หลวงพ่อเคยนำกล้วยจากสวนที่บูชาพระคาถานี้มาตั้งให้คนจำนวนมากดูที่ลานวัดบางนมโค กล้วยที่ปลูกลำต้นสูงใหญ่กว่ากล้วยทั่วไปสามเท่า ผลก็มีขนาดใหญ่กว่ากล้วยทั่วไป เครือหนึ่งมีลูกมากกว่าสี่ร้อยลูก ตกปลีแล้วยังเหลือปลีใหญ่อีกมาก ผู้ที่ได้เห็นกับตาถึงกับอนุโมทนาว่าแปลกประหลาดมาก ปลูกมะม่วงอกร่องก็ออกลูกเต็มต้น ให้ผลใหญ่กว่ามะม่วงอกร่องทั่วไปถึงสามเท่า ปลูกฟักก็มีขนาดใหญ่โตมาก ฟักสามลูกน้ำหนักมากกว่าหนึ่งหาบ ( 1 หาบ = 60 กิโลกรัม) ปลูกข้าวก็ได้ปริมาณข้าวมากกว่า
พระคาถาพระปัจเจกโพธิ์โปรดสัตว์นี้ หลวงพ่อปานเรียนมาจาก ครูพึ่งบุญ หรือ ครูพึ่ง ระหว่างที่ธุดงค์ไปยังภาคใต้ ราวปี พ.ศ. 2472 หลวงพ่อพบกับครูพึ่งที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ขณะนั้น หลวงพ่อปานอายุ 55 ปี ครูพึ่งเป็นฆราวาส อายุ 99 ปี แต่ยังดูแข็งแรง รูปร่างเพรียว แต่งตัวดีมีสง่า นุ่งผ้าม่วง สวมเสื้อราชปะแตน ถุงเท้ายาวสีขาว รองเท้าคัทชู สวมหมวกสักหลาด ถือไม้เท้าเลี่ยมทอง ถ้อยคำสนทนาระหว่างหลวงพ่อกับครูพึ่งฟังดูเหมือนผู้ที่คุ้นเคยกันทั้งที่ไม่เคยพบหน้ากันมาก่อน สร้างความประหลาดใจให้กับพระอุปัฎฐากและคณะที่ร่วมเดินทางไปด้วย ทราบภายหลังว่าท่านทั้งสองสื่อสารกันทางจิตตั้งแต่อยู่ที่ประจวบคีรีขันธ์ และนัดหมายมาพบหน้ากันเมื่อหลวงพ่อปานเดินทางมาถึงจังหวัดนครศรีธรรมราช
ครูพึ่งเล่าว่า เมื่อตอนอายุ 50 ปี ได้พบกับพระธุดงค์รูปหนึ่ง เกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงนิมนต์ให้ท่านพำนักอยู่ด้วยหลายวันเพื่อจะได้มีโอกาสปรนนิบัติและบำเพ็ญกุศล ก่อนพระธุดงค์รูปนั้นจะออกเดินทางต่อ ได้มอบ พระคาถาพระปัจเจกโพธิ์โปรดสัตว์ ให้กับครูพึ่งพร้อมทั้งอธิบายวิธีปฏิบัติ ท่านว่าพระคาถาบทนี้เรียนสืบต่อกันมาตั้งแต่ต้นตระกูล ไม่มีใครยากจน อย่างจนที่สุดก็พอเลี้ยงตัวรอด มีกินมีใช้ไม่ขาดมือ แต่หากทำเป็นกรรมฐาน จะร่ำรวยเป็นเศรษฐี พระคาถาบทนี้เป็นของพระปัจเจกพุทธเจ้า
ครูพึ่งท่านรักษาศีลเป็นปรกติอยู่แล้ว เมื่อได้พระคาถาบทนี้มา ก็เริ่มภาวนาจนเป็นสมาธิ พร้อมทั้งใส่บาตรทุกเช้าตามที่พระธุดงค์แนะนำ เดือนแรกผ่านไปก็เริ่มเห็นผล เช่น หุงข้าวจำนวนปรกติ คนในบ้านรับประทานเท่าเดิม ใส่บาตรเพิ่มขึ้น แต่ข้าวกลับเหลือจนต้องลดปริมาณข้าวที่หุงลงครึ่งหนึ่ง การค้าการขายก็ดีขึ้นตามลำดับ คนอื่นเขาทำกันขาดทุน แต่พอครูพึ่งลองไปทำบ้างกลับได้กำไรดี จับอะไรก็เป็นเงินเป็นทอง ตอนนี้ครูพึ่งอายุมากแล้ว ไม่ได้ทำอะไร แต่หากใครเขาจะแต่งงาน ไปบอกท่าน ท่านช่วยรายละ 100 บาท งานโกนจุก บวชพระ ท่านทำบุญครั้งละ 100 บาท ขอทานไปขอ ให้รายละ 1 บาท ที่ว่ามานี้ไม่ใช่เงินจำนวนเล็กน้อย สมัยนั้นค่าเงินสูง เงินเพียงหนึ่งสตางค์ก็มีค่ามาก ก๋วยเตี๋ยว 2 ชาม 5 สตางค์ เงินเดือนพลทหารได้เดือนละ 4 บาท ข้าราชการถ้าได้เงินเดือน 20 บาทก็สูงมากแล้ว
