พุทธศาสนิกชน เมื่อทำบุญอันใดแล้วก็มักจะอุทิศส่วนบุญนั้นแก่ท่านผู้มีพระคุณ หรือแก่คนอื่นสัตว์อื่น เป็นการแสดงออกถึงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ใจกว้าง หวังประโยชน์สุขต่อผู้อื่น เมื่อตนได้รับบุญแล้ว ก็หวังจะให้ผู้อื่นได้รับบุญนั้นด้วย ทั้งยังมีผลทำให้ได้รับผลบุญเพิ่มขึ้นไปอีก
โดยปรกติ การทำบุญให้ทาน รักษาศีล หรือเจริญภาวนาแล้วไม่ได้อุทิศบุญนั้นแก่ผู้ใด บุญนั้นก็บังเกิดกับผู้ที่กระทำเฉพาะในเรื่องที่ตนได้กระทำไปเท่านั้น เช่นในเรื่องการบริจาคทาน ก็บังเกิดเป็นทานมัย (บุญสำเร็จด้วยการให้ทาน) ในเรื่องของการรักษาศีล ก็บังเกิดเป็นสีลมัย (บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล) ในเรื่องของภาวนา ก็บังเกิดเป็นภาวนามัย (บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา) เป็นต้น แต่หากผู้นั้นอุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้อื่นด้วย จะมีผลทำให้ได้รับผลบุญเพิ่มขึ้นไปอีกประการหนึ่ง คือ ปัตติทานมัย หรือบุญอันเกิดจากการให้ส่วนบุญ
การให้ส่วนบุญนั้น สามารถให้ได้ทั้งแก่ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่และผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ตัวอย่างเช่น เราทำบุญมาสักอย่างหนึ่ง จะเกิดจากทาน จากศีล หรือจากภาวนาก็ตาม เมื่อเราพบพ่อแม่หรือญาติมิตร เราก็บอกให้เขาเหล่านั้นจงได้รับส่วนบุญส่วนกุศลนั้นด้วย ผู้รับจะอนุโมทนาหรือไม่ก็ตาม แต่ผู้ให้ย่อมได้บุญแล้ว เรียกว่าปัตติทานมัย คือบุญเกิดจากการให้ส่วนบุญ และหากผู้รับอนุโมทนา ผู้รับก็ได้รับบุญข้อปัตตานุโมทนามัย คือบุญเกิดจากการอนุโมทนาส่วนบุญ
การให้ส่วนบุญแก่คนที่ยังมีชีวิตอยู่ จะให้ต่อหน้าก็ได้ จะให้ลับหลังก็ได้ เช่น ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ชาวไทยจำนวนมากรวมทั้งพระสงฆ์ มักจะบำเพ็ญกุศลพิเศษโดยเสด็จพระราชกุศล มีการให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา แล้วถวายพระราชกุศลแด่พระองค์ท่าน อย่างนี้ก็เรียกว่าปัตติทานมัยเช่นกัน
สำหรับการอนุโมทนาส่วนบุญนั้น แม้ไม่มีใครบอกให้ แต่เมื่อเราทราบว่าใครทำบุญอะไรที่ไหน หรือได้ยินเขาประกาศทางวิทยุหรือเครื่องขยายเสียง หรือทราบข่าวว่าคนนั้นคนนี้ทำบุญอย่างนั้นอย่างนี้ ก็พลอยยินดีอนุโมทนาต่อส่วนบุญของเขา เราก็ได้บุญข้อปัตตานุโมทนามัยทุกครั้งที่อนุโมทนา เป็นการทำบุญที่ไม่ต้องลงทุนลงแรงมากอันใดเลย
กล่าวถึงการอุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วนั้น เขาจะตายไปนานสักเท่าไรแล้วก็ได้ จะอุทิศเป็นภาษาไทย ภาษาบาลี หรือภาษาอื่นใดก็ได้ จะมีน้ำกรวดหรือไม่มีน้ำกรวดก็ได้ มีกระดูกและชื่อของผู้ที่ล่วงลับไปแล้วนั้นก็ได้ ไม่มีก็ได้ ย่อมสำเร็จทั้งสิ้น
ยกตัวอย่างในสมัยพุทธกาล กรณีเปรตผู้เป็นญาติของพระเจ้าพิมพิสาร พระองค์มิได้ทรงรู้จักชื่อญาติเหล่านั้นแม้แต่คนเดียว พระองค์เพียงอ้างในคำอุทิศว่าเป็นญาติเท่านั้นก็ถึงได้ ดังคำบาลีที่พระองค์อุทิศส่วนกุศลแก่พระญาติหลังจากที่ทรงบริจาคทานแด่พระสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขว่า
การอุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกันมานาน เพราะเชื่อกันว่า เมื่อตายไป วิญญาณจะไปเกิดในภพใหม่ชาติใหม่ ญาติที่ยังมีชีวิตอยู่ทางนี้ก็เป็นห่วง เกรงว่าจะไปเกิดในภพชาติที่อดอยาก จึงทำบุญอุทิศให้
