อเวเรน จ สมฺมนฺติ เอส ธมฺโม สนนฺตโน
ในกาลไหน ๆ เวรทั้งหลายในโลกนี้ ย่อมไม่ระงับด้วยเวรเลย
ก็แต่ย่อมระงับได้ด้วยความไม่มีเวร ธรรมนี้เป็นของเก่า
พระพุทธองค์จึงทรงห้ามไม่ให้ผูกเวรกัน เมื่อต่างฝ่ายต่างผูกใจเจ็บกันอยู่ เวรก็ไม่สามารถระงับลงได้ แต่หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเลิกผูกเวรเสียด้วยการให้อภัยและแผ่เมตตาให้เสมอ ๆ เวรย่อมระงับลงได้ในเวลาไม่นาน
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ) สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 17 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร |
เรื่องที่นำมาเล่าสู่กันฟังต่อไปนี้ ตีพิมพ์ในหนังสือ "ประสบการณ์ทางวิญญาณ" ของท่านอาจารย์ทองทิว สุวรรณทัต เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เรื่องมีอยู่ว่า...
... มีเศรษฐีคนหนึ่ง มีทรัพย์ประมาณ 70 หมื่น เขาครอบครองทรัพย์สมบัติอย่างไม่มีความสุข เพราะเป็นคนอาภัพ ไม่มีบุตรธิดาเป็นเครื่องประโลมใจ จึงบนบานศาลกล่าวต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์เสมอ ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งลูกหญิงชาย
นั่งนอนอยู่ด้วยความหวัง จนอายุย่างเข้าห้าสิบปี เพราะปรารถนาบุตร จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนตัวภรรยาเสียใหม่ โดยเข้าใจว่าภรรยาของตนเป็นหมัน ถึงคราวที่จะเสวยกรรมและหมดเวร วันหนึ่งพอออกจากประตูบ้านก็ประจันหน้ากับชายคนหนึ่ง จึงไต่ถามปราศรัยกันขึ้น
ชายแปลกหน้าผู้นั้นบอกว่า จะมาหาเจ้าของบ้านนี้ และบอกว่าจะมาทวงหนี้เอากับเจ้าของบ้าน ขณะกำลังตกใจอยู่นั้น ชายแปลกหน้าก็รีบเดินเข้าบ้าน ขึ้นบันได เข้าห้องโน้น ลงบันไดนี้ แล้วหายไปหลังบ้าน
เจ้าของบ้านมองดูชายแปลกหน้าหายไปทางหลังบ้าน จึงกลับเข้าบ้านด้วยความตกใจ เรียกคนรับใช้มาค้นหาชายแปลกหน้า ค้นกันจนทั่วบ้านก็ไม่พบใครและไม่มีใครเห็น เศรษฐีเจ้าของบ้านระลึกถึงเหตุการณ์ด้วยความหนักใจ ต่อมาภรรยาเศรษฐีตั้งครรภ์ สามีภรรยาดีใจคิดว่าจะได้ลูกสืบสกุล แต่เมื่อนึกถึงเหตุการณ์ที่ชายแปลกหน้าบอกว่าจะมาทวงหนี้ เศรษฐีก็หวั่นใจขึ้นมาอีก
และเมื่อภรรยาตั้งครรภ์นั้น ร่างกายก็อ่อนแอ สามวันดีสี่วันไข้ ต้องเฝ้าพยาบาลรักษา เสียค่าหมอค่ายาไปเท่าไร ๆ ถ้าเป็นคนธรรมดาก็ต้องบอกว่าแย่ แต่เศรษฐีมีกำลังทรัพย์ส่งเสริมกำลังใจอยู่ จึงไม่สู้วิตกมากนักในเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาภรรยาของตน ด้วยคิดว่าลูกนั้นเป็นสมบัติอันยิ่งใหญ่กว่าทรัพย์ทั้งปวง เพราะลูกนั้นปกครองสมบัติได้
เศรษฐีเลี้ยงดูทะนุถนอมลูกในท้องด้วยความเหนื่อยยาก ด้วยความเสียสละ และด้วยความหนักใจ นับแต่เด็กเกิดในท้องก็ต้องจ่ายเงินเป็นจำนวนมาก เมื่อเด็กเกิดมาแล้ว ก็สู้ถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงดูบุตรด้วยความรักความเมตตา แม้เด็กจะสามวันดีสี่วันไข้ พ่อแม่ก็กลับทวีความรักความสงสารขึ้นอีก จนเด็กเจริญวัยขึ้นตามวันตามคืน กำลังวังชาก็แข็งแรง ประกอบด้วยอนามัยดี นิสัยชอบเที่ยว ชอบคบเพื่อน ชอบออกนอกบ้าน
ด้วยความรักของบิดามารดา จึงมีการใช้จ่ายเกินขอบเขต พ่อแม่ก็ไม่ว่า เพราะฐานะของตนพอจะมีให้ลูกใช้ได้ จนอยู่มาวันหนึ่ง เด็กคนนั้นเกิดขัดใจกับเพื่อนนักเรียนบ้านใกล้เรือนเคียง เด็กที่ถูกตามใจจนเคยตัวได้เอามีดแทงเพื่อนจนอาการสาหัส พ่อแม่ต้องกลบเรื่องร้ายให้กลายเป็นเรื่องดีด้วยเงินจำนวนมาก เด็กคนนี้ได้ก่อกรรมทำเข็ญให้พ่อแม่ต้องตามใช้หนี้ ระงับเหตุการณ์อยู่เสมอ ๆ ทำให้เกิดชอกช้ำระกำใจอย่างหนัก เมื่อเติบโตขึ้น อายุมากขึ้น การใช้จ่ายก็มากขึ้นเป็นเงาตามตัว
กาลเวลาผ่านไปจนท่านผู้เป็นบิดามีอายุ 70 ปีเศษ ผู้เป็นบิดาได้จินตนาการถึงฐานะของตนว่า ลูกชายอายุ 20 ปีเศษแล้ว ตัวเราก็อายุ 70 ปีเศษแล้ว นับว่าชรามาก ลูกชายตั้งแต่เกิดมาไม่เคยนำเงินเข้าบ้านเลยแม้แต่นิดเดียว มีแต่ขนเงินออกจากบ้าน ใช้จ่ายเลี้ยงเพื่อนฝูง เล่นการพนัน ใช้เวลาให้หมดไปกับอบายมุข คำตักเตือนของบิดามารดาก็ไม่ได้ผล กลับขึ้นเสียงขู่ตะคอกเอาเสียอีก เมื่อพ่อแม่ระลึกถึงความหัวดื้อของลูก สุดปัญญาเข้าก็หลั่งน้ำตาออกมา เป็นน้ำตาแห่งความทุกข์ใจเป็นที่สุด
บิดามารดาปรึกษากันว่า ดูเถิด ลูกเรา เราให้เงินทองใช้สบาย ไม่ได้คิดอ่านทำอะไร เมื่อเราเผลอกลับเป็นคนมือไวใจเร็ว ชั่วเวลา 20 ปีนี้ เงินในธนาคารของเรา 70 หมื่นก็หมด เครื่องทองเครื่องเพชรตลอดจนที่ดินก็หมด บัดนี้เราจวนจะหมดตัวแล้ว เหลือสมบัติเพียงเงิน 2,000 เหรียญเท่านั้น เมื่อหมดเงินก้อนนี้ เราจะทำอะไรกิน ร่างกายก็แก่เฒ่าลงทุกวัน ทั้งสามีภรรยาอัดอั้นตันใจ ต่างคนต่างร้องไห้ปรับทุกข์กับน้ำตา
แต่แล้วในที่สุด สามีก็เกิดความคิดขึ้นมาได้ว่า ชายแปลกหน้าที่มาบอกว่าจะมาทวงหนี้เรา คงเป็นพวกสัมภเวสีหรือปีศาจมาเกิดเป็นลูกเรานั่นเอง ตั้งแต่ได้ลูกคนนี้ ไม่มีอะไรเจริญขึ้นเลย มีแต่หายนะจนจะหมดตัวอยู่แล้ว
แล้วคิดแก้ไขด้วยปัญญาต่อไปว่า สมบัติของเราทั้งหมดนี้ เจ้าลูกชายคงผลาญต่อไปอีก และสมบัติของเราทั้งหมดนี้ คงจะเป็นสมบัติของเวรกรรมตกเป็นของลูกชายเราเป็นแน่แท้ ตัวเราหมดสิทธิเสียแล้ว เราจะได้สมบัติที่เหลือโดยวิธีเดียวคือด้วยการขอคืนเท่านั้น
เมื่อคิดได้ดังนั้น ผู้เป็นบิดาได้รวบรวมเงินทั้งหมดประมาณ 2,000 เหรียญ ลงในบัญชี พอได้โอกาสก็เรียกลูกชายมาชี้แจงว่า บัดนี้เรายากจนลง แม่เจ้าก็แก่ลงทุกวัน พ่อก็หมดกำลังทำมาค้าขาย เพราะอายุมาก ตัวลูกก็ไม่ประกอบการงานแต่อย่างใด เอาแต่ใช้เงินหาความสำราญ คบเพื่อนฝูงเกะกะระราน เสียแต่เงินทอง สมบัติในบ้านเจ้าก็ลักไปจำนำจำนองเสียจนหมดสิ้น สมบัติที่เหลืออีกประมาณ 2,000 เหรียญนี้ ลูกอย่าเอาเลย ขอให้ยกเป็นสิทธิแก่พ่อและแม่เถิด พ่อและแม่จะได้เอาไว้กินก่อนจะถึงเวลาตาย
ลูกชายได้ฟังดังนั้นก็ไม่ได้โต้แย้ง คิดว่า เมื่อเงินยังเป็นของพ่อแม่ เราก็ยังมีโอกาสได้ใช้อยู่นั่นเอง จึงลงลายมือชื่อยกสมบัติที่เหลือให้กับพ่อแม่ของตน
เป็นเรื่องน่าประหลาดนัก ในคืนนั้น ลูกเศรษฐีไม่ออกจากบ้าน แม้เพื่อนฝูงมาชวนก็ไม่ยอมไป หน้าตาที่เคยผ่องใสก็กลับเศร้าหมอง ไม่ใส่ใจในอาหารการบริโภค เข้านอนแต่หัวค่ำ รุ่งเช้าก็ยังไม่ตื่นจนตะวันขึ้นสาย พ่อแม่เห็นผิดสังเกต เข้าไปปลุกในห้องนอน จึงรู้ว่าลูกของตนตายไปแล้ว
เมื่อจัดการศพลูกชายเรียบร้อย เศรษฐีจึงเล่าให้ภรรยาฟังว่า เมื่อก่อนเราเคยเป็นหนี้ลูกคนนี้ ชาตินี้เขาจึงตามมาทวงด้วยวิธีล้างผลาญ ชายแปลกหน้าเมื่อ 21 ปีก่อน คือลูกเราคนนี้ มันมาบอกให้เรารู้ล่วงหน้า แต่เราไม่เฉลียวใจ เพราะไม่เคยกู้หนี้ยืมสินใคร มาในชาตินี้ เราควรอโหสิกันเสียที อย่าตามล้างตามผลาญกันต่อไปอีกเลย เมื่อลูกมาตายเสียเช่น นี้ ก็แสดงว่าหมดหนี้กันแล้ว ไม่มีหนี้เวร หนี้กรรม อีกต่อไป
เมื่อพูดกันดังนี้ ทั้งคู่ก็ร้องไห้รันทดต่อเวรกรรมของตัว นับแต่นั้นเป็นต้นมา ก็ตั้งหน้าตั้งตาบำเพ็ญกุศล หลีกเลี่ยงบาป บำเพ็ญบุญ ตราบชั่วชีวิต ..
เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า ลูกที่เกิดมาด้วยอาการอย่างนี้ เท่ากับว่าเกิดมาทวงหนี้ ส่วนลูกบางคนเกิดมา อุตส่าห์ประกอบอาชีพเลี้ยงดูบิดามารดาของตนโดยชอบธรรม ไม่ให้ผู้มีพระคุณของตนต้องเดือดร้อน ลูกอย่างนี้เท่ากับเกิดมาใช้หนี้บิดามารดาของตน
โบราณจารย์ท่านกล่าวว่า ธรรมชาติแห่งการมีบุตรธิดา ถ้ามองตามทัศนะของกฎแห่งกรรมแล้ว ก็คือการเปิดหน้าบัญชีลูกหนี้เจ้าหนี้ขึ้นมาสะสางกันอีกวาระหนึ่ง กุศลกรรมและอกุศลกรรมในอดีตล้วนเป็นเหตุปัจจัยให้ชีวิตต้องเวียนว่ายมาพบกันอีกตามกระแสของวิบากกรรม มาเป็นพ่อแม่ลูกกัน ตามกรรมดีกรรมชั่วที่แต่ละคนได้ก่อให้เกิดความสัมพันธ์กันมาแต่อดีต
บุตรธิดาบางคนเกิดมาทวงหนี้ ก็ทำตัวดื้อรั้นอวดดี ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายเสียหาย จนบิดามารดาไม่มีความสุขตลอดเวลา ส่วนบุตรธิดาที่เกิดมาใช้หนี้บุญคุณที่ติดค้างกันอยู่ในภพก่อน ๆ ก็มีความกตัญญูกตเวที ว่านอนสอนง่าย เป็นที่พึ่งทั้งทางกายและใจของบิดามารดา นำความปลื้มปิติและความภาคภูมิใจมาให้บิดามารดามีความสุขความอิ่มใจเสมอ
... มีเศรษฐีคนหนึ่ง มีทรัพย์ประมาณ 70 หมื่น เขาครอบครองทรัพย์สมบัติอย่างไม่มีความสุข เพราะเป็นคนอาภัพ ไม่มีบุตรธิดาเป็นเครื่องประโลมใจ จึงบนบานศาลกล่าวต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์เสมอ ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งลูกหญิงชาย
นั่งนอนอยู่ด้วยความหวัง จนอายุย่างเข้าห้าสิบปี เพราะปรารถนาบุตร จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนตัวภรรยาเสียใหม่ โดยเข้าใจว่าภรรยาของตนเป็นหมัน ถึงคราวที่จะเสวยกรรมและหมดเวร วันหนึ่งพอออกจากประตูบ้านก็ประจันหน้ากับชายคนหนึ่ง จึงไต่ถามปราศรัยกันขึ้น
ชายแปลกหน้าผู้นั้นบอกว่า จะมาหาเจ้าของบ้านนี้ และบอกว่าจะมาทวงหนี้เอากับเจ้าของบ้าน ขณะกำลังตกใจอยู่นั้น ชายแปลกหน้าก็รีบเดินเข้าบ้าน ขึ้นบันได เข้าห้องโน้น ลงบันไดนี้ แล้วหายไปหลังบ้าน
เจ้าของบ้านมองดูชายแปลกหน้าหายไปทางหลังบ้าน จึงกลับเข้าบ้านด้วยความตกใจ เรียกคนรับใช้มาค้นหาชายแปลกหน้า ค้นกันจนทั่วบ้านก็ไม่พบใครและไม่มีใครเห็น เศรษฐีเจ้าของบ้านระลึกถึงเหตุการณ์ด้วยความหนักใจ ต่อมาภรรยาเศรษฐีตั้งครรภ์ สามีภรรยาดีใจคิดว่าจะได้ลูกสืบสกุล แต่เมื่อนึกถึงเหตุการณ์ที่ชายแปลกหน้าบอกว่าจะมาทวงหนี้ เศรษฐีก็หวั่นใจขึ้นมาอีก
และเมื่อภรรยาตั้งครรภ์นั้น ร่างกายก็อ่อนแอ สามวันดีสี่วันไข้ ต้องเฝ้าพยาบาลรักษา เสียค่าหมอค่ายาไปเท่าไร ๆ ถ้าเป็นคนธรรมดาก็ต้องบอกว่าแย่ แต่เศรษฐีมีกำลังทรัพย์ส่งเสริมกำลังใจอยู่ จึงไม่สู้วิตกมากนักในเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาภรรยาของตน ด้วยคิดว่าลูกนั้นเป็นสมบัติอันยิ่งใหญ่กว่าทรัพย์ทั้งปวง เพราะลูกนั้นปกครองสมบัติได้
เศรษฐีเลี้ยงดูทะนุถนอมลูกในท้องด้วยความเหนื่อยยาก ด้วยความเสียสละ และด้วยความหนักใจ นับแต่เด็กเกิดในท้องก็ต้องจ่ายเงินเป็นจำนวนมาก เมื่อเด็กเกิดมาแล้ว ก็สู้ถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงดูบุตรด้วยความรักความเมตตา แม้เด็กจะสามวันดีสี่วันไข้ พ่อแม่ก็กลับทวีความรักความสงสารขึ้นอีก จนเด็กเจริญวัยขึ้นตามวันตามคืน กำลังวังชาก็แข็งแรง ประกอบด้วยอนามัยดี นิสัยชอบเที่ยว ชอบคบเพื่อน ชอบออกนอกบ้าน
ด้วยความรักของบิดามารดา จึงมีการใช้จ่ายเกินขอบเขต พ่อแม่ก็ไม่ว่า เพราะฐานะของตนพอจะมีให้ลูกใช้ได้ จนอยู่มาวันหนึ่ง เด็กคนนั้นเกิดขัดใจกับเพื่อนนักเรียนบ้านใกล้เรือนเคียง เด็กที่ถูกตามใจจนเคยตัวได้เอามีดแทงเพื่อนจนอาการสาหัส พ่อแม่ต้องกลบเรื่องร้ายให้กลายเป็นเรื่องดีด้วยเงินจำนวนมาก เด็กคนนี้ได้ก่อกรรมทำเข็ญให้พ่อแม่ต้องตามใช้หนี้ ระงับเหตุการณ์อยู่เสมอ ๆ ทำให้เกิดชอกช้ำระกำใจอย่างหนัก เมื่อเติบโตขึ้น อายุมากขึ้น การใช้จ่ายก็มากขึ้นเป็นเงาตามตัว
กาลเวลาผ่านไปจนท่านผู้เป็นบิดามีอายุ 70 ปีเศษ ผู้เป็นบิดาได้จินตนาการถึงฐานะของตนว่า ลูกชายอายุ 20 ปีเศษแล้ว ตัวเราก็อายุ 70 ปีเศษแล้ว นับว่าชรามาก ลูกชายตั้งแต่เกิดมาไม่เคยนำเงินเข้าบ้านเลยแม้แต่นิดเดียว มีแต่ขนเงินออกจากบ้าน ใช้จ่ายเลี้ยงเพื่อนฝูง เล่นการพนัน ใช้เวลาให้หมดไปกับอบายมุข คำตักเตือนของบิดามารดาก็ไม่ได้ผล กลับขึ้นเสียงขู่ตะคอกเอาเสียอีก เมื่อพ่อแม่ระลึกถึงความหัวดื้อของลูก สุดปัญญาเข้าก็หลั่งน้ำตาออกมา เป็นน้ำตาแห่งความทุกข์ใจเป็นที่สุด
บิดามารดาปรึกษากันว่า ดูเถิด ลูกเรา เราให้เงินทองใช้สบาย ไม่ได้คิดอ่านทำอะไร เมื่อเราเผลอกลับเป็นคนมือไวใจเร็ว ชั่วเวลา 20 ปีนี้ เงินในธนาคารของเรา 70 หมื่นก็หมด เครื่องทองเครื่องเพชรตลอดจนที่ดินก็หมด บัดนี้เราจวนจะหมดตัวแล้ว เหลือสมบัติเพียงเงิน 2,000 เหรียญเท่านั้น เมื่อหมดเงินก้อนนี้ เราจะทำอะไรกิน ร่างกายก็แก่เฒ่าลงทุกวัน ทั้งสามีภรรยาอัดอั้นตันใจ ต่างคนต่างร้องไห้ปรับทุกข์กับน้ำตา
แต่แล้วในที่สุด สามีก็เกิดความคิดขึ้นมาได้ว่า ชายแปลกหน้าที่มาบอกว่าจะมาทวงหนี้เรา คงเป็นพวกสัมภเวสีหรือปีศาจมาเกิดเป็นลูกเรานั่นเอง ตั้งแต่ได้ลูกคนนี้ ไม่มีอะไรเจริญขึ้นเลย มีแต่หายนะจนจะหมดตัวอยู่แล้ว
แล้วคิดแก้ไขด้วยปัญญาต่อไปว่า สมบัติของเราทั้งหมดนี้ เจ้าลูกชายคงผลาญต่อไปอีก และสมบัติของเราทั้งหมดนี้ คงจะเป็นสมบัติของเวรกรรมตกเป็นของลูกชายเราเป็นแน่แท้ ตัวเราหมดสิทธิเสียแล้ว เราจะได้สมบัติที่เหลือโดยวิธีเดียวคือด้วยการขอคืนเท่านั้น
เมื่อคิดได้ดังนั้น ผู้เป็นบิดาได้รวบรวมเงินทั้งหมดประมาณ 2,000 เหรียญ ลงในบัญชี พอได้โอกาสก็เรียกลูกชายมาชี้แจงว่า บัดนี้เรายากจนลง แม่เจ้าก็แก่ลงทุกวัน พ่อก็หมดกำลังทำมาค้าขาย เพราะอายุมาก ตัวลูกก็ไม่ประกอบการงานแต่อย่างใด เอาแต่ใช้เงินหาความสำราญ คบเพื่อนฝูงเกะกะระราน เสียแต่เงินทอง สมบัติในบ้านเจ้าก็ลักไปจำนำจำนองเสียจนหมดสิ้น สมบัติที่เหลืออีกประมาณ 2,000 เหรียญนี้ ลูกอย่าเอาเลย ขอให้ยกเป็นสิทธิแก่พ่อและแม่เถิด พ่อและแม่จะได้เอาไว้กินก่อนจะถึงเวลาตาย
ลูกชายได้ฟังดังนั้นก็ไม่ได้โต้แย้ง คิดว่า เมื่อเงินยังเป็นของพ่อแม่ เราก็ยังมีโอกาสได้ใช้อยู่นั่นเอง จึงลงลายมือชื่อยกสมบัติที่เหลือให้กับพ่อแม่ของตน
เป็นเรื่องน่าประหลาดนัก ในคืนนั้น ลูกเศรษฐีไม่ออกจากบ้าน แม้เพื่อนฝูงมาชวนก็ไม่ยอมไป หน้าตาที่เคยผ่องใสก็กลับเศร้าหมอง ไม่ใส่ใจในอาหารการบริโภค เข้านอนแต่หัวค่ำ รุ่งเช้าก็ยังไม่ตื่นจนตะวันขึ้นสาย พ่อแม่เห็นผิดสังเกต เข้าไปปลุกในห้องนอน จึงรู้ว่าลูกของตนตายไปแล้ว
เมื่อจัดการศพลูกชายเรียบร้อย เศรษฐีจึงเล่าให้ภรรยาฟังว่า เมื่อก่อนเราเคยเป็นหนี้ลูกคนนี้ ชาตินี้เขาจึงตามมาทวงด้วยวิธีล้างผลาญ ชายแปลกหน้าเมื่อ 21 ปีก่อน คือลูกเราคนนี้ มันมาบอกให้เรารู้ล่วงหน้า แต่เราไม่เฉลียวใจ เพราะไม่เคยกู้หนี้ยืมสินใคร มาในชาตินี้ เราควรอโหสิกันเสียที อย่าตามล้างตามผลาญกันต่อไปอีกเลย เมื่อลูกมาตายเสียเช่น นี้ ก็แสดงว่าหมดหนี้กันแล้ว ไม่มีหนี้เวร หนี้กรรม อีกต่อไป
เมื่อพูดกันดังนี้ ทั้งคู่ก็ร้องไห้รันทดต่อเวรกรรมของตัว นับแต่นั้นเป็นต้นมา ก็ตั้งหน้าตั้งตาบำเพ็ญกุศล หลีกเลี่ยงบาป บำเพ็ญบุญ ตราบชั่วชีวิต ..
เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า ลูกที่เกิดมาด้วยอาการอย่างนี้ เท่ากับว่าเกิดมาทวงหนี้ ส่วนลูกบางคนเกิดมา อุตส่าห์ประกอบอาชีพเลี้ยงดูบิดามารดาของตนโดยชอบธรรม ไม่ให้ผู้มีพระคุณของตนต้องเดือดร้อน ลูกอย่างนี้เท่ากับเกิดมาใช้หนี้บิดามารดาของตน
โบราณจารย์ท่านกล่าวว่า ธรรมชาติแห่งการมีบุตรธิดา ถ้ามองตามทัศนะของกฎแห่งกรรมแล้ว ก็คือการเปิดหน้าบัญชีลูกหนี้เจ้าหนี้ขึ้นมาสะสางกันอีกวาระหนึ่ง กุศลกรรมและอกุศลกรรมในอดีตล้วนเป็นเหตุปัจจัยให้ชีวิตต้องเวียนว่ายมาพบกันอีกตามกระแสของวิบากกรรม มาเป็นพ่อแม่ลูกกัน ตามกรรมดีกรรมชั่วที่แต่ละคนได้ก่อให้เกิดความสัมพันธ์กันมาแต่อดีต
บุตรธิดาบางคนเกิดมาทวงหนี้ ก็ทำตัวดื้อรั้นอวดดี ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายเสียหาย จนบิดามารดาไม่มีความสุขตลอดเวลา ส่วนบุตรธิดาที่เกิดมาใช้หนี้บุญคุณที่ติดค้างกันอยู่ในภพก่อน ๆ ก็มีความกตัญญูกตเวที ว่านอนสอนง่าย เป็นที่พึ่งทั้งทางกายและใจของบิดามารดา นำความปลื้มปิติและความภาคภูมิใจมาให้บิดามารดามีความสุขความอิ่มใจเสมอ
พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี |
เรื่องต่อมา นำมาจากบันทึกกฎแห่งกรรมของ พระธรรมสิงหบุราจารย์ หรือ หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม แห่งวัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี ขอนำมาเล่าสู่กันฟังเพื่อเป็นอนุสติ ...