หลวงพ่อปานเล่าถึงคุณประโยชน์ของพระคาถาว่าใครเอาไปเจริญภาวนา ลาภสักการะจะมีมาไม่ขาดสาย ถ้าทำเป็นกรรมฐานได้จะเกิดลาภหนัก ท่านเล่าของท่านไป คนอยู่กันร่วมร้อย นั่งฟังกันเฉย ไม่มีใครใส่ใจ มีเพียง นายประยงค์ ตั้งตรงจิตร เจ้าของห้างขายยาตราใบโพธิ์ ท่าเตียน นั่งอยู่ข้างหลัง หยิบสมุดพกกับปากกาขึ้นมาจด พอแขกเหรื่อกลับกันไปหมด นายห้างประยงค์ก็เข้าไปกราบหลวงพ่อปาน ขออนุญาตเรียนพระคาถาบทนี้ แล้วอ่านให้หลวงพ่อฟังเพื่อให้แน่ใจว่าที่จดไปนั้นถูกต้อง หลวงพ่อปานท่านก็ยิ้มชอบใจ บอกว่า พ่อดีใจ ประยงค์ เอ็งเป็นลูกคนหัวปี (หมายถึงพระคาถาบทนี้ มีนายห้างประยงค์ให้ความสนใจเป็นคนแรก) พระคาถาบทนี้เอาไปทำ ถ้าไม่เกิดผลพ่อจะไม่พิมพ์แจกคนอื่น ไปพิสูจน์กัน
ครูพึ่งเล่าว่า เมื่อตอนอายุ 50 ปี ได้พบกับพระธุดงค์รูปหนึ่ง เกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงนิมนต์ให้ท่านพำนักอยู่ด้วยหลายวันเพื่อจะได้มีโอกาสปรนนิบัติและบำเพ็ญกุศล ก่อนพระธุดงค์รูปนั้นจะออกเดินทางต่อ ได้มอบ พระคาถาพระปัจเจกโพธิ์โปรดสัตว์ ให้กับครูพึ่งพร้อมทั้งอธิบายวิธีปฏิบัติ ท่านว่าพระคาถาบทนี้เรียนสืบต่อกันมาตั้งแต่ต้นตระกูล ไม่มีใครยากจน อย่างจนที่สุดก็พอเลี้ยงตัวรอด มีกินมีใช้ไม่ขาดมือ แต่หากทำเป็นกรรมฐาน จะร่ำรวยเป็นเศรษฐี พระคาถาบทนี้เป็นของพระปัจเจกพุทธเจ้า
ครูพึ่งท่านรักษาศีลเป็นปรกติอยู่แล้ว เมื่อได้พระคาถาบทนี้มา ก็เริ่มภาวนาจนเป็นสมาธิ พร้อมทั้งใส่บาตรทุกเช้าตามที่พระธุดงค์แนะนำ เดือนแรกผ่านไปก็เริ่มเห็นผล เช่น หุงข้าวจำนวนปรกติ คนในบ้านรับประทานเท่าเดิม ใส่บาตรเพิ่มขึ้น แต่ข้าวกลับเหลือจนต้องลดปริมาณข้าวที่หุงลงครึ่งหนึ่ง การค้าการขายก็ดีขึ้นตามลำดับ คนอื่นเขาทำกันขาดทุน แต่พอครูพึ่งลองไปทำบ้างกลับได้กำไรดี จับอะไรก็เป็นเงินเป็นทอง ตอนนี้ครูพึ่งอายุมากแล้ว ไม่ได้ทำอะไร แต่หากใครเขาจะแต่งงาน ไปบอกท่าน ท่านช่วยรายละ 100 บาท งานโกนจุก บวชพระ ท่านทำบุญครั้งละ 100 บาท ขอทานไปขอ ให้รายละ 1 บาท ที่ว่ามานี้ไม่ใช่เงินจำนวนเล็กน้อย สมัยนั้นค่าเงินสูง เงินเพียงหนึ่งสตางค์ก็มีค่ามาก ก๋วยเตี๋ยว 2 ชาม 5 สตางค์ เงินเดือนพลทหารได้เดือนละ 4 บาท ข้าราชการถ้าได้เงินเดือน 20 บาทก็สูงมากแล้ว
หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระอุปัชฌาย์ของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค และ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อปาน เป็นศิษย์ผู้น้อง หลวงพ่อจง เป็นศิษย์ผู้พี่ |
เมื่อกลับจากธุดงค์ หลวงพ่อปานแวะพักที่วัดสระเกศซึ่งเป็นวัดที่ท่านเคยเรียนหนังสืออยู่ ชาวบ้านที่กรุงเทพฯ เคารพนับถือหลวงพ่อปานมาก เมื่อทราบข่าวก็นำข้าวปลาอาหารมาถวาย ระหว่างฉันภัตตาหาร ท่านก็พูดถึง พระคาถาพระปัจเจกโพธิ์โปรดสัตว์ บอกว่า พระคาถาบทนี้ดีเหลือเกิน ทำให้คนมีลาภสักการะ แล้วก็เล่าเรื่องครูพึ่งว่าเดิมมีฐานะยากจน ต่อมาได้พระคาถาบทนี้จากพระธุดงค์ที่มาปักกลดอยู่ใกล้บ้าน บอกว่าเป็นพระคาถาของพระปัจเจกพุทธเจ้า ให้นำไปปฏิบัติ
หลวงพ่อปานเล่าถึงคุณประโยชน์ของพระคาถาว่าใครเอาไปเจริญภาวนา ลาภสักการะจะมีมาไม่ขาดสาย ถ้าทำเป็นกรรมฐานได้จะเกิดลาภหนัก ท่านเล่าของท่านไป คนอยู่กันร่วมร้อย นั่งฟังกันเฉย ไม่มีใครใส่ใจ มีเพียง นายประยงค์ ตั้งตรงจิตร เจ้าของห้างขายยาตราใบโพธิ์ ท่าเตียน นั่งอยู่ข้างหลัง หยิบสมุดพกกับปากกาขึ้นมาจด พอแขกเหรื่อกลับกันไปหมด นายห้างประยงค์ก็เข้าไปกราบหลวงพ่อปาน ขออนุญาตเรียนพระคาถาบทนี้ แล้วอ่านให้หลวงพ่อฟังเพื่อให้แน่ใจว่าที่จดไปนั้นถูกต้อง หลวงพ่อปานท่านก็ยิ้มชอบใจ บอกว่า พ่อดีใจ ประยงค์ เอ็งเป็นลูกคนหัวปี (หมายถึงพระคาถาบทนี้ มีนายห้างประยงค์ให้ความสนใจเป็นคนแรก) พระคาถาบทนี้เอาไปทำ ถ้าไม่เกิดผลพ่อจะไม่พิมพ์แจกคนอื่น ไปพิสูจน์กัน