เกี่ยวกับการกรวดน้ำ ซึ่งนิยมรินน้ำผ่านนิ้วมือลงสู่ภาชนะรองรับ เข้าใจว่าจะติดมาจากธรรมเนียมปฏิบัติของพราหมณ์ก็เป็นได้ การกรวดน้ำของพราหมณ์นั้น เขาจะลงไปในแม่น้ำ เอามือกอบน้ำ และให้น้ำไหลออกจากมือ พร้อมทั้งอุทิศเพื่อให้ญาติผู้ตายไปแล้วจะได้มีน้ำบริโภค จะได้ไม่กระหายน้ำ แต่ในทางพุทธศาสนา เราไม่ได้มุ่งหวังจะให้น้ำที่เทลงไปนั้น ไปเป็นน้ำสำหรับญาติผู้ตายไปแล้วจะได้บริโภค แต่เราตั้งจิตตั้งใจอุทิศส่วนกุศลไปให้ในขณะนั้นต่างหาก เพราะฉะนั้น จะใช้น้ำกรวด หรือไม่ใช้น้ำกรวดก็ตาม ไม่สำคัญ สำคัญที่ตั้งใจอุทิศส่วนกุศลให้
ในสมัยพุทธกาล มีพราหมณ์คนหนึ่ง ชื่อว่าชาณุสโสณิ ได้กราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า พวกพราหมณ์พากันให้ทาน ทำศราทธหรือว่าศราทธพรต (วัตรหรือการปฏิบัติด้วยศรัทธาความเชื่อ) ด้วยตั้งเจตนาอุทิศว่า ขอทานนี้จงสำเร็จแก่ญาติสาโลหิตผู้ละไปแล้ว ขอญาติสาโลหิตผู้ละไปแล้ว จงได้บริโภคทานนี้ ทานที่ทำนั้นจะสำเร็จหรือไม่ และญาติสาโลหิตผู้ละไปแล้วจะได้บริโภคหรือไม่
พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า คนที่ทำอกุศลกรรมบถ 10 ไปเกิดเป็นเนรยิกะคือสัตว์นรกก็ดี ไปเกิดเป็นกำเนิดดิรัจฉานก็ดี หรือว่าคนที่เว้นจากอกุศลกรรมบถ 10 ไปเกิดร่วมหมู่กับมนุษย์ก็ดี กับเทพก็ดี ก็บริโภคอาหารที่เป็นของจำพวกที่ไปเกิดนั้น ทานที่ทำอุทิศไปให้ไม่สำเร็จ
แต่ว่าคนที่ทำอกุศลกรรมบถ 10 ไปเกิดในปิตติวิสัยคือในกำเนิดเปรต เป็นภพของผู้ทำบาปไปเกิดจำพวกหนึ่ง ที่มีร่างกายพิกลพิการต่าง ๆ จำพวกปิตติวิสัยนี้ก็เป็นอยู่ด้วยอาหารสำหรับจำพวกนั้น และเป็นอยู่ด้วยอาหารที่ญาติมิตรทำบุญอุทิศไปให้ จำพวกนี้เท่านั้นจึงเป็นฐานะที่จะได้รับผล
สรุปลงแล้ว การอุทิศส่วนบุญที่จะสำเร็จประโยชน์แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วนั้น ผู้ที่จะรับส่วนบุญที่ญาติมิตรอุทิศให้ จะต้องอยู่ในกำเนิดเปรตจำพวก ปรทัตตูปชีวีเปรต คือเปรตที่อาศัยทานที่คนอื่นให้ และบุญที่จะอุทิศต้องเกิดจากทานเท่านั้น
ส่วนการที่เปรตจะได้รับส่วนบุญที่ญาติมิตรอุทิศให้ ก็ต้องประกอบด้วยปัจจัย 3 ประการคือ
1. ทายก ทายิกา คือผู้ให้ ผู้บริจาค จะต้องตั้งใจอุทิศส่วนกุศลให้
2. ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วนั้น ไปเกิดในปิตติวิสัย คือเกิดในกำเนิดเปรตจำพวก ปรทัตตูปชีวีเปรต ดังกล่าวแล้ว และได้ทราบ ได้อนุโมทนา ยินดีในการบำเพ็ญกุศลของญาติในโลกนี้
การที่เปรตสามารถรับส่วนบุญที่ญาติมิตรอุทิศไปให้ ก็เพราะเปรตได้ทำบุญด้วยตนเองในข้อ "ปัตตานุโมทนา" คือชื่นชมในบุญที่มีผู้อุทิศไปให้ บางครั้งถ้ากรรมของเปรตเบาบาง อนุโมทนาแล้วก็พ้นจากสภาพเปรต กลายเป็นเทวดาทันที อย่างเช่นกรณีเปรตพระญาติของพระเจ้าพิมพิสาร เมื่ออนุโมทนาส่วนบุญที่พระเจ้าพิมพิสารทรงอุทิศให้ ก็พ้นจากภาวะแห่งเปรตอันตนได้รับทุกข์ทรมานอยู่เป็นเวลานาน ได้เกิดเป็นเทพบุตรเทพธิดา หลังจากที่ได้อนุโมทนาส่วนบุญนั้นแล้ว
แต่ถ้าหากเปรตไม่ทราบ หรือทราบแต่ไม่ชื่นชมอนุโมทนา บุญก็ไม่เกิดแก่เปรต แม้จะหยิบยื่นให้ก็ไม่ได้รับผลของบุญนั้น เปรตก็ต้องทนทุกข์ทรมานต่อไป การอนุโมทนานั้น เปรตต้องทำเอง ไม่มีใครทำให้เปรตได้ ญาติมิตรในโลกมนุษย์นี้ ทำได้แต่เพียงบุญในข้อ "ปัตติทาน"
การอนุโมทนาของเปรตกับเทวดานั้นต่างกัน สำหรับเทวดานั้น แม้ท่านจะมีความสุข มีอาหารทิพย์ แต่ถ้าท่านทราบว่ามีผู้คนในโลกมนุษย์นี้ทำบุญแล้วอุทิศให้ท่าน ท่านก็ยินดีรับ ชื่นชมอนุโมทนาด้วย บุญในข้อปัตตานุโมทนาก็เกิดแก่ท่าน
แต่สำหรับเปรตนั้น เมื่อเปรตอนุโมทนาแล้ว นอกจากบุญจะเกิดแก่เปรตแล้ว เปรตยังได้รับอาหารอันสมควรแก่ฐานะของเปรตด้วย ทำให้เปรตอิ่มหนำสำราญ พ้นจากความหิวโหย หรือหากเราถวายผ้า เปรตก็จะได้รับผ้าทิพย์ปกปิดร่างกาย ทำให้พ้นจากสภาพเปลือยกายได้ หากเราถวายน้ำแล้วอุทิศให้ เปรตก็ได้ดื่มน้ำทิพย์พ้นจากความหิวกระหายด้วยอำนาจของการอนุโมทนา