... ราวปี พ.ศ. 2500 นายชลอ เกิดสุวรรณ ซึ่งเคยเป็นนายทหารเสนารักษ์ มีจิตเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้มาช่วยหลวงพ่อจรัญในกิจการงานของวัด นายชลอเป็นผู้มีจิตใจดี โอบอ้อมอารี เป็นที่รักใคร่นับถือของชาวบ้านทั่วไปจนชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า "หมอชลอ"
เมื่อมาปฏิบัติกรรมฐานอยู่ที่วัด ก็ขยันหมั่นเพียร เจริญสมาธิอย่างไม่ท้อถอยจนกระทั่งจิตสงบ อยู่มาวันหนึ่ง หมอชลอมากราบหลวงพ่อจรัญ เล่าว่าจากการเจริญภาวนา เกิดนิมิตเห็นตัวแกเองในอดีตชาติปางก่อน เป็นภาพที่ชัดเจนมาก ในชาติปางก่อน พ่อแม่เป็นชาวมอญ มีอาชีพล่องเรือขายโอ่ง ในชาตินั้น หมอชลอมีพี่ชายคนเดียว ชอบคบพวกนักเลงหัวไม้ วันหนึ่งเพื่อนของพี่ชายก็มาชวนหมอชลอและพี่ชายไปปล้นด้วยกัน
ตอนนั้นหมอชลอยังอยู่ในเกณฑ์วัยรุ่น รักสนุก เมื่อถูกชักชวนก็เกิดเห็นกงจักรเป็นดอกบัว รับปากเข้าปล้นด้วย บ้านที่จะปล้นตั้งอยู่โดดเดี่ยว อยู่ที่หมู่บ้านม่องล่าย ใกล้น้ำตกเอราวัณ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นครอบครัวผู้มีฐานะมั่งคั่ง
เมื่อไปถึงก็บุกเข้าปล้นอย่างตั้งตัวไม่ติด ชายเจ้าของบ้านถูกพี่ชายของหมอชลอยิงตาย ฝ่ายภรรยาเจ้าของบ้านเพิ่งคลอดลูกใหม่ ๆ กำลังอยู่ไฟ ก็ตื่นตระหนกตะโกนร้องขอให้คนช่วย จึงถูกหมอชลอฆ่าตาย ยิ่งไปกว่านั้น หมอชลอยังได้แสดงความอำมหิตด้วยการจับเด็กทารกที่คลอดมาใหม่ ๆ โยนลงในกองไฟเผาทั้งเป็น
ความเหี้ยมเกรียมโหดร้ายของหมอชลอนี้ เป็นไปเพราะความคะนอง ไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษ ฆ่าได้แม้กระทั่งผู้หญิงและเด็กทารกแดง ๆ นอนแบเบาะ หลังจากฆ่าเจ้าทรัพย์และเก็บกวาดเอาทรัพย์สินไปแล้ว ก็ล่าถอยหนีไปพร้อมกับเผาบ้านทำลายหลักฐาน
หลังจากแบ่งทรัพย์ที่ปล้นได้แล้ว พวกโจรก็แยกย้ายกันไป ข้างฝ่ายหมอชลอกับพี่ชาย เมื่อกลับถึงบ้าน ก็ทำตัวเรียบร้อย ปิดบังความผิดของตนเองไม่ให้พ่อแม่รู้ วันหนึ่งเวรกรรมก็ตามทัน พ่อกับแม่ของหมอชลอพากันล่องเรือนำโอ่งไปขาย ในขณะที่หมอชลอกำลังถ่อเรือ เกิดเป็นลมหน้ามืดตกลงไปในน้ำที่ลึกและไหลแรง เสียชีวิตในชาตินั้น
เมื่อหมอชลอเล่าเรื่องที่ระลึกได้ในสมาธิให้หลวงพ่อจรัญฟัง หลวงพ่อก็ทราบโดยกระแสญาณว่าเป็นบาปกรรมเก่าที่หมอชลอได้เคยทำไว้ เป็นกรรมหนักเพราะไปฆ่าแม่ลูกอ่อน ผลกรรมชั่วอันร้ายกาจนี้ เห็นทีจะตามทันหมอชลอในชาติปัจจุบันนี้ไม่ช้าก็เร็ว
หมอชลอมีความกลัดกลุ้มมากกับนิมิตในสมาธิ กลัวบาปกรรมตามสนอง ก็ขอร้องให้หลวงพ่อจรัญช่วยหาวิธีให้พ้นจากวิบากกรรมนี้ นั่งสมาธิกี่ครั้ง ๆ ก็เห็นภาพนิมิตบาปตลอดเวลา หลวงพ่อจรัญได้พูดให้กำลังใจต่าง ๆ เพื่อให้คลายความไม่สบายใจ และแนะนำให้พยายามแผ่เมตตาอุทิศให้เจ้ากรรมนายเวรเสมอ ๆ
วันเวลาผ่านไปก็ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น จนกระทั่งวันหนึ่ง นายเจริญ พี่ชายของหมอชลอในชาติปัจจุบัน ได้เดินทางจากบ้านที่อยุธยามาหาหมอชลอ ชักชวนให้ไปค้าไม้ไผ่ที่กาญจนบุรี เพราะเป็นสินค้าส่งออกที่ต่างประเทศต้องการมาก ลงทุนน้อย ได้กำไรงาม
หมอชลอเห็นช่องทางว่าจะร่ำรวยขึ้นมาได้ จึงนำเรื่องนี้มาปรึกษาหลวงพ่อจรัญว่าควรจะไปค้าไม้ไผ่ที่กาญจนบุรีดีหรือไม่ หลวงพ่อก็ถามว่า ที่จะไปตั้งหลักแหล่งค้าไม้ไผ่นั้นอยู่ที่ตำบลอำเภออะไร เมื่อทราบว่าเป็นบ้านม่องล่าย ก็สะดุ้งใจ เพราะจำได้ว่าหมู่บ้านม่องล่ายเกี่ยวข้องกับกรรมของหมอชลอในอดีตชาติที่ไปปล้นฆ่าเจ้าทรัพย์แม่ลูกอ่อน
หลวงพ่อตรองดูด้วยความสลดสังเวช แต่จะห้ามปรามก็คงไม่สำเร็จ เพราะหมอชลอหายใจเข้าออกเป็นการค้าไม้ไผ่ คงเป็นเวรกรรมแต่หนหลังที่ชักนำให้ไป จึงได้แต่แนะนำให้หมอชลอไตร่ตรองให้รอบคอบ และหากจะไปก็แนะนำให้ไปโดยลำพังก่อน ค่อยอพยพครอบครัวตามไปภายหลังเพื่อความปลอดภัย
ต่อมาหมอชลอกับพี่ชายก็ออกเดินทางไปบ้านม่องล่าย กาญจนบุรี หลวงพ่อจรัญได้แต่เป็นห่วง คอยสดับตรับฟังข่าวคราวของหมอชลออยู่เสมอ พร้อมกับนึกภาวนาให้หมอชลอหมั่นเจริญสมาธิ สร้างกุศลบารมี เพื่อช่วยผ่อนกรรมหนักให้เป็นเบา
หนึ่งปีผ่านไป หมอชลอกลับมาหาหลวงพ่อจรัญที่วัด บอกว่ากิจการค้าไม้ไผ่เจริญก้าวหน้าดี เห็นทีจะร่ำรวยใหญ่ ตั้งใจจะกลับมารับเอาครอบครัวไปอยู่ด้วยกัน เพื่อที่จะทำมาหากินโดยไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง หลวงพ่อจรัญพิจารณาดูแล้วเห็นว่าคงเป็นไปตามเคราะห์กรรมบันดาล เมื่อมองไม่เห็นทางที่จะห้ามปรามได้ จึงได้แต่เตือนไม่ให้ประมาท ให้พยายามรักษาศีลและเจริญวิปัสสนาภาวนา แผ่เมตตาให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จะช่วยปกป้องคุ้มครองให้รอดพ้นจากผองภัยทั้งปวงได้ หมอชลอก้มลงกราบรับคำตักเตือนของหลวงพ่อแล้วลากลับไป
หมอชลอได้อพยพครอบครัวไปอยู่หมู่บ้านม่องล่ายที่กาญจนบุรี มีหลานสองคนติดตามไปด้วย เวลาผ่านไป กิจการค้าไม้ไผ่เจริญรุ่งเรืองร่ำรวยขึ้นทุกปี ชีวิตประสบความสำเร็จ มีความสุขดีน่าปลื้มใจ จนกระทั่งถึงปีที่ห้า ญาติพี่น้องที่ไปเยี่ยมเยียนหมอชลอที่ป่าเมืองกาญจนบุรี ได้นำความมาเล่าให้หลวงพ่อจรัญฟังว่า ได้เกิดเหตุร้ายขึ้นกับครอบครัวของหมอชลอ หลวงพ่อใจหายวูบขึ้นทันทีเพราะสังหรณ์ใจถึงเรื่องวิบากกรรมเก่าที่หมอชลอได้ทำไว้
ในวันที่เกิดเหตุร้าย หมอชลอพร้อมด้วยนางทองใบ ภรรยาและลูก เดินทางไปซื้อของที่ตลาดที่ตัวเมืองกาญจนบุรี เมื่อกลับมา ก็ทราบว่า โจรได้เข้าปล้นบ้านและยิงพี่ชายหมอชลอตาย ทรัพย์สินเงินทองก็ถูกปล้นเก็บกวาดไปไม่มีเหลือ
เมื่อไปแจ้งความ กว่าเจ้าหน้าที่บ้านเมืองจะมาถึงที่เกิดเหตุก็ใช้เวลาหลายวัน ศพพี่ชายขึ้นอืดน่าสังเวช ต่อมาไม่นาน ฝ่ายขัดผลประโยชน์ได้ส่งนักเลงอันธพาลมาขู่หมอชลอให้หยุดตัดไม้ไผ่และอพยพออกไป ไม่เช่นนั้นจะถูกฆ่าตายอย่างพี่ชาย หมอชลอเพิ่งจะสูญเสียพี่ชายและทรัพย์สินถูกปล้น เมื่อถูกข่มขู่ ก็เกิดความเคียดแค้น ไม่ยอมอพยพตามคำขู่ แต่จะปักหลักสู้ตายแม้จะรู้ว่าเสียเปรียบเพราะไม่มีพรรคพวก
หมอชลอซ้อมยิงปืนอย่างเอาเป็นเอาตาย ทั้งจัดสร้างเครื่องกีดขวางอย่างรัดกุมไว้ทั่วบ้าน จิตใจเข้มแข็งห้าวหาญด้วยอำนาจความโกรธ ความแค้น ความพยาบาท การกระทำของหมอชลออยู่ในสายตาของศัตรูที่แอบสืบดูความเคลื่อนไหวอยู่ทุกระยะ ฝ่ายศัตรูจึงเตรียมการที่จะจัดการกับหมอชลออย่างแยบยลไม่ให้พลาด
วันที่เกิดเหตุร้าย ห่างจากวันที่พี่ชายของหมอชลอถูกโจรปล้นฆ่าตายประมาณ 15 วัน เป็นเวลาเที่ยงวัน มีเรือหางยาวลำใหญ่ลำหนึ่ง แล่นมาจอดที่ท่าน้ำหน้าบ้านหมอชลอ แล้วคนในเรือก็ตะโกนเรียกหมอชลอให้ออกไปพบ เมื่อนางทองใบภรรยาลงไปดูที่ท่าน้ำ เห็นชายฉกรรจ์แต่งชุดคล้ายตำรวจ อาวุธครบมือ ประมาณ 15 คนนั่งอยู่ในเรือ ชายในเครื่องแบบคนหนึ่งถามนางทองใบว่าหมอชลออยู่หรือไม่ มีเรื่องสำคัญ ให้ลงมาพบด่วนที่ท่าน้ำ
หมอชลอนึกว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจมาสอบสวนเรื่องการตายของพี่ชาย ก็ลงไปที่ท่าน้ำโดยไม่เฉลียวใจ ส่วนนางทองใบยืนอยู่บนตลิ่ง พอพูดจาได้สักครู่ กำลังจะหันหลังเดินกลับ ชายในเครื่องแบบคนหนึ่งก็ยกปืนขึ้นจ่อยิงท้ายทอยของหมอชลอ ขาดใจตายในทันที ร่างหล่นลงในแม่น้ำ ฝ่ายนางทองใบเห็นสามีถูกยิงตายต่อหน้าต่อตา ก็หวีดร้องเป็นลมล้มสลบไป ตามบันทึกของเจ้าหน้าที่อำเภอศรีสวัสดิ์ ระบุว่าวันที่หมอชลอถูกยิงตาย เป็นวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2504
หลังจากสังหารหมอชลอแล้ว พวกเหล่าร้ายที่ปลอมตัวมาในเครื่องแบบเจ้าหน้าที่ก็รีบหลบหนีไป เมื่อนางทองใบฟื้นคืนสติ ก็ร้องห่มร้องไห้เหมือนคนเสียขวัญอย่างหนัก พอตั้งสติได้ ด้วยความหวาดกลัวต่อภัยอันตรายที่คุกคาม ก็รีบทำพิธีเผาศพสามีและพี่ชายหมอชลอด้วยการเผาแบบง่าย ๆ ที่ลานบ้าน แล้วเก็บกระดูกสามีและพี่ชายห่อด้วยผ้าขาว พร้อมทั้งเก็บทรัพย์สินมีค่าที่จำเป็นพอจะเอาไปได้ แล้วพาลูกหลานลงแพ รีบล่องออกจากแดนป่าเถื่อนอันตรายเพื่อกลับสิงห์บุรีบ้านเกิดเมืองนอน