นายประยงค์ ตั้งตรงจิตร เจ้าของห้างขายยาตราใบโพธิ์ ท่าเตียน กรุงเทพฯ ชาตะ 3 กรกฎาคม 2445 มรณะ 18 พฤษภาคม 2507 |
เพียงชั่วระยะเวลาไม่กี่ปีต่อมา นายห้างประยงค์ร่ำรวยขึ้นมาก ทำบุญได้ตามอารมณ์ นายห้างถึงกับพูดกับหลวงพ่อปานว่า ถ้าหลวงพ่อจะทำอะไรก็ให้บอก เท่าไหร่เท่ากัน
เมื่อไปถามนายห้างประยงค์ว่าทำอย่างไรลาภสักการะจึงเกิดมาก นายห้างบอกว่า ท่านสวดมนต์เช้าค่ำและก่อนนอน ใส่บาตรเป็นประจำไม่เคยขาด เวลาบูชาพระตอนเช้า ก็ว่าพระคาถานี้ 9 จบ ก่อนออกไปเปิดร้าน ก็ภาวนาพระคาถาบทนี้เป็นกรรมฐาน คือ กำหนดลมหายใจเข้าออกพร้อมกับว่าพระคาถาช้า ๆ ตามสบาย ตกเย็นก็เช่นกัน เมื่อเสร็จจากค้าขาย รับประทานอาหารเรียบร้อย พักผ่อนเล็กน้อยพอให้อาหารย่อย อาบน้ำแล้วก็เข้าห้องบูชาพระ ก็ว่าพระคาถานี้ 9 จบ แล้วก็ภาวนาพระคาถาบทนี้ต่อเป็นกรรมฐานอีก ทำอย่างนี้เป็นประจำได้ไม่นาน พอนั่งเข้าที่ภาวนาก็มีแสงสว่างเกิดขึ้น ระยะแรก ๆ ก็สว่างน้อย นานไป ๆ ก็สว่างมากขึ้น ๆ จิตสงบคงที่ บางครั้งมีรูปพระพุทธบ้าง พระสงฆ์บ้าง ปรากฏให้เห็นเสมอ ท่านว่าระยะนี้แหละ เป็นระยะที่ลาภเกิดขึ้นแปลก ๆ และคาดไม่ถึง
นายห้างประยงค์เล่าให้ฟังต่อไปว่า การค้าการขายที่คิดว่าจะมีกำไรน้อยก็กลับได้กำไรมาก ยาไทยที่ทำเตรียมไว้ขาย นับจำนวนแน่นอนแล้ว ขายครบจำนวนแล้ว เงินก็ได้ครบแล้ว แต่ยากลับไม่หมด เงินที่เบิกจากธนาคาร ท่านยังไม่นับ แต่จะเก็บเข้าตู้เซฟไว้ก่อน พอรุ่งเช้าจึงเอาออกมานับ จะมีเงินเกินทุกครั้ง เงินที่รับจากธนาคารปึกละหนึ่งหมื่นบาทนั้น ทุกปึกมีเงินเกินหมื่น บางปึกเกินถึงสามพันบาท เมื่อสอบถามไปยังธนาคารก็ยืนยันว่านับไม่ผิด เป็นอย่างนี้ทุกครั้งจนเป็นเรื่องปรกติ
เมื่อไปถามนายห้างประยงค์ว่าทำอย่างไรลาภสักการะจึงเกิดมาก นายห้างบอกว่า ท่านสวดมนต์เช้าค่ำและก่อนนอน ใส่บาตรเป็นประจำไม่เคยขาด เวลาบูชาพระตอนเช้า ก็ว่าพระคาถานี้ 9 จบ ก่อนออกไปเปิดร้าน ก็ภาวนาพระคาถาบทนี้เป็นกรรมฐาน คือ กำหนดลมหายใจเข้าออกพร้อมกับว่าพระคาถาช้า ๆ ตามสบาย ตกเย็นก็เช่นกัน เมื่อเสร็จจากค้าขาย รับประทานอาหารเรียบร้อย พักผ่อนเล็กน้อยพอให้อาหารย่อย อาบน้ำแล้วก็เข้าห้องบูชาพระ ก็ว่าพระคาถานี้ 9 จบ แล้วก็ภาวนาพระคาถาบทนี้ต่อเป็นกรรมฐานอีก ทำอย่างนี้เป็นประจำได้ไม่นาน พอนั่งเข้าที่ภาวนาก็มีแสงสว่างเกิดขึ้น ระยะแรก ๆ ก็สว่างน้อย นานไป ๆ ก็สว่างมากขึ้น ๆ จิตสงบคงที่ บางครั้งมีรูปพระพุทธบ้าง พระสงฆ์บ้าง ปรากฏให้เห็นเสมอ ท่านว่าระยะนี้แหละ เป็นระยะที่ลาภเกิดขึ้นแปลก ๆ และคาดไม่ถึง
นายห้างประยงค์เล่าให้ฟังต่อไปว่า การค้าการขายที่คิดว่าจะมีกำไรน้อยก็กลับได้กำไรมาก ยาไทยที่ทำเตรียมไว้ขาย นับจำนวนแน่นอนแล้ว ขายครบจำนวนแล้ว เงินก็ได้ครบแล้ว แต่ยากลับไม่หมด เงินที่เบิกจากธนาคาร ท่านยังไม่นับ แต่จะเก็บเข้าตู้เซฟไว้ก่อน พอรุ่งเช้าจึงเอาออกมานับ จะมีเงินเกินทุกครั้ง เงินที่รับจากธนาคารปึกละหนึ่งหมื่นบาทนั้น ทุกปึกมีเงินเกินหมื่น บางปึกเกินถึงสามพันบาท เมื่อสอบถามไปยังธนาคารก็ยืนยันว่านับไม่ผิด เป็นอย่างนี้ทุกครั้งจนเป็นเรื่องปรกติ