โดยปรกติ การทำบุญให้ทาน รักษาศีล หรือเจริญภาวนาแล้วไม่ได้อุทิศบุญนั้นแก่ผู้ใด บุญนั้นก็บังเกิดกับผู้ที่กระทำเฉพาะในเรื่องที่ตนได้กระทำไปเท่านั้น เช่นในเรื่องการบริจาคทาน ก็บังเกิดเป็นทานมัย (บุญสำเร็จด้วยการให้ทาน) ในเรื่องของการรักษาศีล ก็บังเกิดเป็นสีลมัย (บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล) ในเรื่องของภาวนา ก็บังเกิดเป็นภาวนามัย (บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา) เป็นต้น แต่หากผู้นั้นอุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้อื่นด้วย จะมีผลทำให้ได้รับผลบุญเพิ่มขึ้นไปอีกประการหนึ่ง คือ ปัตติทานมัย หรือบุญอันเกิดจากการให้ส่วนบุญ
การให้ส่วนบุญนั้น สามารถให้ได้ทั้งแก่ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่และผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ตัวอย่างเช่น เราทำบุญมาสักอย่างหนึ่ง จะเกิดจากทาน จากศีล หรือจากภาวนาก็ตาม เมื่อเราพบพ่อแม่หรือญาติมิตร เราก็บอกให้เขาเหล่านั้นจงได้รับส่วนบุญส่วนกุศลนั้นด้วย ผู้รับจะอนุโมทนาหรือไม่ก็ตาม แต่ผู้ให้ย่อมได้บุญแล้ว เรียกว่าปัตติทานมัย คือบุญเกิดจากการให้ส่วนบุญ และหากผู้รับอนุโมทนา ผู้รับก็ได้รับบุญข้อปัตตานุโมทนามัย คือบุญเกิดจากการอนุโมทนาส่วนบุญ
การให้ส่วนบุญแก่คนที่ยังมีชีวิตอยู่ จะให้ต่อหน้าก็ได้ จะให้ลับหลังก็ได้ เช่น ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ชาวไทยจำนวนมากรวมทั้งพระสงฆ์ มักจะบำเพ็ญกุศลพิเศษโดยเสด็จพระราชกุศล มีการให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา แล้วถวายพระราชกุศลแด่พระองค์ท่าน อย่างนี้ก็เรียกว่าปัตติทานมัยเช่นกัน
สำหรับการอนุโมทนาส่วนบุญนั้น แม้ไม่มีใครบอกให้ แต่เมื่อเราทราบว่าใครทำบุญอะไรที่ไหน หรือได้ยินเขาประกาศทางวิทยุหรือเครื่องขยายเสียง หรือทราบข่าวว่าคนนั้นคนนี้ทำบุญอย่างนั้นอย่างนี้ ก็พลอยยินดีอนุโมทนาต่อส่วนบุญของเขา เราก็ได้บุญข้อปัตตานุโมทนามัยทุกครั้งที่อนุโมทนา เป็นการทำบุญที่ไม่ต้องลงทุนลงแรงมากอันใดเลย
กล่าวถึงการอุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วนั้น เขาจะตายไปนานสักเท่าไรแล้วก็ได้ จะอุทิศเป็นภาษาไทย ภาษาบาลี หรือภาษาอื่นใดก็ได้ จะมีน้ำกรวดหรือไม่มีน้ำกรวดก็ได้ มีกระดูกและชื่อของผู้ที่ล่วงลับไปแล้วนั้นก็ได้ ไม่มีก็ได้ ย่อมสำเร็จทั้งสิ้น
ยกตัวอย่างในสมัยพุทธกาล กรณีเปรตผู้เป็นญาติของพระเจ้าพิมพิสาร พระองค์มิได้ทรงรู้จักชื่อญาติเหล่านั้นแม้แต่คนเดียว พระองค์เพียงอ้างในคำอุทิศว่าเป็นญาติเท่านั้นก็ถึงได้ ดังคำบาลีที่พระองค์อุทิศส่วนกุศลแก่พระญาติหลังจากที่ทรงบริจาคทานแด่พระสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขว่า
อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า
สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
ขอญาติทั้งหลายจงถึงความสุข
การอุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกันมานาน เพราะเชื่อกันว่า เมื่อตายไป วิญญาณจะไปเกิดในภพใหม่ชาติใหม่ ญาติที่ยังมีชีวิตอยู่ทางนี้ก็เป็นห่วง เกรงว่าจะไปเกิดในภพชาติที่อดอยาก จึงทำบุญอุทิศให้