แต่เวรกรรมยังไม่หมด พอแพออกจากท่าหมู่บ้านม่องล่ายได้ไม่ไกล น้ำเชี่ยว แพถูกกระแสน้ำพัดกระแทกหินใต้น้ำ แพแตก ข้าวของเงินทองที่นำติดตัวมาจมน้ำเสียหายหมด ในเวลานั้น ลูกของหมอชลอซึ่งยังเล็กอยู่ ก็มีอันต้องจมน้ำตายไปอีกคน กรรมที่ตามมาจากอดีตชาติเริ่มส่งผลให้เห็นแล้ว เริ่มจากพี่ชายของหมอชลอ ต่อมาคือหมอชลอ และตามมาด้วยลูกของหมอชลอ
กว่านางทองใบและหลานจะกลับถึงภูมิลำเนาที่อำเภอพรหมบุรี ก็ทุลักทุเล เดือดร้อนอย่างแสนสาหัส พวกญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านได้มาเยี่ยมเยียนถามข่าว และกำหนดวันทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ตาย หลวงพ่อจรัญได้ไปเทศน์ก่อนวันงานสองวัน กัณฑ์เทศน์ในครั้งนั้น หลวงพ่อจรัญท่านเทศน์เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด วิบากกรรมในอดีตที่เราท่านได้สร้างไว้ ย่อมติดตามมาสนองในชาติปัจจุบันได้โดยไม่ต้องสงสัย การที่คนเราประสบเคราะห์กรรมใด ๆ ก็ตาม ไม่ใช่เพราะสาเหตุที่ตนทำในชาตินี้เท่านั้น แต่มีกรรมในอดีตชาติมาร่วมสมทบด้วยเสมอ
การทำบุญกระดูกหมอชลอและพี่ชายเพื่ออุทิศส่วนกุศลตามประเพณีผ่านไปได้ไม่ถึงเดือน เหตุเศร้าสลดก็อุบัติขึ้นอีก วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2504 มีญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านที่สนิทสนมคุ้นเคยไปเยี่ยมนางทองใบและซักถามถึงเหตุการตายของหมอชลอกับพี่ชาย ฝ่ายนางทองใบถูกถามเป็นการรื้อฟื้น ก็รำลึกถึงสามีและลูก เกิดความอาลัยรัก ความเศร้าโศกเสียใจก็กระพือโหมกลับขึ้นมาอีก ร้องไห้คร่ำครวญโหยหวนเหมือนคนบ้า จนเป็นลมล้มสลบไปถึงสองครั้ง นางทองใบเสียใจขนาดหนัก ไม่สามารถระงับความเศร้าโศกอันใหญ่หลวงไว้ได้ หัวใจวายถึงแก่ความตายเพราะความเศร้าโศกเสียใจอย่างรุนแรง
ในเวลาต่อมา เจ้าหน้าที่ตำรวจก็สืบทราบว่า คดีปล้นฆ่าหมอชลอและพี่ชายเป็นฝีมือของก๊กเสือสวัสดิ์ อุดม และเสียปีย์ ปิยะพันธ์ ซึ่งมีคดีปล้นฆ่าหลายท้องที่ มีลูกน้องบริวารร้ายหลายสิบคน จึงยกกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าล้อมปราบ เสือสวัสดิ์ อุดม หัวหน้าใหญ่ และเสือปีย์ ปิยะพันธ์ รองหัวหน้า ทะนงตัวว่าอยู่ยงคงกระพัน ขัดขืนการจับกุม จึงถูกยิงตายในที่สุด
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นความจริงอย่างยิ่ง เรื่องราวของหมอชลอนี้ เป็นตัวอย่างของผู้ที่สร้างกรรมชั่วอย่างหนักไว้ในอดีตชาติ กรรมชั่วย่อมติดตามผู้กระทำเหมือนเงาตามตัว คอยรบกวนจิตใจให้กังวลอยู่เสมอ และให้ผลเมื่อสุกงอมเต็มที่ แม้ว่าในชาติปัจจุบันจะได้พยายามสร้างกรรมดี แต่หากกรรมชั่วในอดีตนั้นหนักและแรงเกินกว่ากรรมดีที่กำลังปฏิบัติในชาตินี้ ก็ยากที่จะหลบหนีให้พ้นไปได้ ต้องชดใช้กรรมที่ตนได้กระทำไว้ หากยังไม่มีโอกาสให้ผลแก่ผู้กระทำโดยตรง เพราะกรรมดีคอยแวดล้อมอยู่ ก็จะให้ผลแก่ครอบครัว เพื่อก่อความสะเทือนใจแก่บุคคลนั้น ส่วนบุญที่ได้กระทำไว้ย่อมไม่สูญหายไปไหน จะตามมาให้ผลในภายหลังหรือชาติต่อ ๆ ไป เมื่อได้ชดใช้หนี้อกุศลกรรมไปหมดแล้ว
... ราวปี พ.ศ. 2500 นายชลอ เกิดสุวรรณ ซึ่งเคยเป็นนายทหารเสนารักษ์ มีจิตเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้มาช่วยหลวงพ่อจรัญในกิจการงานของวัด นายชลอเป็นผู้มีจิตใจดี โอบอ้อมอารี เป็นที่รักใคร่นับถือของชาวบ้านทั่วไปจนชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า "หมอชลอ"
เมื่อมาปฏิบัติกรรมฐานอยู่ที่วัด ก็ขยันหมั่นเพียร เจริญสมาธิอย่างไม่ท้อถอยจนกระทั่งจิตสงบ อยู่มาวันหนึ่ง หมอชลอมากราบหลวงพ่อจรัญ เล่าว่าจากการเจริญภาวนา เกิดนิมิตเห็นตัวแกเองในอดีตชาติปางก่อน เป็นภาพที่ชัดเจนมาก ในชาติปางก่อน พ่อแม่เป็นชาวมอญ มีอาชีพล่องเรือขายโอ่ง ในชาตินั้น หมอชลอมีพี่ชายคนเดียว ชอบคบพวกนักเลงหัวไม้ วันหนึ่งเพื่อนของพี่ชายก็มาชวนหมอชลอและพี่ชายไปปล้นด้วยกัน
ตอนนั้นหมอชลอยังอยู่ในเกณฑ์วัยรุ่น รักสนุก เมื่อถูกชักชวนก็เกิดเห็นกงจักรเป็นดอกบัว รับปากเข้าปล้นด้วย บ้านที่จะปล้นตั้งอยู่โดดเดี่ยว อยู่ที่หมู่บ้านม่องล่าย ใกล้น้ำตกเอราวัณ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นครอบครัวผู้มีฐานะมั่งคั่ง
เมื่อไปถึงก็บุกเข้าปล้นอย่างตั้งตัวไม่ติด ชายเจ้าของบ้านถูกพี่ชายของหมอชลอยิงตาย ฝ่ายภรรยาเจ้าของบ้านเพิ่งคลอดลูกใหม่ ๆ กำลังอยู่ไฟ ก็ตื่นตระหนกตะโกนร้องขอให้คนช่วย จึงถูกหมอชลอฆ่าตาย ยิ่งไปกว่านั้น หมอชลอยังได้แสดงความอำมหิตด้วยการจับเด็กทารกที่คลอดมาใหม่ ๆ โยนลงในกองไฟเผาทั้งเป็น
ความเหี้ยมเกรียมโหดร้ายของหมอชลอนี้ เป็นไปเพราะความคะนอง ไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษ ฆ่าได้แม้กระทั่งผู้หญิงและเด็กทารกแดง ๆ นอนแบเบาะ หลังจากฆ่าเจ้าทรัพย์และเก็บกวาดเอาทรัพย์สินไปแล้ว ก็ล่าถอยหนีไปพร้อมกับเผาบ้านทำลายหลักฐาน
หลังจากแบ่งทรัพย์ที่ปล้นได้แล้ว พวกโจรก็แยกย้ายกันไป ข้างฝ่ายหมอชลอกับพี่ชาย เมื่อกลับถึงบ้าน ก็ทำตัวเรียบร้อย ปิดบังความผิดของตนเองไม่ให้พ่อแม่รู้ วันหนึ่งเวรกรรมก็ตามทัน พ่อกับแม่ของหมอชลอพากันล่องเรือนำโอ่งไปขาย ในขณะที่หมอชลอกำลังถ่อเรือ เกิดเป็นลมหน้ามืดตกลงไปในน้ำที่ลึกและไหลแรง เสียชีวิตในชาตินั้น
เมื่อหมอชลอเล่าเรื่องที่ระลึกได้ในสมาธิให้หลวงพ่อจรัญฟัง หลวงพ่อก็ทราบโดยกระแสญาณว่าเป็นบาปกรรมเก่าที่หมอชลอได้เคยทำไว้ เป็นกรรมหนักเพราะไปฆ่าแม่ลูกอ่อน ผลกรรมชั่วอันร้ายกาจนี้ เห็นทีจะตามทันหมอชลอในชาติปัจจุบันนี้ไม่ช้าก็เร็ว
หมอชลอมีความกลัดกลุ้มมากกับนิมิตในสมาธิ กลัวบาปกรรมตามสนอง ก็ขอร้องให้หลวงพ่อจรัญช่วยหาวิธีให้พ้นจากวิบากกรรมนี้ นั่งสมาธิกี่ครั้ง ๆ ก็เห็นภาพนิมิตบาปตลอดเวลา หลวงพ่อจรัญได้พูดให้กำลังใจต่าง ๆ เพื่อให้คลายความไม่สบายใจ และแนะนำให้พยายามแผ่เมตตาอุทิศให้เจ้ากรรมนายเวรเสมอ ๆ
วันเวลาผ่านไปก็ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น จนกระทั่งวันหนึ่ง นายเจริญ พี่ชายของหมอชลอในชาติปัจจุบัน ได้เดินทางจากบ้านที่อยุธยามาหาหมอชลอ ชักชวนให้ไปค้าไม้ไผ่ที่กาญจนบุรี เพราะเป็นสินค้าส่งออกที่ต่างประเทศต้องการมาก ลงทุนน้อย ได้กำไรงาม
หมอชลอเห็นช่องทางว่าจะร่ำรวยขึ้นมาได้ จึงนำเรื่องนี้มาปรึกษาหลวงพ่อจรัญว่าควรจะไปค้าไม้ไผ่ที่กาญจนบุรีดีหรือไม่ หลวงพ่อก็ถามว่า ที่จะไปตั้งหลักแหล่งค้าไม้ไผ่นั้นอยู่ที่ตำบลอำเภออะไร เมื่อทราบว่าเป็นบ้านม่องล่าย ก็สะดุ้งใจ เพราะจำได้ว่าหมู่บ้านม่องล่ายเกี่ยวข้องกับกรรมของหมอชลอในอดีตชาติที่ไปปล้นฆ่าเจ้าทรัพย์แม่ลูกอ่อน
หลวงพ่อตรองดูด้วยความสลดสังเวช แต่จะห้ามปรามก็คงไม่สำเร็จ เพราะหมอชลอหายใจเข้าออกเป็นการค้าไม้ไผ่ คงเป็นเวรกรรมแต่หนหลังที่ชักนำให้ไป จึงได้แต่แนะนำให้หมอชลอไตร่ตรองให้รอบคอบ และหากจะไปก็แนะนำให้ไปโดยลำพังก่อน ค่อยอพยพครอบครัวตามไปภายหลังเพื่อความปลอดภัย
ต่อมาหมอชลอกับพี่ชายก็ออกเดินทางไปบ้านม่องล่าย กาญจนบุรี หลวงพ่อจรัญได้แต่เป็นห่วง คอยสดับตรับฟังข่าวคราวของหมอชลออยู่เสมอ พร้อมกับนึกภาวนาให้หมอชลอหมั่นเจริญสมาธิ สร้างกุศลบารมี เพื่อช่วยผ่อนกรรมหนักให้เป็นเบา
หนึ่งปีผ่านไป หมอชลอกลับมาหาหลวงพ่อจรัญที่วัด บอกว่ากิจการค้าไม้ไผ่เจริญก้าวหน้าดี เห็นทีจะร่ำรวยใหญ่ ตั้งใจจะกลับมารับเอาครอบครัวไปอยู่ด้วยกัน เพื่อที่จะทำมาหากินโดยไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง หลวงพ่อจรัญพิจารณาดูแล้วเห็นว่าคงเป็นไปตามเคราะห์กรรมบันดาล เมื่อมองไม่เห็นทางที่จะห้ามปรามได้ จึงได้แต่เตือนไม่ให้ประมาท ให้พยายามรักษาศีลและเจริญวิปัสสนาภาวนา แผ่เมตตาให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จะช่วยปกป้องคุ้มครองให้รอดพ้นจากผองภัยทั้งปวงได้ หมอชลอก้มลงกราบรับคำตักเตือนของหลวงพ่อแล้วลากลับไป