(ซ้าย) พระพุทธไสยาส (ขวา) พระพุทธชินราช หรือ พระพุทธรูปทรงโปรดปัญจวัคคีย์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) กรุงเทพฯ นายห้างประยงค์มีส่วนสำคัญในการบริจาคทรัพย์บูรณะปฏิสังขรณ์ |
ในปี พ.ศ. 2474 นายห้างประยงค์มีจิตศรัทธาจะสร้างวัดขึ้นที่ชายเขาสะพานนาค อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี เนื่องจากเห็นว่าเป็นปากทางเข้าวัดเขาวงพระจันทร์ ชาวบ้านมักจะแวะพักก่อนเดินเท้าเข้าไปกราบนมัสการรอยพระพุทธบาทจำลอง แต่พื้นที่บริเวณนั้นกลับแห้งแล้ง ไม่มีน้ำ จึงคิดจะสร้างวัดขึ้นและสร้างถังกักเก็บน้ำฝนไว้ใช้อุปโภคบริโภคด้วย นายห้างประยงค์นิมนต์หลวงพ่อปานเป็นแม่งาน ถามหลวงพ่อว่าต้องใช้เงินเท่าไร หลวงพ่อปานท่านว่า ทำไปเรื่อย ๆ มีทุนสำรองไว้ประมาณสองหมื่นบาทก็พอ แล้วสั่งให้นายห้างประยงค์นำเงินสองหมื่นที่จะใช้เป็นทุนสำรองมาให้หลวงพ่อ หลวงพ่อปานท่านรับเงินแล้ว ก็เสกด้วยพระคาถาพระปัจเจกโพธิ์โปรดสัตว์นี้เป็นเวลา 7 คืน จากนั้น ก็ให้นำเงินกลับไปพร้อมกำชับว่า ให้ใช้เงินจากกองนี้ในการก่อสร้าง การก่อสร้างวัดเขาสะพานนาคดำเนินไป เงินก็หยิบเข้าหยิบออกอยู่อย่างนั้น จนกระทั่งสร้างวัดเสร็จ เงินในกองก็ยังเหลืออยู่สองหมื่นบาทเท่าเดิม
** สวาโหม ออกเสียงว่า สะ-หวา-โหม
พระคาถาพระปัจเจกโพธิ์โปรดสัตว์นี้ มีชื่อเรียกกันไปต่าง ๆ นา ๆ บ้างก็เรียกว่า คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า คาถาเสริมทรัพย์ คาถาวิระทะโย คาถาเงินงอก ฯลฯ หลวงพ่อปานท่านตั้งใจจะโปรดผู้ที่ยากจนขัดสนทั้งหลายให้พ้นจากความทุกข์ ให้มีความสุข ให้เป็นผู้มีอันจะกินขึ้น ปัดเป่าเสียซึ่งการเบียดเบียนกัน สำหรับผู้ที่มั่งมีอยู่แล้ว ก็ให้เจริญงอกเงยยิ่งขึ้นไปอีก ตลอดจนโปรดพระภิกษุสามเณรให้ได้รับบิณฑบาตอันบริบูรณ์
นายห้างประยงค์ ตั้งตรงจิตร มีความเลื่อมใสศรัทธาและเคารพนับถือหลวงพ่อปานและพระคาถาพระปัจเจกโพธิ์โปรดสัตว์นี้มาก ท่านต้องการให้พระคาถานี้คงอยู่ตลอดไปตราบนานเท่านาน เพื่อชนรุ่นหลังจะได้สักการบูชาและนำไปปฏิบัติ จึงได้พิมพ์แจกเป็นธรรมบรรณาการในโอกาสอันควรอยู่หลายวาระ มีผู้สนใจเดินทางไปขอรับหนังสือแจกฟรีที่ห้างขายยาตราใบโพธิ์ ถนนมหาราช หน้าตลาดท่าเตียน อยู่เสมอ ๆ สำหรับยันต์เกราะเพชร ยันต์ทอ และรูปหลวงพ่อปาน ท่านตั้งราคาค่าบำรุงชุดละ 10 บาท หรือใครจะบริจาคมากกว่านั้น ท่านก็ยินดีรับไว้ รายได้ทั้งหมด ไม่หักค่าใช้จ่าย ทั้งต้นทุนและกำไร ท่านถวายวัดบางนมโคเพื่อนำไปสมทบทุนสร้างเขื่อนคอนกรีตหน้าวัด และอุทิศส่วนกุศลถวายหลวงพ่อปาน
ท่านบอกว่า ผู้ที่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระคาถานี้ ต้องใส่บาตรพระภิกษุสามเณรเป็นนิจ อย่างน้อยหนึ่งรูปขึ้นไป ทุกวันมิได้ขาด ก่อนจะใส่บาตร ให้ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยแล้วว่าพระคาถานี้ 3-5-7-9 จบ
เวลาเช้า-ค่ำ เมื่อสวดมนต์บูชาพระแล้ว ก็ว่าพระคาถานี้ 3-5-7-9 จบ ก่อนเข้านอน กราบพระแล้ว ก็ว่าพระคาถานี้ 3-5-7-9 จบ
ผู้ที่ทำนา ก่อนจะหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวลงในแปลงนา ก็ว่าพระคาถานี้ 3-5-7-9 จบ เมื่อหว่านหมดแล้ว ก็ให้ว่าพระคาถานี้อีก 3-5-7-9 จบ ข้าวจะออกรวงงาม แมลงศัตรูพืชไม่มารบกวน จะทำสวนทำไร่ เพาะปลูกสิ่งใด ก็ผลิดอกออกผลเจริญงอกงาม