เกี่ยวกับการกรวดน้ำ ซึ่งนิยมรินน้ำผ่านนิ้วมือลงสู่ภาชนะรองรับ เข้าใจว่าจะติดมาจากธรรมเนียมปฏิบัติของพราหมณ์ก็เป็นได้ การกรวดน้ำของพราหมณ์นั้น เขาจะลงไปในแม่น้ำ เอามือกอบน้ำ และให้น้ำไหลออกจากมือ พร้อมทั้งอุทิศเพื่อให้ญาติผู้ตายไปแล้วจะได้มีน้ำบริโภค จะได้ไม่กระหายน้ำ แต่ในทางพุทธศาสนา เราไม่ได้มุ่งหวังจะให้น้ำที่เทลงไปนั้น ไปเป็นน้ำสำหรับญาติผู้ตายไปแล้วจะได้บริโภค แต่เราตั้งจิตตั้งใจอุทิศส่วนกุศลไปให้ในขณะนั้นต่างหาก เพราะฉะนั้น จะใช้น้ำกรวด หรือไม่ใช้น้ำกรวดก็ตาม ไม่สำคัญ สำคัญที่ตั้งใจอุทิศส่วนกุศลให้
ในสมัยพุทธกาล มีพราหมณ์คนหนึ่ง ชื่อว่าชาณุสโสณิ ได้กราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า พวกพราหมณ์พากันให้ทาน ทำศราทธหรือว่าศราทธพรต (วัตรหรือการปฏิบัติด้วยศรัทธาความเชื่อ) ด้วยตั้งเจตนาอุทิศว่า ขอทานนี้จงสำเร็จแก่ญาติสาโลหิตผู้ละไปแล้ว ขอญาติสาโลหิตผู้ละไปแล้ว จงได้บริโภคทานนี้ ทานที่ทำนั้นจะสำเร็จหรือไม่ และญาติสาโลหิตผู้ละไปแล้วจะได้บริโภคหรือไม่
พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า คนที่ทำอกุศลกรรมบถ 10 ไปเกิดเป็นเนรยิกะคือสัตว์นรกก็ดี ไปเกิดเป็นกำเนิดดิรัจฉานก็ดี หรือว่าคนที่เว้นจากอกุศลกรรมบถ 10 ไปเกิดร่วมหมู่กับมนุษย์ก็ดี กับเทพก็ดี ก็บริโภคอาหารที่เป็นของจำพวกที่ไปเกิดนั้น ทานที่ทำอุทิศไปให้ไม่สำเร็จ
แต่ว่าคนที่ทำอกุศลกรรมบถ 10 ไปเกิดในปิตติวิสัยคือในกำเนิดเปรต เป็นภพของผู้ทำบาปไปเกิดจำพวกหนึ่ง ที่มีร่างกายพิกลพิการต่าง ๆ จำพวกปิตติวิสัยนี้ก็เป็นอยู่ด้วยอาหารสำหรับจำพวกนั้น และเป็นอยู่ด้วยอาหารที่ญาติมิตรทำบุญอุทิศไปให้ จำพวกนี้เท่านั้นจึงเป็นฐานะที่จะได้รับผล
สรุปลงแล้ว การอุทิศส่วนบุญที่จะสำเร็จประโยชน์แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วนั้น ผู้ที่จะรับส่วนบุญที่ญาติมิตรอุทิศให้ จะต้องอยู่ในกำเนิดเปรตจำพวก ปรทัตตูปชีวีเปรต คือเปรตที่อาศัยทานที่คนอื่นให้ และบุญที่จะอุทิศต้องเกิดจากทานเท่านั้น
ส่วนการที่เปรตจะได้รับส่วนบุญที่ญาติมิตรอุทิศให้ ก็ต้องประกอบด้วยปัจจัย 3 ประการคือ
1. ทายก ทายิกา คือผู้ให้ ผู้บริจาค จะต้องตั้งใจอุทิศส่วนกุศลให้
2. ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วนั้น ไปเกิดในปิตติวิสัย คือเกิดในกำเนิดเปรตจำพวก ปรทัตตูปชีวีเปรต ดังกล่าวแล้ว และได้ทราบ ได้อนุโมทนา ยินดีในการบำเพ็ญกุศลของญาติในโลกนี้
การที่เปรตสามารถรับส่วนบุญที่ญาติมิตรอุทิศไปให้ ก็เพราะเปรตได้ทำบุญด้วยตนเองในข้อ "ปัตตานุโมทนา" คือชื่นชมในบุญที่มีผู้อุทิศไปให้ บางครั้งถ้ากรรมของเปรตเบาบาง อนุโมทนาแล้วก็พ้นจากสภาพเปรต กลายเป็นเทวดาทันที อย่างเช่นกรณีเปรตพระญาติของพระเจ้าพิมพิสาร เมื่ออนุโมทนาส่วนบุญที่พระเจ้าพิมพิสารทรงอุทิศให้ ก็พ้นจากภาวะแห่งเปรตอันตนได้รับทุกข์ทรมานอยู่เป็นเวลานาน ได้เกิดเป็นเทพบุตรเทพธิดา หลังจากที่ได้อนุโมทนาส่วนบุญนั้นแล้ว
แต่ถ้าหากเปรตไม่ทราบ หรือทราบแต่ไม่ชื่นชมอนุโมทนา บุญก็ไม่เกิดแก่เปรต แม้จะหยิบยื่นให้ก็ไม่ได้รับผลของบุญนั้น เปรตก็ต้องทนทุกข์ทรมานต่อไป การอนุโมทนานั้น เปรตต้องทำเอง ไม่มีใครทำให้เปรตได้ ญาติมิตรในโลกมนุษย์นี้ ทำได้แต่เพียงบุญในข้อ "ปัตติทาน"
การอนุโมทนาของเปรตกับเทวดานั้นต่างกัน สำหรับเทวดานั้น แม้ท่านจะมีความสุข มีอาหารทิพย์ แต่ถ้าท่านทราบว่ามีผู้คนในโลกมนุษย์นี้ทำบุญแล้วอุทิศให้ท่าน ท่านก็ยินดีรับ ชื่นชมอนุโมทนาด้วย บุญในข้อปัตตานุโมทนาก็เกิดแก่ท่าน
แต่สำหรับเปรตนั้น เมื่อเปรตอนุโมทนาแล้ว นอกจากบุญจะเกิดแก่เปรตแล้ว เปรตยังได้รับอาหารอันสมควรแก่ฐานะของเปรตด้วย ทำให้เปรตอิ่มหนำสำราญ พ้นจากความหิวโหย หรือหากเราถวายผ้า เปรตก็จะได้รับผ้าทิพย์ปกปิดร่างกาย ทำให้พ้นจากสภาพเปลือยกายได้ หากเราถวายน้ำแล้วอุทิศให้ เปรตก็ได้ดื่มน้ำทิพย์พ้นจากความหิวกระหายด้วยอำนาจของการอนุโมทนา