หมอชลอได้อพยพครอบครัวไปอยู่หมู่บ้านม่องล่ายที่กาญจนบุรี มีหลานสองคนติดตามไปด้วย เวลาผ่านไป กิจการค้าไม้ไผ่เจริญรุ่งเรืองร่ำรวยขึ้นทุกปี ชีวิตประสบความสำเร็จ มีความสุขดีน่าปลื้มใจ จนกระทั่งถึงปีที่ห้า ญาติพี่น้องที่ไปเยี่ยมเยียนหมอชลอที่ป่าเมืองกาญจนบุรี ได้นำความมาเล่าให้หลวงพ่อจรัญฟังว่า ได้เกิดเหตุร้ายขึ้นกับครอบครัวของหมอชลอ หลวงพ่อใจหายวูบขึ้นทันทีเพราะสังหรณ์ใจถึงเรื่องวิบากกรรมเก่าที่หมอชลอได้ทำไว้
ในวันที่เกิดเหตุร้าย หมอชลอพร้อมด้วยนางทองใบ ภรรยาและลูก เดินทางไปซื้อของที่ตลาดที่ตัวเมืองกาญจนบุรี เมื่อกลับมา ก็ทราบว่า โจรได้เข้าปล้นบ้านและยิงพี่ชายหมอชลอตาย ทรัพย์สินเงินทองก็ถูกปล้นเก็บกวาดไปไม่มีเหลือ
เมื่อไปแจ้งความ กว่าเจ้าหน้าที่บ้านเมืองจะมาถึงที่เกิดเหตุก็ใช้เวลาหลายวัน ศพพี่ชายขึ้นอืดน่าสังเวช ต่อมาไม่นาน ฝ่ายขัดผลประโยชน์ได้ส่งนักเลงอันธพาลมาขู่หมอชลอให้หยุดตัดไม้ไผ่และอพยพออกไป ไม่เช่นนั้นจะถูกฆ่าตายอย่างพี่ชาย หมอชลอเพิ่งจะสูญเสียพี่ชายและทรัพย์สินถูกปล้น เมื่อถูกข่มขู่ ก็เกิดความเคียดแค้น ไม่ยอมอพยพตามคำขู่ แต่จะปักหลักสู้ตายแม้จะรู้ว่าเสียเปรียบเพราะไม่มีพรรคพวก
หมอชลอซ้อมยิงปืนอย่างเอาเป็นเอาตาย ทั้งจัดสร้างเครื่องกีดขวางอย่างรัดกุมไว้ทั่วบ้าน จิตใจเข้มแข็งห้าวหาญด้วยอำนาจความโกรธ ความแค้น ความพยาบาท การกระทำของหมอชลออยู่ในสายตาของศัตรูที่แอบสืบดูความเคลื่อนไหวอยู่ทุกระยะ ฝ่ายศัตรูจึงเตรียมการที่จะจัดการกับหมอชลออย่างแยบยลไม่ให้พลาด
วันที่เกิดเหตุร้าย ห่างจากวันที่พี่ชายของหมอชลอถูกโจรปล้นฆ่าตายประมาณ 15 วัน เป็นเวลาเที่ยงวัน มีเรือหางยาวลำใหญ่ลำหนึ่ง แล่นมาจอดที่ท่าน้ำหน้าบ้านหมอชลอ แล้วคนในเรือก็ตะโกนเรียกหมอชลอให้ออกไปพบ เมื่อนางทองใบภรรยาลงไปดูที่ท่าน้ำ เห็นชายฉกรรจ์แต่งชุดคล้ายตำรวจ อาวุธครบมือ ประมาณ 15 คนนั่งอยู่ในเรือ ชายในเครื่องแบบคนหนึ่งถามนางทองใบว่าหมอชลออยู่หรือไม่ มีเรื่องสำคัญ ให้ลงมาพบด่วนที่ท่าน้ำ
หมอชลอนึกว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจมาสอบสวนเรื่องการตายของพี่ชาย ก็ลงไปที่ท่าน้ำโดยไม่เฉลียวใจ ส่วนนางทองใบยืนอยู่บนตลิ่ง พอพูดจาได้สักครู่ กำลังจะหันหลังเดินกลับ ชายในเครื่องแบบคนหนึ่งก็ยกปืนขึ้นจ่อยิงท้ายทอยของหมอชลอ ขาดใจตายในทันที ร่างหล่นลงในแม่น้ำ ฝ่ายนางทองใบเห็นสามีถูกยิงตายต่อหน้าต่อตา ก็หวีดร้องเป็นลมล้มสลบไป ตามบันทึกของเจ้าหน้าที่อำเภอศรีสวัสดิ์ ระบุว่าวันที่หมอชลอถูกยิงตาย เป็นวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2504
หลังจากสังหารหมอชลอแล้ว พวกเหล่าร้ายที่ปลอมตัวมาในเครื่องแบบเจ้าหน้าที่ก็รีบหลบหนีไป เมื่อนางทองใบฟื้นคืนสติ ก็ร้องห่มร้องไห้เหมือนคนเสียขวัญอย่างหนัก พอตั้งสติได้ ด้วยความหวาดกลัวต่อภัยอันตรายที่คุกคาม ก็รีบทำพิธีเผาศพสามีและพี่ชายหมอชลอด้วยการเผาแบบง่าย ๆ ที่ลานบ้าน แล้วเก็บกระดูกสามีและพี่ชายห่อด้วยผ้าขาว พร้อมทั้งเก็บทรัพย์สินมีค่าที่จำเป็นพอจะเอาไปได้ แล้วพาลูกหลานลงแพ รีบล่องออกจากแดนป่าเถื่อนอันตรายเพื่อกลับสิงห์บุรีบ้านเกิดเมืองนอน
แต่เวรกรรมยังไม่หมด พอแพออกจากท่าหมู่บ้านม่องล่ายได้ไม่ไกล น้ำเชี่ยว แพถูกกระแสน้ำพัดกระแทกหินใต้น้ำ แพแตก ข้าวของเงินทองที่นำติดตัวมาจมน้ำเสียหายหมด ในเวลานั้น ลูกของหมอชลอซึ่งยังเล็กอยู่ ก็มีอันต้องจมน้ำตายไปอีกคน กรรมที่ตามมาจากอดีตชาติเริ่มส่งผลให้เห็นแล้ว เริ่มจากพี่ชายของหมอชลอ ต่อมาคือหมอชลอ และตามมาด้วยลูกของหมอชลอ
กว่านางทองใบและหลานจะกลับถึงภูมิลำเนาที่อำเภอพรหมบุรี ก็ทุลักทุเล เดือดร้อนอย่างแสนสาหัส พวกญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านได้มาเยี่ยมเยียนถามข่าว และกำหนดวันทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ตาย หลวงพ่อจรัญได้ไปเทศน์ก่อนวันงานสองวัน กัณฑ์เทศน์ในครั้งนั้น หลวงพ่อจรัญท่านเทศน์เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด วิบากกรรมในอดีตที่เราท่านได้สร้างไว้ ย่อมติดตามมาสนองในชาติปัจจุบันได้โดยไม่ต้องสงสัย การที่คนเราประสบเคราะห์กรรมใด ๆ ก็ตาม ไม่ใช่เพราะสาเหตุที่ตนทำในชาตินี้เท่านั้น แต่มีกรรมในอดีตชาติมาร่วมสมทบด้วยเสมอ
การทำบุญกระดูกหมอชลอและพี่ชายเพื่ออุทิศส่วนกุศลตามประเพณีผ่านไปได้ไม่ถึงเดือน เหตุเศร้าสลดก็อุบัติขึ้นอีก วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2504 มีญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านที่สนิทสนมคุ้นเคยไปเยี่ยมนางทองใบและซักถามถึงเหตุการตายของหมอชลอกับพี่ชาย ฝ่ายนางทองใบถูกถามเป็นการรื้อฟื้น ก็รำลึกถึงสามีและลูก เกิดความอาลัยรัก ความเศร้าโศกเสียใจก็กระพือโหมกลับขึ้นมาอีก ร้องไห้คร่ำครวญโหยหวนเหมือนคนบ้า จนเป็นลมล้มสลบไปถึงสองครั้ง นางทองใบเสียใจขนาดหนัก ไม่สามารถระงับความเศร้าโศกอันใหญ่หลวงไว้ได้ หัวใจวายถึงแก่ความตายเพราะความเศร้าโศกเสียใจอย่างรุนแรง
ในเวลาต่อมา เจ้าหน้าที่ตำรวจก็สืบทราบว่า คดีปล้นฆ่าหมอชลอและพี่ชายเป็นฝีมือของก๊กเสือสวัสดิ์ อุดม และเสียปีย์ ปิยะพันธ์ ซึ่งมีคดีปล้นฆ่าหลายท้องที่ มีลูกน้องบริวารร้ายหลายสิบคน จึงยกกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าล้อมปราบ เสือสวัสดิ์ อุดม หัวหน้าใหญ่ และเสือปีย์ ปิยะพันธ์ รองหัวหน้า ทะนงตัวว่าอยู่ยงคงกระพัน ขัดขืนการจับกุม จึงถูกยิงตายในที่สุด
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นความจริงอย่างยิ่ง เรื่องราวของหมอชลอนี้ เป็นตัวอย่างของผู้ที่สร้างกรรมชั่วอย่างหนักไว้ในอดีตชาติ กรรมชั่วย่อมติดตามผู้กระทำเหมือนเงาตามตัว คอยรบกวนจิตใจให้กังวลอยู่เสมอ และให้ผลเมื่อสุกงอมเต็มที่ แม้ว่าในชาติปัจจุบันจะได้พยายามสร้างกรรมดี แต่หากกรรมชั่วในอดีตนั้นหนักและแรงเกินกว่ากรรมดีที่กำลังปฏิบัติในชาตินี้ ก็ยากที่จะหลบหนีให้พ้นไปได้ ต้องชดใช้กรรมที่ตนได้กระทำไว้ หากยังไม่มีโอกาสให้ผลแก่ผู้กระทำโดยตรง เพราะกรรมดีคอยแวดล้อมอยู่ ก็จะให้ผลแก่ครอบครัว เพื่อก่อความสะเทือนใจแก่บุคคลนั้น ส่วนบุญที่ได้กระทำไว้ย่อมไม่สูญหายไปไหน จะตามมาให้ผลในภายหลังหรือชาติต่อ ๆ ไป เมื่อได้ชดใช้หนี้อกุศลกรรมไปหมดแล้ว
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก |
พระนิพนธ์เรื่อง "ชีวิตนี้น้อยนัก" ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงอธิบายว่า
"..ทุกคนมีผลของกรรมดีและกรรมไม่ดีติดตามมา เป็นผลของเหตุที่ได้ทำกันไว้ในอดีตชาติที่สลับซับซ้อนนับไม่ได้ ลองนึกถึงภาพของรถบรรทุกขนาดใหญ่กำลังแล่นไล่ทับเราอยู่ ขณะเดียวกันก็มีรถบรรทุกแก้วแหวนเงินทองคันใหญ่กำลังแล่นตามเพื่อจะยกแก้วแหวนเงินทองเหล่านั้นให้เราด้วย รถทั้งสองคันนั้นกำลังขับแซงกันอย่างรวดเร็ว ผลัดกันนำ ผลัดกันตาม นึกภาพนี้แล้วก็นึกถึงใจตนเอง ว่ายังมีใจที่จะต้องการแก้วแหวนเงินทองหรือ ยังมีใจอยากได้อะไรอีกหรือ ในเมื่อรถล่าชีวิตกำลังขับตะบึงติดตามมาอย่างมุ่งมาดปรารถนาตัวเราเป็นเป้าหมาย
กรรมไม่ดีกำลังตามส่งผลแก่เราทุกคนแน่นอน เปรียบผลไม่ดีนั้นดั่งรถบรรทุกที่กำลังตะบึงไล่กวดเราอยู่ จริง ๆ ที่ยังไม่ทันบดขยี้เราก็เพราะกรรมปัจจุบันของเราที่กำลังกระทำกันอยู่อาจจะมีแรงพาหนีได้ทัน จะอย่างหวุดหวิดน่าเสียวไส้เพียงไร เราผู้ไม่มีตาพิเศษก็หารู้ไม่ กรรมดีเท่านั้นที่เป็นแรงพาเราวิ่งหนีกรรมไม่ดีที่กำลังส่งผลติดตามเราอยู่ในขณะนี้.."