ผู้ที่ค้าขาย ว่าพระคาถานี้ 3-5-7-9 จบ จะซื้อง่ายขายคล่องมีกำไรมาก ผู้ที่รับราชการหรือทำงานรับจ้าง บูชาพระคาถานี้เป็นนิจ จะมีลาภมาก สิ่งของที่ใช้อยู่ไม่ค่อยหมดเปลืองเหมือนเช่นเคย มีแต่จะงอกงามยิ่ง ๆ ขึ้นไป จะประสบแต่ความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า มั่งคั่งบริบูรณ์
พระคาถานี้ ท่านห้ามนำไปใช้ในทางมิจฉาชีพหรือการพนันต่าง ๆ และห้ามนำไปเรี่ยไรแสวงหาผลประโยชน์ เพราะท่านเจ้าของไม่ปรารถนาในเชิงนี้
และที่สำคัญ ห้ามประพฤติชั่ว รักษาศีลห้าให้บริสุทธิ์ อย่างน้อยที่สุด ต้องไม่ละเมิดศีล 2 ข้อ คือ ศีลข้อ 2 อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากการลักทรัพย์ และ ศีลข้อ 5 สุราเมระยะมัชชะปมาทัฏฐานา เวรมณี เว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งของความประมาท
อทินนาทานนั้นมีองค์ประกอบ 5 ประการคือ ของที่คนอื่นหวงแหน ความรู้ว่าเป็นของที่คนอื่นหวงแหน จิตคิดจะลัก ความพยายามจะลัก ลักของได้มาด้วยความพยายามนั้น
พระพุทธองค์ตรัสว่า อทินนาทานอันบุคคลเสพ (ประพฤติ) แล้ว เจริญ (ทำจนเป็นปรกติ) แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งอทินนาทานอย่างเบาที่สุด ย่อมยังความพินาศแห่งโภคะให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์ ผลในปวัตติกาลของอทินนาทานมี 6 ประการคือ เป็นคนด้อยทรัพย์ เป็นคนยากจน เป็นคนอดอยาก ไม่ได้สมบัติที่ตนต้องการ ต้องพินาศในการค้า ทรัพย์พินาศเพราะภัยพิบัติต่าง ๆ เช่น อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ราชภัย โจรภัย เป็นต้น
ส่วนศีลข้อ 5 นั้น เมื่อละเมิดแล้ว สุ่มเสี่ยงที่จะนำไปสู่การละเมิดศีลทุกข้อ เพราะเมื่อขาดสติ โอกาสที่จะทำความชั่วก็มีมาก
การดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งการดื่มสุราและเมรัยอย่างเบาที่สุด ย่อมยังความเป็นบ้าให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์
พระคาถาพระปัจเจกโพธิ์โปรดสัตว์
การสวด ให้เริ่มด้วยการตั้ง "นะโมฯ" 3 จบ ดังนี้
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
จากนั้น ว่าพระคาถาบทนำ เพียงครั้งเดียว ดังนี้
พุทธะ มะอะอุ นะโมพุทธายะ
จากนั้น ว่าพระคาถาพระปัจเจกโพธิ์โปรดสัตว์ 3-5-7-9 จบ * ดังนี้
วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา
วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย
พุทธัสสะ มานีมามะ พุทธัสสะ สวาโหม **
วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา
วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย
พุทธัสสะ มานีมามะ พุทธัสสะ สวาโหม **
* 3-5-7-9 จบ หมายถึงจะว่ากี่จบก็ได้ 3 จบก็ได้ 5 จบก็ได้ 7 จบก็ได้ 9 จบ ก็ได้ แต่ต้องว่าเสมอกันไป ถ้าเคยว่า 3 จบ ก็ว่า 3 จบไปตลอด หรือถ้าเคยว่า 9 จบ ก็ว่า 9 จบไปตลอด จะว่าน้อยจบบ้าง มากจบบ้าง สลับกันไปมาจะไม่เกิดผล ท่านแนะนำให้ว่าจากน้อยไปหามาก เริ่มต้นปฏิบัติที่ 3 จบไปก่อน ทำให้เห็นผลเป็นระยะ ๆ แล้วจึงค่อย ๆ เพิ่มจำนวนจบขึ้นตามลำดับ