อย่างไรก็ตาม พระที่ท่านฉันอาหารของเรานั้น ท่านมิได้เป็นบุรุษไปรษณีย์ นำบุญของเราไปส่งให้แก่เปรต แต่ท่านเป็นเนื้อนาที่เราจะหว่านบุญลงไป คือเป็นปัจจัยให้เราเกิดบุญในข้อทานหรือการให้ เมื่อเราอุทิศส่วนบุญให้ญาติมิตรที่ล่วงลับไปแล้ว ถ้าเขาไปเกิดเป็นเปรตและทราบว่าเราอุทิศบุญไปให้เขา หากเขาชื่นชมอนุโมทนา บุญและวัตถุทานที่เราอุทิศให้มีข้าว มีน้ำ เป็นต้น ก็จะเกิดแก่เปรตนั้นตามสมควรแก่ฐานะและภพภูมิของเขา ไม่ใช่เราถวายแกงส้ม เปรตก็จะได้กินแกงส้ม เพราะแกงส้มเป็นอาหารสำหรับมนุษย์ ไม่ใช่อาหารของเปรต
3. จะต้องถึงพร้อมด้วยทักขิเณยยบุคคล คือบุคคลผู้ควรทักษิณา หมายถึงพระภิกษุสงฆ์ แต่ว่าการบำเพ็ญทาน แม้ในบุคคลหรือในส่วนอื่น ก็ถือว่าเป็นบุญ เมื่อเป็นบุญแล้ว อุทิศส่วนกุศลไปให้ ก็สำเร็จประโยชน์เหมือนกัน
3. จะต้องถึงพร้อมด้วยทักขิเณยยบุคคล คือบุคคลผู้ควรทักษิณา หมายถึงพระภิกษุสงฆ์ แต่ว่าการบำเพ็ญทาน แม้ในบุคคลหรือในส่วนอื่น ก็ถือว่าเป็นบุญ เมื่อเป็นบุญแล้ว อุทิศส่วนกุศลไปให้ ก็สำเร็จประโยชน์เหมือนกัน
หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี |
พระราชพรหมยาน หรือหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี เคยเล่าให้ฟังว่า สมัยที่ท่านบวชอยู่วัดบางนมโค ขณะเจริญพระกรรมฐาน มีผีตัวหนึ่งผอมโซมานั่งอยู่ข้างหน้า หลวงพ่อท่านก็เลยสวด "อิมินา ปุญญะกัมเมนะ อุปัชฌายา (หมายถึงอุปัชฌาย์ แต่อุปัชฌาย์ของหลวงพ่อท่านยังไม่ตาย) คุณุตะรา อาจะริยูปะการา (ให้คู่สวดอีก คู่สวดก็ยังไม่ตาย)... ว่าไปเรื่อย ยังไม่ทันจะจบ เหลืออีกครึ่งบท ก็เห็นคนเดินมาสองคน เอาโซ่คล้องคอลากผีที่นั่งอยู่ข้างหน้าไปเลย ผลปรากฏว่ายังไม่ทันได้ให้ผีเลย
พอเช้าวันรุ่งขึ้น บิณฑบาตกลับมา ฉันเสร็จล้างบาตรเช็ดเรียบร้อย ปกติฉันเสร็จ หลวงพ่อปานท่านจะยถาฯ แต่วันนี้ท่านไม่ยถาฯ ท่านนั่งเฉยมองหน้าถามว่า
"ไงพ่อคุณ พ่ออิมินาคล่อง สวดอย่างนั้นผีจะได้กินเหรอ"
ท่านให้แปลอิมินา แปลว่าอย่างไรบ้าง อุปัชฌาย์ก็ยังไม่ตาย คู่สวดญัตติคือท่านก็ยังไม่ตาย มาให้ท่าน ผีที่อยู่ข้างหน้าทำไมไม่ให้ ท่านบอกว่า ทีหลังถ้าผีมา ผีมันอยู่นานไม่ได้ บางทีหลบหน้าเขามานิดหนึ่ง ถ้ามานั่งใกล้เรา ทุกขเวทนาอย่างเปรตนี่ ไฟไหม้ทั้งตัว หอกดาบฟัน เวลาที่เราเจริญพระกรรมฐานอยู่ บุญของเราสามารถช่วยให้เขามีความสุขได้ เพราะถ้ามานั่งข้างหน้าใกล้ ๆ เรานี่ ไฟจะดับ หอกดาบจะหลุดไป แต่ว่าอยู่นานไม่ได้ ต้องพูดให้เร็วเพราะเขาจะต้องไปรับโทษ เวลาอุทิศส่วนกุศลให้ว่าเป็นภาษาไทยชัด ๆ และให้สั้นที่สุด
ให้บอกว่า "บุญใดที่ฉันบำเพ็ญมาแล้วตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ผลบุญทั้งหมดนี้จะมีประโยชน์ความสุขแก่ฉันเพียงใด ขอเธอจงโมทนาผลบุญนั้นและรับผลเช่นเดียวกับฉัน ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป"
วันหลังผีตัวใหม่มา ตัวก่อนที่ถูกลากคอไปมาไม่ได้แล้ว ผีตัวใหม่ผอมก๋องเอาทนายมาด้วย ยืนอยู่ข้างหลังนางฟ้าที่มีทรวดทรงสวย เป็นเทวดาใหญ่มาก บอกว่า
"ท่านนั่งอยู่นี่ไงล่ะ จะให้ท่านช่วยอะไรก็บอกท่านสิ"
ผีผอมก๋องพูดไม่ออกเพราะกรรมมันปิดปาก อาตมานึกขึ้นมาได้ ถ้าขืนให้อยู่นานเดี๋ยวโซ่คล้องคอลากไปอีก จึงอุทิศส่วนกุศลให้ตามที่หลวงพ่อปานสอน บอกให้ผีตั้งใจโมทนาตาม พอว่าจบ ผีผอมก๋องก็ก้มลงกราบ กราบไปครั้งแรกลุกขึ้นมาก็ผอมตามเดิม กราบครั้งที่สองลุกขึ้นมาก็ผอมตามเดิม แต่พอกราบครั้งที่สามลุกขึ้นมา คราวนี้ชฎาแพรวพราวเช้งวับไปเลย..."