"..อดีตชาติของทุกคนมีมากมายนัก จึงได้ทำกรรมกันไว้มากมายนัก กุศลกรรมบ้าง อกุศลกรรมบ้าง ชีวิตในปัจจุบันจึงมีดีบ้าง ไม่ดีบ้าง สุขบ้าง ทุกข์บ้าง คนมั่งมีเป็นมหาเศรษฐีก็ด้วยอำนาจของกุศลกรรม คือการบริจาคช่วยเหลือเจือจุนผู้อื่นที่ได้กระทำไว้ในอดีตชาติ เมื่ออกุศลกรรมคือการคดโกงเบียดเบียนทรัพย์สินให้ผู้อื่นต้องเดือดร้อนที่ได้กระทำไว้ในอดีตชาติตามมาส่งผล และเมื่อเป็นผลที่แรงกว่า มีกำลังกว่ากุศลกรรมที่กำลังเสวยผลอยู่ อกุศลกรรมก็จะตัดรอนกุศลกรรม ส่งผลไม่ดีของอกุศลกรรมให้เกิดแทน ความมั่งมีก็จะกลับเป็นความไม่มี เงินทองของมีค่าก็จะสูญหายหมดไป อกุศลกรรมแรงมากก็จะสามารถทำให้มหาเศรษฐีสิ้นเนื้อประดาตัวได้ กำลังเป็นสุขก็จะกลับเป็นทุกข์เดือดร้อน อำนาจของกรรมเป็นเช่นนี้จริง ผู้มีปัญญาจึงกลัวกรรมยิ่งกว่ากลัวอะไรอื่น กลัวเพราะรู้ว่าเมื่อทำกรรมไม่ดีไว้แล้วต้องได้รับผลไม่ดี และเมื่อถึงเวลาที่กรรมส่งผลไม่ดีมาถึงตัวแล้ว แม้ตั้งแต่เกิดมาในชาตินี้จะไม่เคยทำกรรมไม่ดีเช่นนั้น ก็จะต้องได้รับผลไม่ดี ที่อาจทำให้พิศวงสงสัย จนถึงมากคนมิจฉาทิฏฐิความเห็นผิด คือเห็นไปว่าทำดีไม่ได้ดี ซึ่งความจริงไม่ใช่เช่นนั้น ทำดีต้องได้รับผลดีเสมอ ทำไม่ดีจึงจะได้รับผลไม่ดี.."
เรื่องสุดท้ายที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังต่อไปนี้ คุณ ท.เลียงพิบูลย์ เป็นผู้บันทึกไว้ และพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือกฎแห่งกรรม ให้ชื่อเรื่องว่า "วิญญาณที่รอคอย" ...
... ประมาณเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2497 ที่วัดแห่งหนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี มีงานบุญทอดกฐิน เป็นกฐินพระราชทาน ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และผู้น้อย เดินทางไปร่วมงานบุญเป็นจำนวนมาก
คืนก่อนวันทอดกฐิน ทางคณะกรรมการกฐินได้จัดการละเล่นเพื่อฉลององค์กฐิน มีชาวบ้านอุ้มลูกจูงหลานมาชมการแสดงมากมาย ที่แสดงได้เด่นในคืนนั้นคือการแสดงลิเก เป็นที่ยกย่องชมเชยว่าแสดงได้ดีเท่าหรืออาจจะดีกว่าลิเกอาชีพบางคณะเสียอีกทั้ง ๆ ที่เป็นนักแสดงสมัครเล่น
ในวันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันทอดกฐิน ทางคณะกรรมการกฐินได้ให้เกียรติแก่นางเอกลิเกเป็นผู้อุ้มผ้าไตรครององค์กฐินเดินแห่รอบโบสถ์ แต่เมื่อขบวนเดินยังไม่ครบ 3 รอบ หญิงสาวผู้เป็นนางเอกลิเกก็รู้สึกวิงเวียนศีรษะ คล้ายจะเป็นลม จึงรีบมอบไตรครององค์กฐินให้ผู้อื่นอุ้มแทนเพื่อแห่รอบโบสถ์ต่อไป ส่วนตัวหญิงสาวผู้นั้นก็ออกมานั่งพักอยู่ภายนอกบริเวณใต้ต้นลำไย
เมื่อเข้าไปพักใต้ต้นลำไย ทันใดนั้น ก็กรีดร้องอย่างสุดเสียงคล้ายกับตกใจกลัวอย่างหนัก และฟุบสลบลงตรงที่นั้น เพื่อน ๆ ได้ยินเข้า ต่างก็วิ่งเข้าไปช่วยแก้ไขตามมีตามเกิด เมื่อหญิงสาวรู้สึกตัวฟื้นขึ้นมา กิริยาท่าทางก็เปลี่ยนไป กลับแสดงกิริยาดุร้ายขึงขัง ออกท่าทางอาละวาด เพื่อนข้าราชการชายเข้าไปช่วยจับเพื่อให้อยู่ในความสงบ ก็ไม่สามารถจะทานแรงได้ ต้องช่วยกันจับหลายคน พิธีทอดกฐินยังไม่ได้เริ่ม เพราะผู้คนต่างตกตะลึง หันมาสนใจหญิงสาวผู้นี้
ทันใดนั้น หญิงสาวก็พูดออกมาด้วยน้ำเสียงห้าว ๆ ว่า "กูคอยมึงมานานตั้ง 37 ปีแล้ว เพื่อจะได้มีโอกาสวันนี้ จะได้แก้แค้นกินเลือดมึงให้ได้ กูแค้นใจนัก"
แต่แล้วก็มีเสียงผู้หญิงพูดขึ้นในคนเดียวกันว่า "อย่าตามมาจองเวรจองกรรมเลย ไปสู่ที่ชอบเถิด"
แล้วก็เป็นเสียงผู้ชายในคนเดียวกันพูดอย่างโกรธแค้นว่า "มึงทำกับกู มึงไม่คิดเลย ขาดความเมตตาสงสาร ทำให้กูยังไม่ได้ไปผุดไปเกิด เพราะยังไม่ได้แก้แค้นกินเลือดของมึง"
แล้วก็เป็นเสียงผู้หญิงพูดเสียงสั่นด้วยความกลัวว่า "อย่าเอาชีวิตฉันเลย ฉันกลัวแล้ว อโหสิกรรมให้ฉันเถิด ฉันกลัวแล้ว"
เสียงผู้ชายพูดว่า "ไม่ได้ กูไม่ยอมอโหสิกรรมให้แก่มึงเป็นอันขาด ถึงเวลาของกูแล้ว"
ทันใดนั้น มีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ได้เข้าไปพูดขอร้องกับวิญญาณที่สิงร่างของหญิงสาวว่า "เราเป็นอะไร จึงได้มาสิงในร่างของผู้ที่กำลังจะสร้างบุญกุศลในงานทอดกฐินครั้งนี้"
เสียงผู้ชายในร่างของหญิงสาวพูดว่า "ข้ามีความแค้น เพราะความอาฆาตผู้หญิงคนนี้มาแต่ชาติก่อน เพราะหญิงคนนี้ เมื่อชาติก่อนมันเกิดเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์สินเงินทองไร่นาสาโทมากมาย เป็นคนมีอิทธิพลมาก ข้าทำผิดหนีมาถึงวัดนี้ แต่มันได้ให้คนติดตามมาตัดแขนของข้าทั้งสองข้างแค่ข้อศอก ทำให้ข้าแค้นใจ ก่อนข้าจะตายจึงอธิษฐานว่า ข้าจะขอแก้แค้นดื่มเลือดให้สมกับความแค้นให้จงได้"
แต่แล้วเสียงหญิงสาวพูดขึ้นว่า "ไม่จริง ฉันไม่ได้สั่งให้ไปฆ่าไปแกงตัดตีนตัดมือ ฉันสั่งให้ไปจับตัวมา อย่าให้หนี เพราะแกเป็นบ่าวมีความผิด"
เสียงวิญญาณเข้าสิงหัวเราะก้อง คำรามอย่างน่ากลัวว่า "ถ้ามึงไม่สั่ง อ้ายพวกไพร่ขี้ข้ามันจะมาทำกับกูถึงขนาดนี้เชียวหรือ ตัดแขนทั้งสองข้าง มึงอย่ามาแก้ตัว ถึงอย่างไรมึงก็ไม่พ้นเงื้อมมือกูไปได้ ถึงมึงจะสั่งหรือไม่สั่ง มึงเป็นนาย อ้ายพวกนั้นเป็นบ่าว เป็นขี้ข้า มึงก็ต้องรับผิดชอบวันยังค่ำ บัดนี้ มึงจนมุมแล้วสิ ถึงพยายามแก้ตัว มึงอย่าหวังว่าจะมีใครมาช่วยมึงให้พ้นเงื้อมมือกูได้"
แม้จะมีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ได้ขอร้อง ขอให้พักการแก้แค้นไว้ก่อน ขอเวลาให้หญิงสาวได้มีโอกาสสร้างความดี ทอดกฐินให้เสร็จเรียบร้อย แล้วค่อยมาเจรจาใหม่ วิญญาณอาฆาตนั้นก็ไม่ยอม
ความทราบถึงเจ้าอาวาส ท่านรีบตรงไปที่ต้นลำไยข้างโบสถ์ พวกที่ห้อมล้อมหญิงสาวอยู่ เมื่อเห็นท่านสมภารต่างก็ดีใจเปิดทางให้ท่านเข้าไปใกล้ พอที่จะพูดคุยโต้ตอบกับร่างหญิงสาวที่ถูกผีสิง
น่าแปลกคือ ร่างที่วิญญาณเข้าสิงอยู่นั้น ได้ก้มลงกราบท่านสมภารด้วยความเคารพ แล้วถามว่า "ท่านเป็นชีบานาสงฆ์ จะมาจับผมถ่วงน้ำหรือ"
ท่านสมภารยิ้มอย่างใจดี แล้วพูดว่า "อาตมาเป็นสาวกพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีจิตใจเหี้ยมโหดดุร้ายที่จะไปเที่ยวจับวิญญาณใดถ่วงน้ำหรอก อาตมามีศีลทำเช่นนั้นไม่ได้ มีแต่ความเมตตา อยากให้สัตว์โลกทั้งหลายอยู่กันด้วยความสงบสุข"
เสียงวิญญาณในร่างหญิงสาวหัวเราะแล้วพูดว่า "ผมเคารพนับถือหลวงพ่อ แต่จะให้ผมอโหสิกรรมผู้หญิงคนนี้ ผมยอมไม่ได้ ผมได้พยายามเฝ้ารอคอยมาช้านานแล้ว จะต้องขอดื่มเลือดของมันให้ได้ จึงจะหายแค้น ขอหลวงพ่ออย่าได้มายุ่ง"
