกันสวดภาณวารทั้งกลางวันและกลางคืน จะสวดแต่ 3 ภาณข้างต้นจบแล้วย้อนใหม่ จนถึงเมื่อแรม 14 ค่ำ เวลาจะยิงปืนอาฏานา จึงสวดภาณที่ 4 หรืออาฏานาฏิยสูตรภาณเดียวไปจนตลอดรุ่ง
ในวันแรม 14 ค่ำเดือน 4 อันเป็นวันสวดอาฏานาฏิยสูตรนั้น ผู้เข้าร่วมพิธีจะสวมมงคลจักรไว้ที่ศีรษะ ถือกระบองทำด้วยใบตาลเพื่อใช้สำหรับตียักษ์และภูติผีปีศาจ ห้อยคล้องพิสมรซึ่งเป็นเครื่องรางชนิดหนึ่งทำจากใบลาน ลงอักขระเลขยันต์และพับเป็นสี่เหลี่ยมร้อยด้วยเส้นด้ายสำหรับป้องกันภัย พิสมรนั้นทำเป็น 3 ขนาด ขนาดเล็กสำหรับมนุษย์ ขนาดกลางสำหรับม้าต้น ขนาดใหญ่สำหรับช้างต้น
จากนั้น พระสงฆ์เริ่มต้นสวด ทำนองสวดมีเสียงเอะอะดุดันในบางตอน คล้ายกับจะขับไล่พวกยักษ์ผีปีศาจ มีการยิงปืนเล็กและปืนใหญ่ เรียกว่ายิงปืนอาฏานา รอบพระราชวังและประตูรอบเมือง เมื่อถึงเวลาจะยิงปืน สังฆการีจะตีระฆังให้สัญญาณ จากนั้นพลปืนเล็กหน้าโรงพิธีจะยิงปืนเล็กส่งเสียงให้สัญญาณไปถึงปืนใหญ่ ยิงตั้งแต่ประตูด้านหน้าเวียนประทักษิณ (เวียนขวาโดยให้สิ่งที่เรานับถืออยู่ทางขวาของผู้เวียน) ต่อกันไปจนถึงรอบพระราชวัง ปืนใหญ่ที่ตั้งตามประตูเมืองก็ยิงเวียนเป็นประทักษิณจนรอบเมืองเช่นเดียวกัน โดยปรกติ ปืนใหญ่จะใช้หญ้าและฟางยัดเป็นหมอน แต่ปืนที่ใช้ยิงในพิธีตรุษ หมอนปืนจะใช้ใบไม้ที่ถือกันว่าผีเกลียด เช่นใบสาบแร้งสาบกาและใบหนาด เป็นต้น
นอกจากนี้ ในวันแรม 14 ค่ำเดือน 4 ชาวบ้านจะหาข้าวปลาอาหารอย่างละเล็กน้อยและกระบอกน้ำผูกกับกิ่งไม้ และปักไว้ที่เชิงบันไดเรือน เรียกว่า "ข้าวผอกกระบอกน้ำ" บางบ้านก็ละลายขมิ้นกับปูนสำหรับทารักษาแผลใส่ชามวางไว้ด้วย เพราะสงสารผีที่จะพากันหนีเมื่อยิงปืนอาฏานา เผื่อหิวโหยและฟกช้ำ จะได้อาศัยข้าวผอกกระบอกน้ำที่ตนตั้งไว้ให้เป็นทาน เป็นการทำบุญทำทานในพิธีตรุษไปด้วย
ครั้งหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เคยปรึกษาในที่ประชุมเสนาบดีว่าควรจะคงทำพิธีตรุษหรือเลิกเสีย แต่ด้วยในยุคสมัยนั้น ผู้คนที่เชื่อถือเกรงกลัวฤทธิ์เดชของผีสางยังมีอยู่มาก หากเลิกพิธีเสีย อาจทำให้ราษฏรหวาดหวั่นเสียขวัญ มีเหตุร้ายเกิดขึ้นก็จะโทษว่าเป็นความผิดของรัฐบาล จึงโปรดฯ ให้คงทำต่อมา แต่ได้ลดทอนพิธีการลงตามลำดับเรื่อยมา จนเมื่อความเชื่อถือผีสางลดน้อยลง บ้านเมืองเปลี่ยนไป พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์นี้ จึงได้เลิกขาดเมื่อปี พ.ศ. 2480
เรื่องท้าวจาตุมหาราชทั้ง 4 ที่ทำหน้าที่เป็นจตุโลกบาลนี้ เป็นความเชื่อถือกันมาแต่โบราณกาลก่อนพระพุทธศาสนา แต่เมื่อพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นแล้ว พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมเป็นโลกบาล คือธรรมที่คุ้มครองโลกไว้ 2 ข้อ คือ หิริ ความละอายบาป ละอายใจต่อการทำชั่ว และ โอตตัปปะ ความกลัวบาป เกรงกลัวต่อความชั่วและผลของกรรมชั่ว
ในปัจจุบัน มีการนำอาฏานาฏิยสูตรนี้มาจัดทำเป็นพิธีสวดสะเดาะเคราะห์ แก้ชง แก้กรรม ต่อชะตา เสริมบารมี โชคลาภวาสนา ฯลฯ รู้จักกันโดยทั่วไปว่า พิธีสวดภาณยักษ์ ทำนองการสวดใช้น้ำเสียงที่ดุดันและบีบคั้น การขู่หรือไล่ยักษ์ด้วยการยิงปืนอาฏานานั้น ก็เปลี่ยนมาเป็นการจุดประทัดไล่แทน ความเชื่อและพิธีกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ ชวนให้คิดวิจารณ์ว่าเป็นพระพุทธศาสนาโดยแท้จริงเพียงไร
อ้างอิง - "อาฏานาฏิยสูตร" พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวัคค์
- 'ตำนานพระปริตร' สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
- 'ตำนานพิธีตรุษ' สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