หลวงพ่อฤาษีลิงดำท่านสอนอีกว่า การอุทิศส่วนกุศลแก่บุคคลต่าง ๆ ที่ตายไปแล้ว ถ้านึกได้ออกชื่อเขาก็ดี เพราะถ้ากรรมหนา แต่เราออกชื่อเจาะจง เขาก็ได้รับเลย แต่ถ้าหากนึกชื่อไม่ออก ก็ว่ารวม ๆ ไปว่า "ญาติก็ดี ไม่ใช่ญาติก็ดี"
หลวงพ่อท่านเล่าว่า มีอยู่คราวหนึ่ง ท่านไปเทศน์ด้วยกัน 3 รูป ทายกนำอุทิศส่วนกุศลออกชื่อคนตายกับบรรดาญาติทั้งหลายที่ตายไปแล้ว ปรากฏว่าบรรดาผีทั้งหลายก็เข้ามาเป็นหมื่นล้อมรอบศาลา ผีที่เป็นญาติก็โมทนาแล้วผิวพรรณดีขึ้น พวกที่มิใช่ญาติก็เดินร้องไห้กลับไป พระรูปหนึ่งที่ไปด้วยกันจึงบอกว่า ญาติโยมที่นำอุทิศส่วนกุศล อย่าให้ใจแคบเกินไปนัก อย่าลืมว่าการทำบุญแต่ละคราว พวกปรทัตตูปชีวีเปรต พวกสัมภเวสีก็ดี จะมายืนล้อมรอบคอยอนุโมทนา แต่ถ้าเราให้แก่ญาติ ญาติก็จะได้ บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ญาติก็จะไม่ได้ ฉะนั้นควรจะให้ทั้งหมด ทั้งญาติและไม่ใช่ญาติ
พอเช้าวันรุ่งขึ้น บิณฑบาตกลับมา ฉันเสร็จล้างบาตรเช็ดเรียบร้อย ปกติฉันเสร็จ หลวงพ่อปานท่านจะยถาฯ แต่วันนี้ท่านไม่ยถาฯ ท่านนั่งเฉยมองหน้าถามว่า
"ไงพ่อคุณ พ่ออิมินาคล่อง สวดอย่างนั้นผีจะได้กินเหรอ"
ท่านให้แปลอิมินา แปลว่าอย่างไรบ้าง อุปัชฌาย์ก็ยังไม่ตาย คู่สวดญัตติคือท่านก็ยังไม่ตาย มาให้ท่าน ผีที่อยู่ข้างหน้าทำไมไม่ให้ ท่านบอกว่า ทีหลังถ้าผีมา ผีมันอยู่นานไม่ได้ บางทีหลบหน้าเขามานิดหนึ่ง ถ้ามานั่งใกล้เรา ทุกขเวทนาอย่างเปรตนี่ ไฟไหม้ทั้งตัว หอกดาบฟัน เวลาที่เราเจริญพระกรรมฐานอยู่ บุญของเราสามารถช่วยให้เขามีความสุขได้ เพราะถ้ามานั่งข้างหน้าใกล้ ๆ เรานี่ ไฟจะดับ หอกดาบจะหลุดไป แต่ว่าอยู่นานไม่ได้ ต้องพูดให้เร็วเพราะเขาจะต้องไปรับโทษ เวลาอุทิศส่วนกุศลให้ว่าเป็นภาษาไทยชัด ๆ และให้สั้นที่สุด
ให้บอกว่า "บุญใดที่ฉันบำเพ็ญมาแล้วตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ผลบุญทั้งหมดนี้จะมีประโยชน์ความสุขแก่ฉันเพียงใด ขอเธอจงโมทนาผลบุญนั้นและรับผลเช่นเดียวกับฉัน ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป"
วันหลังผีตัวใหม่มา ตัวก่อนที่ถูกลากคอไปมาไม่ได้แล้ว ผีตัวใหม่ผอมก๋องเอาทนายมาด้วย ยืนอยู่ข้างหลังนางฟ้าที่มีทรวดทรงสวย เป็นเทวดาใหญ่มาก บอกว่า
"ท่านนั่งอยู่นี่ไงล่ะ จะให้ท่านช่วยอะไรก็บอกท่านสิ"
ผีผอมก๋องพูดไม่ออกเพราะกรรมมันปิดปาก อาตมานึกขึ้นมาได้ ถ้าขืนให้อยู่นานเดี๋ยวโซ่คล้องคอลากไปอีก จึงอุทิศส่วนกุศลให้ตามที่หลวงพ่อปานสอน บอกให้ผีตั้งใจโมทนาตาม พอว่าจบ ผีผอมก๋องก็ก้มลงกราบ กราบไปครั้งแรกลุกขึ้นมาก็ผอมตามเดิม กราบครั้งที่สองลุกขึ้นมาก็ผอมตามเดิม แต่พอกราบครั้งที่สามลุกขึ้นมา คราวนี้ชฎาแพรวพราวเช้งวับไปเลย..."