ท่านสมภารไม่ได้โกรธ แต่ได้ต่อรองว่า ขอให้พักการอาฆาตไว้ชั่วคราวก่อนเพื่อให้สีกาผู้นี้ได้ทำบุญสร้างกุศล ภายหลังจะตกลงกันอย่างไร ก็ขอให้งานกฐินเสร็จเรียบร้อย วิญญาณที่สิงร่างอยู่นิ่งไปครู่ใหญ่ แล้วก็ตอบตกลง โดยขอให้เอาเลือดผู้หญิงนี้ทาใบลำไยสามใบ แล้วเหน็บไว้ที่คบไม้บนต้นลำไย วิญญาณบอกต่อไปว่า หญิงสาวผู้นี้ เหนือเข่าซ้ายจะมีปานขาวเป็นรูปหัวใจ หากเอาเข็มแทงลงกลางใจปานขาว แล้วเอาเลือดทาที่ลำใย วิญญาณก็จะออกจากร่าง แต่ยังไม่ยอมอโหสิกรรมให้
เพื่อนข้าราชการหญิงก็รีบจัดการตามที่วิญญาณต้องการ จากนั้น วิญญาณที่สิงอยู่ก็ออกไป หญิงสาวกลับฟื้นคืนความรู้สึก เมื่อทราบว่ามีวิญญาณในอดีตชาติตามอาฆาตพยาบาท ก็ไม่สบายใจ เมื่อเข้าไปในโบสถ์ถวายผ้าองค์กฐินร่วมกับเพื่อนข้าราชการ ก็ตั้งจิตแน่วแน่อธิษฐานอุทิศส่วนกุศลให้กับวิญญาณอาฆาตนั้น เมื่อทอดกฐินเสร็จ ก็พากันเดินทางกลับ ก่อนกลับ ท่านสมภารให้ข้อคิดเตือนใจว่า "จงสร้างความดีเพื่อชนะความชั่ว จะได้สุดสิ้นการจองเวร"
เมื่อหญิงสาวกลับถึงบ้าน ก็รู้ตัวว่าวิญญาณได้ติดตามมาอยู่ในเขตบ้านตลอดเวลา บางครั้งได้ยินเสียงสุนัขพากันเห่าหอนอย่างโหยหวน บางครั้งเห็นชายแขนด้วนเดินอยู่ในบริเวณบ้าน แม้ระยะหลัง วิญญาณจะมิได้แสดงกิริยาดุร้าย แต่เมื่อรู้ว่ายังมีวิญญาณคอยติดตามอยู่ ก็ทำให้หวาดกลัวและทรมานจิตใจ จะเชิญผู้มีอาคมขลังมาขับไล่ก็จะเป็นเวรกรรมกันต่อไปอีกไม่สิ้นสุด จึงพยายามทำความดีทุกอย่างเท่าที่จะทำได้ เช่น ถวายสังฆทาน บวชคนให้เป็นพระ ทำบุญให้ทาน แล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้ทุกครั้ง ซึ่งเป็นทางเดียวที่จะทำให้วิญญาณคลายความพยาบาทลงได้
คืนหนึ่ง จวนจะรุ่งสาง หญิงสาวฝันว่า ชายแขนด้วนได้เดินเข้ามาหาหญิงสาวซึ่งนอนอยู่บนเตียง มิได้แสดงกิริยาดุร้าย แต่กลับยิ้มแย้มแจ่มใส พูดว่า
"เอาล่ะ คราวนี้ฉันเชื่อแล้วว่า เธอไม่ได้จงใจสั่งให้พวกบ่าวไพร่มาทำร้ายตัดแขนฉัน นับตั้งแต่ฉันได้กินเลือดจากใบลำไยแล้ว คำอธิษฐานจองร้ายของฉันก็สิ้นสุดลง และทั้งเธอก็อดทนใจเย็น พยายามสร้างกุศลอุทิศให้ฉันมากมาย บัดนี้ แขนฉันได้ต่อติดอย่างเดิมแล้ว นับแต่นี้ไป เราสิ้นเวรหมดกรรมกัน ฉันขอขอบใจเธอที่อดทนทำความดีชนะได้ ขอให้เธอมีความสุข ฉันขอลาเธอเพื่อจะไปผุดไปเกิดในโลกมนุษย์ต่อไป"
ในฝัน หญิงสาวมองเห็นแขนสองข้างของชายผู้นั้นงอกเป็นมือปรกติอย่างน่าอัศจรรย์ แล้วภาพชายผู้นั้นก็โปร่งแสง หายไปต่อหน้าทันที เมื่อหญิงสาวตื่นขึ้น เป็นวันแรกที่มีจิตใจผ่องใสสดชื่นกว่าทุกวัน เพราะรู้ว่าได้หลุดพ้นจากวิญญาณพยาบาทของชายแขนด้วน ภายในบ้านเข้าสู่ความปรกติสุขอีกครั้งหนึ่ง ไม่ต้องคอยหวาดกลัววิญญาณพยาบาทซึ่งเป็นสิ่งลี้ลับมองไม่เห็น ด้วยอำนาจของกุศลกรรมและเมตตาจิตที่แผ่ไปถึงวิญญาณอาฆาตทุกคืนทุกวัน ที่สุดความดีมีศีลธรรมก็ชนะ ความพยาบาทอาฆาตก็ได้จบลงด้วยการอโหสิกรรม
เรื่องเจ้ากรรมนายเวรนี้ ผู้มีความเห็นชอบประกอบด้วยสัมมาปัญญา ย่อมไม่ประมาทว่าเป็นสิ่งที่ไม่มี และไม่เห็นเป็นเรื่องเหลวไหล ไม่มีเหตุผล
ทุกคนต่างก็มีภพชาติมานับไม่ถ้วนในอดีต ต่างก็ทำกรรมทั้งดีและไม่ดีไว้นับไม่ถ้วนในภพชาติทั้งหลายนั้น เจ้ากรรมนายเวรที่ได้เคยไปล่วงเกิน เบียดเบียนทำร้ายไว้ก็ย่อมมีไม่น้อย เช่นเดียวกับผู้มีพระคุณก็มีไม่น้อยเช่นกัน ชาตินี้แม้ไม่อาจจะล่วงรู้ได้ว่าเป็นใครต่อใครบ้าง แต่ก็พึงยอมรับว่ามีอยู่ ทั้งในภพภูมิที่พ้นความรู้เห็นของผู้ไม่มีความสามารถ และทั้งที่อยู่ในภพภูมิเดียวกันกับเราทั้งหลายนี้
พระท่านจึงสอนว่า เมื่อจะขอโทษท่านผู้เป็นเจ้ากรรมนายเวร ก็พึงทำเช่นเดียวกับเมื่อจะตอบแทนท่านผู้มีพระคุณ คือทำบุญทำกุศลด้วยความตั้งใจจริงที่จะอุทิศให้ แม้ว่าจะอยู่ต่างภพภูมิกัน ให้ด้วยสำนึกในความผิดพลาดที่ตนอาจได้กระทำแล้วต่อใคร ๆ และให้ด้วยสำนึกในพระคุณที่ได้รับจากผู้มีพระคุณทั้งหลาย
อ้างอิง - หลักกรรมในพระพุทธศาสนา, สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ
- กฎแห่งกรรม, หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี
- กฎแห่งกรรม, คุณ ท. เลียงพิบูลย์
- ประสบการณ์ทางวิญญาณ, อาจารย์ทองทิว สุวรรณทัต
- โอวาทสี่ของท่านเหลี่ยวฝาน, ถอดความโดยอาจารย์เจือจันทน์ อัชพรรณ
"..ทุกคนมีผลของกรรมดีและกรรมไม่ดีติดตามมา เป็นผลของเหตุที่ได้ทำกันไว้ในอดีตชาติที่สลับซับซ้อนนับไม่ได้ ลองนึกถึงภาพของรถบรรทุกขนาดใหญ่กำลังแล่นไล่ทับเราอยู่ ขณะเดียวกันก็มีรถบรรทุกแก้วแหวนเงินทองคันใหญ่กำลังแล่นตามเพื่อจะยกแก้วแหวนเงินทองเหล่านั้นให้เราด้วย รถทั้งสองคันนั้นกำลังขับแซงกันอย่างรวดเร็ว ผลัดกันนำ ผลัดกันตาม นึกภาพนี้แล้วก็นึกถึงใจตนเอง ว่ายังมีใจที่จะต้องการแก้วแหวนเงินทองหรือ ยังมีใจอยากได้อะไรอีกหรือ ในเมื่อรถล่าชีวิตกำลังขับตะบึงติดตามมาอย่างมุ่งมาดปรารถนาตัวเราเป็นเป้าหมาย
กรรมไม่ดีกำลังตามส่งผลแก่เราทุกคนแน่นอน เปรียบผลไม่ดีนั้นดั่งรถบรรทุกที่กำลังตะบึงไล่กวดเราอยู่ จริง ๆ ที่ยังไม่ทันบดขยี้เราก็เพราะกรรมปัจจุบันของเราที่กำลังกระทำกันอยู่อาจจะมีแรงพาหนีได้ทัน จะอย่างหวุดหวิดน่าเสียวไส้เพียงไร เราผู้ไม่มีตาพิเศษก็หารู้ไม่ กรรมดีเท่านั้นที่เป็นแรงพาเราวิ่งหนีกรรมไม่ดีที่กำลังส่งผลติดตามเราอยู่ในขณะนี้.."
"..อดีตชาติของทุกคนมีมากมายนัก จึงได้ทำกรรมกันไว้มากมายนัก กุศลกรรมบ้าง อกุศลกรรมบ้าง ชีวิตในปัจจุบันจึงมีดีบ้าง ไม่ดีบ้าง สุขบ้าง ทุกข์บ้าง คนมั่งมีเป็นมหาเศรษฐีก็ด้วยอำนาจของกุศลกรรม คือการบริจาคช่วยเหลือเจือจุนผู้อื่นที่ได้กระทำไว้ในอดีตชาติ เมื่ออกุศลกรรมคือการคดโกงเบียดเบียนทรัพย์สินให้ผู้อื่นต้องเดือดร้อนที่ได้กระทำไว้ในอดีตชาติตามมาส่งผล และเมื่อเป็นผลที่แรงกว่า มีกำลังกว่ากุศลกรรมที่กำลังเสวยผลอยู่ อกุศลกรรมก็จะตัดรอนกุศลกรรม ส่งผลไม่ดีของอกุศลกรรมให้เกิดแทน ความมั่งมีก็จะกลับเป็นความไม่มี เงินทองของมีค่าก็จะสูญหายหมดไป อกุศลกรรมแรงมากก็จะสามารถทำให้มหาเศรษฐีสิ้นเนื้อประดาตัวได้ กำลังเป็นสุขก็จะกลับเป็นทุกข์เดือดร้อน อำนาจของกรรมเป็นเช่นนี้จริง ผู้มีปัญญาจึงกลัวกรรมยิ่งกว่ากลัวอะไรอื่น กลัวเพราะรู้ว่าเมื่อทำกรรมไม่ดีไว้แล้วต้องได้รับผลไม่ดี และเมื่อถึงเวลาที่กรรมส่งผลไม่ดีมาถึงตัวแล้ว แม้ตั้งแต่เกิดมาในชาตินี้จะไม่เคยทำกรรมไม่ดีเช่นนั้น ก็จะต้องได้รับผลไม่ดี ที่อาจทำให้พิศวงสงสัย จนถึงมากคนมิจฉาทิฏฐิความเห็นผิด คือเห็นไปว่าทำดีไม่ได้ดี ซึ่งความจริงไม่ใช่เช่นนั้น ทำดีต้องได้รับผลดีเสมอ ทำไม่ดีจึงจะได้รับผลไม่ดี.."
เรื่องสุดท้ายที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังต่อไปนี้ คุณ ท.เลียงพิบูลย์ เป็นผู้บันทึกไว้ และพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือกฎแห่งกรรม ให้ชื่อเรื่องว่า "วิญญาณที่รอคอย" ...
... ประมาณเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2497 ที่วัดแห่งหนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี มีงานบุญทอดกฐิน เป็นกฐินพระราชทาน ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และผู้น้อย เดินทางไปร่วมงานบุญเป็นจำนวนมาก
คืนก่อนวันทอดกฐิน ทางคณะกรรมการกฐินได้จัดการละเล่นเพื่อฉลององค์กฐิน มีชาวบ้านอุ้มลูกจูงหลานมาชมการแสดงมากมาย ที่แสดงได้เด่นในคืนนั้นคือการแสดงลิเก เป็นที่ยกย่องชมเชยว่าแสดงได้ดีเท่าหรืออาจจะดีกว่าลิเกอาชีพบางคณะเสียอีกทั้ง ๆ ที่เป็นนักแสดงสมัครเล่น
ในวันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันทอดกฐิน ทางคณะกรรมการกฐินได้ให้เกียรติแก่นางเอกลิเกเป็นผู้อุ้มผ้าไตรครององค์กฐินเดินแห่รอบโบสถ์ แต่เมื่อขบวนเดินยังไม่ครบ 3 รอบ หญิงสาวผู้เป็นนางเอกลิเกก็รู้สึกวิงเวียนศีรษะ คล้ายจะเป็นลม จึงรีบมอบไตรครององค์กฐินให้ผู้อื่นอุ้มแทนเพื่อแห่รอบโบสถ์ต่อไป ส่วนตัวหญิงสาวผู้นั้นก็ออกมานั่งพักอยู่ภายนอกบริเวณใต้ต้นลำไย
เมื่อเข้าไปพักใต้ต้นลำไย ทันใดนั้น ก็กรีดร้องอย่างสุดเสียงคล้ายกับตกใจกลัวอย่างหนัก และฟุบสลบลงตรงที่นั้น เพื่อน ๆ ได้ยินเข้า ต่างก็วิ่งเข้าไปช่วยแก้ไขตามมีตามเกิด เมื่อหญิงสาวรู้สึกตัวฟื้นขึ้นมา กิริยาท่าทางก็เปลี่ยนไป กลับแสดงกิริยาดุร้ายขึงขัง ออกท่าทางอาละวาด เพื่อนข้าราชการชายเข้าไปช่วยจับเพื่อให้อยู่ในความสงบ ก็ไม่สามารถจะทานแรงได้ ต้องช่วยกันจับหลายคน พิธีทอดกฐินยังไม่ได้เริ่ม เพราะผู้คนต่างตกตะลึง หันมาสนใจหญิงสาวผู้นี้
ทันใดนั้น หญิงสาวก็พูดออกมาด้วยน้ำเสียงห้าว ๆ ว่า "กูคอยมึงมานานตั้ง 37 ปีแล้ว เพื่อจะได้มีโอกาสวันนี้ จะได้แก้แค้นกินเลือดมึงให้ได้ กูแค้นใจนัก"
แต่แล้วก็มีเสียงผู้หญิงพูดขึ้นในคนเดียวกันว่า "อย่าตามมาจองเวรจองกรรมเลย ไปสู่ที่ชอบเถิด"
แล้วก็เป็นเสียงผู้ชายในคนเดียวกันพูดอย่างโกรธแค้นว่า "มึงทำกับกู มึงไม่คิดเลย ขาดความเมตตาสงสาร ทำให้กูยังไม่ได้ไปผุดไปเกิด เพราะยังไม่ได้แก้แค้นกินเลือดของมึง"
แล้วก็เป็นเสียงผู้หญิงพูดเสียงสั่นด้วยความกลัวว่า "อย่าเอาชีวิตฉันเลย ฉันกลัวแล้ว อโหสิกรรมให้ฉันเถิด ฉันกลัวแล้ว"
เสียงผู้ชายพูดว่า "ไม่ได้ กูไม่ยอมอโหสิกรรมให้แก่มึงเป็นอันขาด ถึงเวลาของกูแล้ว"
ทันใดนั้น มีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ได้เข้าไปพูดขอร้องกับวิญญาณที่สิงร่างของหญิงสาวว่า "เราเป็นอะไร จึงได้มาสิงในร่างของผู้ที่กำลังจะสร้างบุญกุศลในงานทอดกฐินครั้งนี้"
เสียงผู้ชายในร่างของหญิงสาวพูดว่า "ข้ามีความแค้น เพราะความอาฆาตผู้หญิงคนนี้มาแต่ชาติก่อน เพราะหญิงคนนี้ เมื่อชาติก่อนมันเกิดเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์สินเงินทองไร่นาสาโทมากมาย เป็นคนมีอิทธิพลมาก ข้าทำผิดหนีมาถึงวัดนี้ แต่มันได้ให้คนติดตามมาตัดแขนของข้าทั้งสองข้างแค่ข้อศอก ทำให้ข้าแค้นใจ ก่อนข้าจะตายจึงอธิษฐานว่า ข้าจะขอแก้แค้นดื่มเลือดให้สมกับความแค้นให้จงได้"
แต่แล้วเสียงหญิงสาวพูดขึ้นว่า "ไม่จริง ฉันไม่ได้สั่งให้ไปฆ่าไปแกงตัดตีนตัดมือ ฉันสั่งให้ไปจับตัวมา อย่าให้หนี เพราะแกเป็นบ่าวมีความผิด"
เสียงวิญญาณเข้าสิงหัวเราะก้อง คำรามอย่างน่ากลัวว่า "ถ้ามึงไม่สั่ง อ้ายพวกไพร่ขี้ข้ามันจะมาทำกับกูถึงขนาดนี้เชียวหรือ ตัดแขนทั้งสองข้าง มึงอย่ามาแก้ตัว ถึงอย่างไรมึงก็ไม่พ้นเงื้อมมือกูไปได้ ถึงมึงจะสั่งหรือไม่สั่ง มึงเป็นนาย อ้ายพวกนั้นเป็นบ่าว เป็นขี้ข้า มึงก็ต้องรับผิดชอบวันยังค่ำ บัดนี้ มึงจนมุมแล้วสิ ถึงพยายามแก้ตัว มึงอย่าหวังว่าจะมีใครมาช่วยมึงให้พ้นเงื้อมมือกูได้"
แม้จะมีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ได้ขอร้อง ขอให้พักการแก้แค้นไว้ก่อน ขอเวลาให้หญิงสาวได้มีโอกาสสร้างความดี ทอดกฐินให้เสร็จเรียบร้อย แล้วค่อยมาเจรจาใหม่ วิญญาณอาฆาตนั้นก็ไม่ยอม
ความทราบถึงเจ้าอาวาส ท่านรีบตรงไปที่ต้นลำไยข้างโบสถ์ พวกที่ห้อมล้อมหญิงสาวอยู่ เมื่อเห็นท่านสมภารต่างก็ดีใจเปิดทางให้ท่านเข้าไปใกล้ พอที่จะพูดคุยโต้ตอบกับร่างหญิงสาวที่ถูกผีสิง
น่าแปลกคือ ร่างที่วิญญาณเข้าสิงอยู่นั้น ได้ก้มลงกราบท่านสมภารด้วยความเคารพ แล้วถามว่า "ท่านเป็นชีบานาสงฆ์ จะมาจับผมถ่วงน้ำหรือ"
ท่านสมภารยิ้มอย่างใจดี แล้วพูดว่า "อาตมาเป็นสาวกพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีจิตใจเหี้ยมโหดดุร้ายที่จะไปเที่ยวจับวิญญาณใดถ่วงน้ำหรอก อาตมามีศีลทำเช่นนั้นไม่ได้ มีแต่ความเมตตา อยากให้สัตว์โลกทั้งหลายอยู่กันด้วยความสงบสุข"
เสียงวิญญาณในร่างหญิงสาวหัวเราะแล้วพูดว่า "ผมเคารพนับถือหลวงพ่อ แต่จะให้ผมอโหสิกรรมผู้หญิงคนนี้ ผมยอมไม่ได้ ผมได้พยายามเฝ้ารอคอยมาช้านานแล้ว จะต้องขอดื่มเลือดของมันให้ได้ จึงจะหายแค้น ขอหลวงพ่ออย่าได้มายุ่ง"
ท่านสมภารไม่ได้โกรธ แต่ได้ต่อรองว่า ขอให้พักการอาฆาตไว้ชั่วคราวก่อนเพื่อให้สีกาผู้นี้ได้ทำบุญสร้างกุศล ภายหลังจะตกลงกันอย่างไร ก็ขอให้งานกฐินเสร็จเรียบร้อย วิญญาณที่สิงร่างอยู่นิ่งไปครู่ใหญ่ แล้วก็ตอบตกลง โดยขอให้เอาเลือดผู้หญิงนี้ทาใบลำไยสามใบ แล้วเหน็บไว้ที่คบไม้บนต้นลำไย วิญญาณบอกต่อไปว่า หญิงสาวผู้นี้ เหนือเข่าซ้ายจะมีปานขาวเป็นรูปหัวใจ หากเอาเข็มแทงลงกลางใจปานขาว แล้วเอาเลือดทาที่ลำใย วิญญาณก็จะออกจากร่าง แต่ยังไม่ยอมอโหสิกรรมให้
เพื่อนข้าราชการหญิงก็รีบจัดการตามที่วิญญาณต้องการ จากนั้น วิญญาณที่สิงอยู่ก็ออกไป หญิงสาวกลับฟื้นคืนความรู้สึก เมื่อทราบว่ามีวิญญาณในอดีตชาติตามอาฆาตพยาบาท ก็ไม่สบายใจ เมื่อเข้าไปในโบสถ์ถวายผ้าองค์กฐินร่วมกับเพื่อนข้าราชการ ก็ตั้งจิตแน่วแน่อธิษฐานอุทิศส่วนกุศลให้กับวิญญาณอาฆาตนั้น เมื่อทอดกฐินเสร็จ ก็พากันเดินทางกลับ ก่อนกลับ ท่านสมภารให้ข้อคิดเตือนใจว่า "จงสร้างความดีเพื่อชนะความชั่ว จะได้สุดสิ้นการจองเวร"
เมื่อหญิงสาวกลับถึงบ้าน ก็รู้ตัวว่าวิญญาณได้ติดตามมาอยู่ในเขตบ้านตลอดเวลา บางครั้งได้ยินเสียงสุนัขพากันเห่าหอนอย่างโหยหวน บางครั้งเห็นชายแขนด้วนเดินอยู่ในบริเวณบ้าน แม้ระยะหลัง วิญญาณจะมิได้แสดงกิริยาดุร้าย แต่เมื่อรู้ว่ายังมีวิญญาณคอยติดตามอยู่ ก็ทำให้หวาดกลัวและทรมานจิตใจ จะเชิญผู้มีอาคมขลังมาขับไล่ก็จะเป็นเวรกรรมกันต่อไปอีกไม่สิ้นสุด จึงพยายามทำความดีทุกอย่างเท่าที่จะทำได้ เช่น ถวายสังฆทาน บวชคนให้เป็นพระ ทำบุญให้ทาน แล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้ทุกครั้ง ซึ่งเป็นทางเดียวที่จะทำให้วิญญาณคลายความพยาบาทลงได้
คืนหนึ่ง จวนจะรุ่งสาง หญิงสาวฝันว่า ชายแขนด้วนได้เดินเข้ามาหาหญิงสาวซึ่งนอนอยู่บนเตียง มิได้แสดงกิริยาดุร้าย แต่กลับยิ้มแย้มแจ่มใส พูดว่า
"เอาล่ะ คราวนี้ฉันเชื่อแล้วว่า เธอไม่ได้จงใจสั่งให้พวกบ่าวไพร่มาทำร้ายตัดแขนฉัน นับตั้งแต่ฉันได้กินเลือดจากใบลำไยแล้ว คำอธิษฐานจองร้ายของฉันก็สิ้นสุดลง และทั้งเธอก็อดทนใจเย็น พยายามสร้างกุศลอุทิศให้ฉันมากมาย บัดนี้ แขนฉันได้ต่อติดอย่างเดิมแล้ว นับแต่นี้ไป เราสิ้นเวรหมดกรรมกัน ฉันขอขอบใจเธอที่อดทนทำความดีชนะได้ ขอให้เธอมีความสุข ฉันขอลาเธอเพื่อจะไปผุดไปเกิดในโลกมนุษย์ต่อไป"
ในฝัน หญิงสาวมองเห็นแขนสองข้างของชายผู้นั้นงอกเป็นมือปรกติอย่างน่าอัศจรรย์ แล้วภาพชายผู้นั้นก็โปร่งแสง หายไปต่อหน้าทันที เมื่อหญิงสาวตื่นขึ้น เป็นวันแรกที่มีจิตใจผ่องใสสดชื่นกว่าทุกวัน เพราะรู้ว่าได้หลุดพ้นจากวิญญาณพยาบาทของชายแขนด้วน ภายในบ้านเข้าสู่ความปรกติสุขอีกครั้งหนึ่ง ไม่ต้องคอยหวาดกลัววิญญาณพยาบาทซึ่งเป็นสิ่งลี้ลับมองไม่เห็น ด้วยอำนาจของกุศลกรรมและเมตตาจิตที่แผ่ไปถึงวิญญาณอาฆาตทุกคืนทุกวัน ที่สุดความดีมีศีลธรรมก็ชนะ ความพยาบาทอาฆาตก็ได้จบลงด้วยการอโหสิกรรม
เรื่องเจ้ากรรมนายเวรนี้ ผู้มีความเห็นชอบประกอบด้วยสัมมาปัญญา ย่อมไม่ประมาทว่าเป็นสิ่งที่ไม่มี และไม่เห็นเป็นเรื่องเหลวไหล ไม่มีเหตุผล
ทุกคนต่างก็มีภพชาติมานับไม่ถ้วนในอดีต ต่างก็ทำกรรมทั้งดีและไม่ดีไว้นับไม่ถ้วนในภพชาติทั้งหลายนั้น เจ้ากรรมนายเวรที่ได้เคยไปล่วงเกิน เบียดเบียนทำร้ายไว้ก็ย่อมมีไม่น้อย เช่นเดียวกับผู้มีพระคุณก็มีไม่น้อยเช่นกัน ชาตินี้แม้ไม่อาจจะล่วงรู้ได้ว่าเป็นใครต่อใครบ้าง แต่ก็พึงยอมรับว่ามีอยู่ ทั้งในภพภูมิที่พ้นความรู้เห็นของผู้ไม่มีความสามารถ และทั้งที่อยู่ในภพภูมิเดียวกันกับเราทั้งหลายนี้
พระท่านจึงสอนว่า เมื่อจะขอโทษท่านผู้เป็นเจ้ากรรมนายเวร ก็พึงทำเช่นเดียวกับเมื่อจะตอบแทนท่านผู้มีพระคุณ คือทำบุญทำกุศลด้วยความตั้งใจจริงที่จะอุทิศให้ แม้ว่าจะอยู่ต่างภพภูมิกัน ให้ด้วยสำนึกในความผิดพลาดที่ตนอาจได้กระทำแล้วต่อใคร ๆ และให้ด้วยสำนึกในพระคุณที่ได้รับจากผู้มีพระคุณทั้งหลาย
อ้างอิง - หลักกรรมในพระพุทธศาสนา, สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ
- กฎแห่งกรรม, หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี
- กฎแห่งกรรม, คุณ ท. เลียงพิบูลย์
- ประสบการณ์ทางวิญญาณ, อาจารย์ทองทิว สุวรรณทัต
- โอวาทสี่ของท่านเหลี่ยวฝาน, ถอดความโดยอาจารย์เจือจันทน์ อัชพรรณ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น