- 'ตำราพระราชพิธีเก่า' พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์
ในวันแรม 14 ค่ำเดือน 4 อันเป็นวันสวดอาฏานาฏิยสูตรนั้น ผู้เข้าร่วมพิธีจะสวมมงคลจักรไว้ที่ศีรษะ ถือกระบองทำด้วยใบตาลเพื่อใช้สำหรับตียักษ์และภูติผีปีศาจ ห้อยคล้องพิสมรซึ่งเป็นเครื่องรางชนิดหนึ่งทำจากใบลาน ลงอักขระเลขยันต์และพับเป็นสี่เหลี่ยมร้อยด้วยเส้นด้ายสำหรับป้องกันภัย พิสมรนั้นทำเป็น 3 ขนาด ขนาดเล็กสำหรับมนุษย์ ขนาดกลางสำหรับม้าต้น ขนาดใหญ่สำหรับช้างต้น
จากนั้น พระสงฆ์เริ่มต้นสวด ทำนองสวดมีเสียงเอะอะดุดันในบางตอน คล้ายกับจะขับไล่พวกยักษ์ผีปีศาจ มีการยิงปืนเล็กและปืนใหญ่ เรียกว่ายิงปืนอาฏานา รอบพระราชวังและประตูรอบเมือง เมื่อถึงเวลาจะยิงปืน สังฆการีจะตีระฆังให้สัญญาณ จากนั้นพลปืนเล็กหน้าโรงพิธีจะยิงปืนเล็กส่งเสียงให้สัญญาณไปถึงปืนใหญ่ ยิงตั้งแต่ประตูด้านหน้าเวียนประทักษิณ (เวียนขวาโดยให้สิ่งที่เรานับถืออยู่ทางขวาของผู้เวียน) ต่อกันไปจนถึงรอบพระราชวัง ปืนใหญ่ที่ตั้งตามประตูเมืองก็ยิงเวียนเป็นประทักษิณจนรอบเมืองเช่นเดียวกัน โดยปรกติ ปืนใหญ่จะใช้หญ้าและฟางยัดเป็นหมอน แต่ปืนที่ใช้ยิงในพิธีตรุษ หมอนปืนจะใช้ใบไม้ที่ถือกันว่าผีเกลียด เช่นใบสาบแร้งสาบกาและใบหนาด เป็นต้น
นอกจากนี้ ในวันแรม 14 ค่ำเดือน 4 ชาวบ้านจะหาข้าวปลาอาหารอย่างละเล็กน้อยและกระบอกน้ำผูกกับกิ่งไม้ และปักไว้ที่เชิงบันไดเรือน เรียกว่า "ข้าวผอกกระบอกน้ำ" บางบ้านก็ละลายขมิ้นกับปูนสำหรับทารักษาแผลใส่ชามวางไว้ด้วย เพราะสงสารผีที่จะพากันหนีเมื่อยิงปืนอาฏานา เผื่อหิวโหยและฟกช้ำ จะได้อาศัยข้าวผอกกระบอกน้ำที่ตนตั้งไว้ให้เป็นทาน เป็นการทำบุญทำทานในพิธีตรุษไปด้วย
ครั้งหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เคยปรึกษาในที่ประชุมเสนาบดีว่าควรจะคงทำพิธีตรุษหรือเลิกเสีย แต่ด้วยในยุคสมัยนั้น ผู้คนที่เชื่อถือเกรงกลัวฤทธิ์เดชของผีสางยังมีอยู่มาก หากเลิกพิธีเสีย อาจทำให้ราษฏรหวาดหวั่นเสียขวัญ มีเหตุร้ายเกิดขึ้นก็จะโทษว่าเป็นความผิดของรัฐบาล จึงโปรดฯ ให้คงทำต่อมา แต่ได้ลดทอนพิธีการลงตามลำดับเรื่อยมา จนเมื่อความเชื่อถือผีสางลดน้อยลง บ้านเมืองเปลี่ยนไป พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์นี้ จึงได้เลิกขาดเมื่อปี พ.ศ. 2480
เรื่องท้าวจาตุมหาราชทั้ง 4 ที่ทำหน้าที่เป็นจตุโลกบาลนี้ เป็นความเชื่อถือกันมาแต่โบราณกาลก่อนพระพุทธศาสนา แต่เมื่อพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นแล้ว พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมเป็นโลกบาล คือธรรมที่คุ้มครองโลกไว้ 2 ข้อ คือ หิริ ความละอายบาป ละอายใจต่อการทำชั่ว และ โอตตัปปะ ความกลัวบาป เกรงกลัวต่อความชั่วและผลของกรรมชั่ว
ในปัจจุบัน มีการนำอาฏานาฏิยสูตรนี้มาจัดทำเป็นพิธีสวดสะเดาะเคราะห์ แก้ชง แก้กรรม ต่อชะตา เสริมบารมี โชคลาภวาสนา ฯลฯ รู้จักกันโดยทั่วไปว่า พิธีสวดภาณยักษ์ ทำนองการสวดใช้น้ำเสียงที่ดุดันและบีบคั้น การขู่หรือไล่ยักษ์ด้วยการยิงปืนอาฏานานั้น ก็เปลี่ยนมาเป็นการจุดประทัดไล่แทน ความเชื่อและพิธีกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ ชวนให้คิดวิจารณ์ว่าเป็นพระพุทธศาสนาโดยแท้จริงเพียงไร
อ้างอิง - "อาฏานาฏิยสูตร" พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวัคค์
- 'ตำนานพระปริตร' สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
- 'ตำนานพิธีตรุษ' สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
- 'ตำราพระราชพิธีเก่า' พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น