หลวงพ่อท่านเล่าว่า มีอยู่คราวหนึ่ง ท่านไปเทศน์ด้วยกัน 3 รูป ทายกนำอุทิศส่วนกุศลออกชื่อคนตายกับบรรดาญาติทั้งหลายที่ตายไปแล้ว ปรากฏว่าบรรดาผีทั้งหลายก็เข้ามาเป็นหมื่นล้อมรอบศาลา ผีที่เป็นญาติก็โมทนาแล้วผิวพรรณดีขึ้น พวกที่มิใช่ญาติก็เดินร้องไห้กลับไป พระรูปหนึ่งที่ไปด้วยกันจึงบอกว่า ญาติโยมที่นำอุทิศส่วนกุศล อย่าให้ใจแคบเกินไปนัก อย่าลืมว่าการทำบุญแต่ละคราว พวกปรทัตตูปชีวีเปรต พวกสัมภเวสีก็ดี จะมายืนล้อมรอบคอยอนุโมทนา แต่ถ้าเราให้แก่ญาติ ญาติก็จะได้ บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ญาติก็จะไม่ได้ ฉะนั้นควรจะให้ทั้งหมด ทั้งญาติและไม่ใช่ญาติ
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก |
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้ทรงตรัสสอนไว้เช่นกันว่า การทำบุญทำกุศล แม้จะไม่ปรารถนาให้เกิดผลแก่ตนเองโดยตรง ผลก็ย่อมเกิดแน่นอนอยู่แล้ว ดังนั้น ในการทำบุญทำกุศลทุกครั้ง จึงพึงทำใจให้กว้าง เอื้ออาทรไปถึงผู้อื่นทั้งนั้น ที่แม้ว่าจะอยู่ต่างภพภูมิกัน ก็ตั้งใจอุทิศให้อย่างจริงใจ
ให้ด้วยสำนึกในความผิดพลาดก้ำเกินที่ตนอาจได้กระทำแล้วต่อใคร ๆ ทั้งนั้น ให้ด้วยสำนึกในพระคุณทั้งหลายที่ได้รับจากผู้มีพระคุณทั้งหลาย ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ด้วยเราท่านทั้งหลาย ต่างก็มีภพชาติมานับไม่ถ้วนในอดีต ต่างก็ทำกรรมทั้งดีและไม่ดีไว้นับไม่ถ้วนในภพชาติทั้งหลายนั้น เจ้ากรรมนายเวรที่ได้ไปก้ำเกินเบียดเบียนทำร้ายไว้ก็ย่อมมีไม่น้อย ทำนองเดียวกับผู้เป็นมารดา บิดา บุพการี ผู้มีพระคุณ ก็ต้องมีมากมายเช่นกัน ชาตินี้แม้ไม่อาจล่วงรู้ได้ว่าเป็นใครต่อใครบ้าง แต่ก็พึงยอมรับว่ามีอยู่ ทั้งในภพภูมิที่พ้นความรู้เห็นของผู้ไม่มีความสามารถ และทั้งที่อยู่ในภพภูมิเดียวกับเราทั้งหลายนี้ด้วย
กลับมาที่ "ชาณุสโสณิสูตร"... ชาณุสโสณิพราหมณ์ได้ตรัสถามพระพุทธเจ้าต่อไปว่า ถ้าญาติสาโลหิตที่อุทิศให้นั้น ไม่ไปเกิดในปิตติวิสัย (กำเนิดเปรต) ใครจะได้รับผล
พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า ญาติสาโลหิตอื่น ๆ จากนั้นก็จะได้รับผล เพราะว่าที่จะว่างจากญาติสาโลหิตของใครเลยนั้นเป็นอันไม่มี (พึงทราบว่า สังสารวัฏนี้ กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ สังสารวัฏอันยาวนานนี้ คนที่ไม่เคยเป็นมารดาบิดา บุตรธิดา พี่ชายพี่หญิง น้องชายน้องหญิง และญาติสาโลหิตมิตรสหาย เป็นไม่มี)
ชาณุสโสณิพราหมณ์ก็ถามต่อไปว่า เมื่อไปเกิดในอฐานะ คือในกำเนิดที่จะไม่ได้รับผล จะมีข้อปริกัปอันใดบ้างที่เขาจะได้รับผลอย่างใดอย่างหนึ่ง
พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า ผู้บำเพ็ญทานนั้น ก็จะได้รับผลของทานที่เขาทำไว้เอง สรุปว่า ทานที่ได้บำเพ็ญ อย่างไรเสีย ก็จะไม่ไร้ผล
ผลที่ได้รับในปัจจุบันคือ ผู้บำเพ็ญทานได้แสดงญาติธรรมให้เป็นที่ปรากฏ ว่าเป็นผู้มีกตัญญูกตเวที เป็นผู้ให้ความเคารพนับถือต่อผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และได้เพิ่มกำลังให้แก่ภิกษุทั้งหลาย นับว่าได้บำเพ็ญบุญไม่น้อย และแม้ผู้บำเพ็ญทานได้ละจากโลกนี้ไปแล้ว บุญนั้นก็จะคอยติดตามอุปถัมภ์ค้ำจุน หากไปเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ก็ไม่ใคร่จะอดอยาก มีน้ำ มีข้าว มีอาหารบริบูรณ์ หากไปเกิดเป็นมนุษย์ เป็นเทพ ก็จะไม่ขาดแคลน มีสิ่งที่ต้องการบริบูรณ์ ซึ่งเป็นผลแห่งการบริจาคทานที่เขาทำไว้นั้นเอง
คนที่มีบุญกุศลเป็นทุนทรัพย์ ทั้ง ๆ ที่เกิดมาไม่มีอะไรติดมือมา แต่ทว่าเติบโตมาก็แสวงหาได้เพราะบุญกุศลเก่าก่อน บุพเพกตปุญญตาสนับสนุนให้ อยากสร้างบ้านใหญ่โตขนาดไหนก็ได้สมใจปรารถนา จะนุ่งห่มอะไรก็มีเงินแลกเปลี่ยนมา อยากรับประทานอะไรก็ซื้อเอาตามที่ตัวต้องการ