นายห้างประยงค์ ตั้งตรงจิตร มีความเลื่อมใสศรัทธาและเคารพนับถือหลวงพ่อปานและพระคาถาพระปัจเจกโพธิ์โปรดสัตว์นี้มาก ท่านต้องการให้พระคาถานี้คงอยู่ตลอดไปตราบนานเท่านาน เพื่อชนรุ่นหลังจะได้สักการบูชาและนำไปปฏิบัติ จึงได้พิมพ์แจกเป็นธรรมบรรณาการในโอกาสอันควรอยู่หลายวาระ มีผู้สนใจเดินทางไปขอรับหนังสือแจกฟรีที่ห้างขายยาตราใบโพธิ์ ถนนมหาราช หน้าตลาดท่าเตียน อยู่เสมอ ๆ สำหรับยันต์เกราะเพชร ยันต์ทอ และรูปหลวงพ่อปาน ท่านตั้งราคาค่าบำรุงชุดละ 10 บาท หรือใครจะบริจาคมากกว่านั้น ท่านก็ยินดีรับไว้ รายได้ทั้งหมด ไม่หักค่าใช้จ่าย ทั้งต้นทุนและกำไร ท่านถวายวัดบางนมโคเพื่อนำไปสมทบทุนสร้างเขื่อนคอนกรีตหน้าวัด และอุทิศส่วนกุศลถวายหลวงพ่อปาน
ท่านบอกว่า ผู้ที่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระคาถานี้ ต้องใส่บาตรพระภิกษุสามเณรเป็นนิจ อย่างน้อยหนึ่งรูปขึ้นไป ทุกวันมิได้ขาด ก่อนจะใส่บาตร ให้ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยแล้วว่าพระคาถานี้ 3-5-7-9 จบ
เวลาเช้า-ค่ำ เมื่อสวดมนต์บูชาพระแล้ว ก็ว่าพระคาถานี้ 3-5-7-9 จบ ก่อนเข้านอน กราบพระแล้ว ก็ว่าพระคาถานี้ 3-5-7-9 จบ
ผู้ที่ทำนา ก่อนจะหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวลงในแปลงนา ก็ว่าพระคาถานี้ 3-5-7-9 จบ เมื่อหว่านหมดแล้ว ก็ให้ว่าพระคาถานี้อีก 3-5-7-9 จบ ข้าวจะออกรวงงาม แมลงศัตรูพืชไม่มารบกวน จะทำสวนทำไร่ เพาะปลูกสิ่งใด ก็ผลิดอกออกผลเจริญงอกงาม
ผู้ที่ค้าขาย ว่าพระคาถานี้ 3-5-7-9 จบ จะซื้อง่ายขายคล่องมีกำไรมาก ผู้ที่รับราชการหรือทำงานรับจ้าง บูชาพระคาถานี้เป็นนิจ จะมีลาภมาก สิ่งของที่ใช้อยู่ไม่ค่อยหมดเปลืองเหมือนเช่นเคย มีแต่จะงอกงามยิ่ง ๆ ขึ้นไป จะประสบแต่ความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า มั่งคั่งบริบูรณ์
พระคาถานี้ ท่านห้ามนำไปใช้ในทางมิจฉาชีพหรือการพนันต่าง ๆ และห้ามนำไปเรี่ยไรแสวงหาผลประโยชน์ เพราะท่านเจ้าของไม่ปรารถนาในเชิงนี้
และที่สำคัญ ห้ามประพฤติชั่ว รักษาศีลห้าให้บริสุทธิ์ อย่างน้อยที่สุด ต้องไม่ละเมิดศีล 2 ข้อ คือ ศีลข้อ 2 อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากการลักทรัพย์ และ ศีลข้อ 5 สุราเมระยะมัชชะปมาทัฏฐานา เวรมณี เว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งของความประมาท
อทินนาทานนั้นมีองค์ประกอบ 5 ประการคือ ของที่คนอื่นหวงแหน ความรู้ว่าเป็นของที่คนอื่นหวงแหน จิตคิดจะลัก ความพยายามจะลัก ลักของได้มาด้วยความพยายามนั้น
พระพุทธองค์ตรัสว่า อทินนาทานอันบุคคลเสพ (ประพฤติ) แล้ว เจริญ (ทำจนเป็นปรกติ) แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งอทินนาทานอย่างเบาที่สุด ย่อมยังความพินาศแห่งโภคะให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์ ผลในปวัตติกาลของอทินนาทานมี 6 ประการคือ เป็นคนด้อยทรัพย์ เป็นคนยากจน เป็นคนอดอยาก ไม่ได้สมบัติที่ตนต้องการ ต้องพินาศในการค้า ทรัพย์พินาศเพราะภัยพิบัติต่าง ๆ เช่น อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ราชภัย โจรภัย เป็นต้น
ส่วนศีลข้อ 5 นั้น เมื่อละเมิดแล้ว สุ่มเสี่ยงที่จะนำไปสู่การละเมิดศีลทุกข้อ เพราะเมื่อขาดสติ โอกาสที่จะทำความชั่วก็มีมาก
การดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งการดื่มสุราและเมรัยอย่างเบาที่สุด ย่อมยังความเป็นบ้าให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์
พระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโร) หรือ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดจันทาราม (วัดท่าซุง) จังหวัดอุทัยธานี |
"พระคาถาเงินล้าน" ต่อยอดมาจาก "พระคาถาพระปัจเจกโพธิ์โปรดสัตว์" เป็นพระคาถาที่ พระราชพรหมยาน หรือ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี ได้จากกรรมฐาน
หลวงพ่อฤาษีลิงดำ เป็นศิษย์องค์สำคัญของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ในปี พ.ศ. 2511 ตอนที่ท่านรับนิมนต์มาอยู่วัดท่าซุงใหม่ ๆ เพื่อช่วยบูรณะปฏิสังขรณ์วัดนั้น ท่านเล่าว่า มีเงินติดย่ามมาร้อยเดียว ไม่ได้เอามาสร้างวัด แต่เอาไว้ซื้อข้าวกิน สภาพวัดท่าซุงในขณะนั้น มีกุฏิเจ้าอาวาสหลังเดียวที่อยู่ได้ ส่วนกุฏิอีกหลัง คนเดินมาตามทางก็มองเห็นเพราะฝาโปร่ง นกบินผ่านก็มองเห็นเพราะหลังคาโปร่ง หอสวดมนต์เย้จวนจะพับฐาน ศาลาก็โย้จวนจะล้ม วิหารก็หลังคาผุ โบสถ์ก็ใกล้จะพัง ไม่มีอะไรดีเลย มีสภาพเหมือนวัดร้าง การก่อสร้างเวลานั้นก็แสนจะยาก เงินก็หาไม่ค่อยได้ หลวงพ่อท่านก็อาศัยพระ (หมายถึง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า) อาศัยพรหม อาศัยเทวดา และ "พระคาถาพระปัจเจกโพธิ์โปรดสัตว์" พร้อมกับเดินหน้าก่อสร้างถาวรวัตถุภายในวัดไปเรื่อย ๆ
มาปีหนึ่ง กำลังบวงสรวงอยู่ "พระ" ท่านมาบอกคาถาบทหนึ่ง เป็น "คาถาเงินแสน" เมื่อหลวงพ่อใช้ภาวนาดู ปรากฏว่า ทอดกฐินปีนั้นได้เงินหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท และทอดผ้าป่าอีกสองคราว ๆ ละแสนกว่าบาท สมัยนั้นเงินสักหมื่นบาทยังหายากมากเลย
ปีถัดมา "พระ" มาบอกคาถาเพิ่มอีกบท เป็น "คาถาเงินล้าน" ให้ว่าต่อเนื่องกับบทก่อน แล้วลงท้ายด้วย "พระคาถาพระปัจเจกโพธิ์โปรดสัตว์" ของหลวงพ่อปาน ปรากฏว่าได้เงินเป็นล้านจริง ๆ
หลวงพ่อได้คาถาโดยตรงจาก "พระ" ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 ใช้เวลา 4 ปี จึงได้ครบถ้วน หลวงพ่อใช้พระคาถานี้ทำนุบำรุงวัดท่าซุง จากวัดที่มีสภาพใกล้เคียงกับวัดร้าง กลายเป็นวัดใหญ่โตสวยงาม มีอาณาบริเวณกว้างขวางกว่าเดิม ไม่เพียงแต่สร้างวัดเท่านั้น หลวงพ่อท่านยังสร้างโรงพยาบาลและโรงเรียนด้วย
ความใหญ่โตของวัดท่าซุงนี้ มีคนที่ไม่รู้จักหลวงพ่อ นำไปล้อเล่นจนเกิดเป็นเรื่องเป็นราวก็มี เล่ากันว่า โยมคนหนึ่งชื่อปู้ บ้านอยู่สุพรรณบุรี มาฝึกมโนมยิทธิเต็มกำลังที่วัดท่าซุง เมื่อกลับไปบ้าน ก็เล่าให้คนในบ้านฟังว่า วัดท่าซุงนี่ ศาลาตั้ง 12 ไร่ ห้องน้ำมีเป็นพัน ๆ ห้อง ลูกชายได้ยินก็พูดขัดคอด้วยความคะนองปาก บอกว่าอยากไปวัดท่าซุงสักหน่อย จะเอาตลับเมตรไปด้วย ไปวัดดู แม่ได้ยินก็ห้าม เตือนว่าอย่าไปพูดล้อเล่น
วันหนึ่งก็มีเหตุให้ลูกชายต้องติดตามแม่ไปวัดท่าซุงจริง ๆ ก่อนออกจากบ้านก็ยังไม่วายคึกคะนอง ร้องหาตลับเมตรว่าจะเอาติดตัวไปด้วย พอเข้าเขตวัดเท่านั้นแหละ ลูกชายโยมปู้ชักดิ้นชักงออยู่ในรถ จะตายให้ได้ โยมปู้นึกขึ้นได้ว่า ลูกคนนี้เคยพูดปรามาสหลวงพ่อฤาษีลิงดำไว้ แกรีบบอกให้ขอขมาหลวงพ่อ ลูกชายที่กำลังชักมือสั่นก็นอนขอขมา หายเดี๋ยวนั้นเลย ไม่ต้องพาส่งโรงพยาบาล