ให้ด้วยสำนึกในความผิดพลาดก้ำเกินที่ตนอาจได้กระทำแล้วต่อใคร ๆ ทั้งนั้น ให้ด้วยสำนึกในพระคุณทั้งหลายที่ได้รับจากผู้มีพระคุณทั้งหลาย ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ด้วยเราท่านทั้งหลาย ต่างก็มีภพชาติมานับไม่ถ้วนในอดีต ต่างก็ทำกรรมทั้งดีและไม่ดีไว้นับไม่ถ้วนในภพชาติทั้งหลายนั้น เจ้ากรรมนายเวรที่ได้ไปก้ำเกินเบียดเบียนทำร้ายไว้ก็ย่อมมีไม่น้อย ทำนองเดียวกับผู้เป็นมารดา บิดา บุพการี ผู้มีพระคุณ ก็ต้องมีมากมายเช่นกัน ชาตินี้แม้ไม่อาจล่วงรู้ได้ว่าเป็นใครต่อใครบ้าง แต่ก็พึงยอมรับว่ามีอยู่ ทั้งในภพภูมิที่พ้นความรู้เห็นของผู้ไม่มีความสามารถ และทั้งที่อยู่ในภพภูมิเดียวกับเราทั้งหลายนี้ด้วย
กลับมาที่ "ชาณุสโสณิสูตร"... ชาณุสโสณิพราหมณ์ได้ตรัสถามพระพุทธเจ้าต่อไปว่า ถ้าญาติสาโลหิตที่อุทิศให้นั้น ไม่ไปเกิดในปิตติวิสัย (กำเนิดเปรต) ใครจะได้รับผล
พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า ญาติสาโลหิตอื่น ๆ จากนั้นก็จะได้รับผล เพราะว่าที่จะว่างจากญาติสาโลหิตของใครเลยนั้นเป็นอันไม่มี (พึงทราบว่า สังสารวัฏนี้ กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ สังสารวัฏอันยาวนานนี้ คนที่ไม่เคยเป็นมารดาบิดา บุตรธิดา พี่ชายพี่หญิง น้องชายน้องหญิง และญาติสาโลหิตมิตรสหาย เป็นไม่มี)
ชาณุสโสณิพราหมณ์ก็ถามต่อไปว่า เมื่อไปเกิดในอฐานะ คือในกำเนิดที่จะไม่ได้รับผล จะมีข้อปริกัปอันใดบ้างที่เขาจะได้รับผลอย่างใดอย่างหนึ่ง
พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า ผู้บำเพ็ญทานนั้น ก็จะได้รับผลของทานที่เขาทำไว้เอง สรุปว่า ทานที่ได้บำเพ็ญ อย่างไรเสีย ก็จะไม่ไร้ผล
ผลที่ได้รับในปัจจุบันคือ ผู้บำเพ็ญทานได้แสดงญาติธรรมให้เป็นที่ปรากฏ ว่าเป็นผู้มีกตัญญูกตเวที เป็นผู้ให้ความเคารพนับถือต่อผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และได้เพิ่มกำลังให้แก่ภิกษุทั้งหลาย นับว่าได้บำเพ็ญบุญไม่น้อย และแม้ผู้บำเพ็ญทานได้ละจากโลกนี้ไปแล้ว บุญนั้นก็จะคอยติดตามอุปถัมภ์ค้ำจุน หากไปเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ก็ไม่ใคร่จะอดอยาก มีน้ำ มีข้าว มีอาหารบริบูรณ์ หากไปเกิดเป็นมนุษย์ เป็นเทพ ก็จะไม่ขาดแคลน มีสิ่งที่ต้องการบริบูรณ์ ซึ่งเป็นผลแห่งการบริจาคทานที่เขาทำไว้นั้นเอง
คนที่มีบุญกุศลเป็นทุนทรัพย์ ทั้ง ๆ ที่เกิดมาไม่มีอะไรติดมือมา แต่ทว่าเติบโตมาก็แสวงหาได้เพราะบุญกุศลเก่าก่อน บุพเพกตปุญญตาสนับสนุนให้ อยากสร้างบ้านใหญ่โตขนาดไหนก็ได้สมใจปรารถนา จะนุ่งห่มอะไรก็มีเงินแลกเปลี่ยนมา อยากรับประทานอะไรก็ซื้อเอาตามที่ตัวต้องการ
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย |
พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ หรือหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ได้กล่าวเตือนสติว่า การทำบุญให้ผู้ตายนี้ ท่านแสดงไว้ว่ายากนักผู้ที่ตายจะได้รับ เหมือนกับงมเข็มอยู่ในก้นบ่อ แต่ผู้ยังมีชีวิตอยู่ก็ชอบทำ นับว่าเป็นความดีของผู้นั้นอย่างยิ่ง ท่านเปรียบไว้ สมมุติว่าบุญที่ทำลงไปนั้นแบ่งออกเป็น 16 ส่วน แล้วเอาส่วนที่ 16 นั้นมาแบ่งอีก 16 ส่วน ผู้ตายไปจะได้รับเพียง 1 ส่วน เท่านั้น ฟังดูแล้วน่าใจหาย เพราะฉะนั้น เราทั้งหลายจึงไม่ควรประมาท ในเมื่อยังมีชีวิตอยู่นี้ มีสิ่งใดควรจะทำก็ให้รีบทำเสีย ตายไปแล้ว เขาทำบุญไปให้ไม่ทราบว่าจะได้รับหรือไม่ ถึงแม้ได้รับก็น้อยเหลือเกิน
ขอขอบคุณ ท่านอาจารย์ภวศร จารุจินดา ที่เอื้อเฟื้อภาพวาดเป็นวิทยาทาน
ขอขอบคุณ ท่านอาจารย์ภวศร จารุจินดา ที่เอื้อเฟื้อภาพวาดเป็นวิทยาทาน
อนุโมทนาสาธุๆๆ
ตอบลบข้แมูลดีๆ สาธุ สาธุ สาธุค่ะ ^^
ตอบลบข้อแก้ด้วยค่ะสะกดผิดค่ะsssจบ
ลบสาธุ สาธุ สาธุ
ตอบลบ