ต่อมาก็เกิดเรื่องขึ้นอีก หลานของโยมปู้ คือลูกของลูกชายแกที่เคยชักดิ้นชักงออยู่หน้าวัด ยังเป็นเด็กวัยรุ่น มาเรียนหนังสืออยู่ที่กรุงเทพฯ เมื่อกลับบ้านได้ข่าวว่าวัดท่าซุงใหญ่โตมาก เนื้อที่สองร้อยกว่าไร่ ก็อยากมาเห็น หลังจากเข้าไปกราบสรีระของหลวงพ่อภายในวิหารแก้วร้อยเมตรแล้ว ตอนกลับออกมา ก็ไปลักรองเท้าของใครไม่รู้ ยี่ห้อสกอร์ ราคาพันกว่าบาท หยิบติดมือไปด้วย โยมปู้เห็นหลานชายลักรองเท้า ก็ใจคอไม่ดี แกดุเอา บอกว่าวันนี้เขาต้องจับมึงถ่ายรูปขึงไว้หน้าวัดแน่ กูจะพลอยอับอายขายขี้หน้าไปด้วย เขารู้จักกูด้วยสิ หลานชายแกหยิบรองเท้าไปแล้วก็กลับขึ้นรถ นั่งเที่ยวรอบวัด พอไปถึงมณฑปสมเด็จองค์ปฐม ก็เอารองเท้าที่ลักมาวางไว้ตรงทางขึ้นลงมณฑป แล้วก็ขึ้นไปกราบพระข้างบน โยมปู้เล่าว่า อยู่ดี ๆ มีใครไม่รู้ เดินมาหยิบรองเท้าที่หลานชายแกลักมาวางไว้ หยิบแล้วก็เดินจากไป ไม่พูดไม่จา ไม่ถามสักคำว่ารองเท้านี่มาอยู่ตรงนี้ได้อย่างไร นี่แกหยิบรองเท้าของฉันมาหรือ
พอหลานชายแกไหว้พระข้างบนเสร็จลงมา ก็บอกกับย่าคือโยมปู้ว่า ผมเชื่อแล้วครับว่าหลวงพ่อวัดท่าซุงศักดิ์สิทธิ์จริง เพราะว่าตอนผมเข้าไปกราบท่านที่วิหารแก้วร้อยเมตร ผมอธิษฐานว่า ถ้าหลวงพ่อวัดท่าซุงเก่งจริง อย่าให้ผมลักรองเท้าออกนอกวัดได้ แล้วผมจะนับถือตลอดชีวิตเลย
และเมื่อเข้าไปเสี่ยงเซียมซีบนมณฑปสมเด็จองค์ปฐม เซียมซีบอกว่า พ่ออยากเจอนัก ไอ้คนจริงนี่ เซียมซีบอกแบบนั้นจริง ๆ บอกว่า ขอให้ตั้งใจเรียนหนังสือให้ดี ต่อไปจะเป็นเจ้าคนนายคน เป็นใหญ่เป็นโต อะไรทำนองนี้ แต่ เอ๊ะ.. ความจริง เซียมซีข้อความแบบนี้วัดไม่เคยพิมพ์นะ แล้วคนที่ไปหยิบเอารองเท้าคืนนี่ เข้าใจว่าคงไม่ใช่คนธรรมดาเสียแล้ว
หลวงพ่อฤาษีลิงดำ เป็นศิษย์องค์สำคัญของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ในปี พ.ศ. 2511 ตอนที่ท่านรับนิมนต์มาอยู่วัดท่าซุงใหม่ ๆ เพื่อช่วยบูรณะปฏิสังขรณ์วัดนั้น ท่านเล่าว่า มีเงินติดย่ามมาร้อยเดียว ไม่ได้เอามาสร้างวัด แต่เอาไว้ซื้อข้าวกิน สภาพวัดท่าซุงในขณะนั้น มีกุฏิเจ้าอาวาสหลังเดียวที่อยู่ได้ ส่วนกุฏิอีกหลัง คนเดินมาตามทางก็มองเห็นเพราะฝาโปร่ง นกบินผ่านก็มองเห็นเพราะหลังคาโปร่ง หอสวดมนต์เย้จวนจะพับฐาน ศาลาก็โย้จวนจะล้ม วิหารก็หลังคาผุ โบสถ์ก็ใกล้จะพัง ไม่มีอะไรดีเลย มีสภาพเหมือนวัดร้าง การก่อสร้างเวลานั้นก็แสนจะยาก เงินก็หาไม่ค่อยได้ หลวงพ่อท่านก็อาศัยพระ (หมายถึง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า) อาศัยพรหม อาศัยเทวดา และ "พระคาถาพระปัจเจกโพธิ์โปรดสัตว์" พร้อมกับเดินหน้าก่อสร้างถาวรวัตถุภายในวัดไปเรื่อย ๆ
ปีถัดมา "พระ" มาบอกคาถาเพิ่มอีกบท เป็น "คาถาเงินล้าน" ให้ว่าต่อเนื่องกับบทก่อน แล้วลงท้ายด้วย "พระคาถาพระปัจเจกโพธิ์โปรดสัตว์" ของหลวงพ่อปาน ปรากฏว่าได้เงินเป็นล้านจริง ๆ
หลวงพ่อได้คาถาโดยตรงจาก "พระ" ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 ใช้เวลา 4 ปี จึงได้ครบถ้วน หลวงพ่อใช้พระคาถานี้ทำนุบำรุงวัดท่าซุง จากวัดที่มีสภาพใกล้เคียงกับวัดร้าง กลายเป็นวัดใหญ่โตสวยงาม มีอาณาบริเวณกว้างขวางกว่าเดิม ไม่เพียงแต่สร้างวัดเท่านั้น หลวงพ่อท่านยังสร้างโรงพยาบาลและโรงเรียนด้วย
ความใหญ่โตของวัดท่าซุงนี้ มีคนที่ไม่รู้จักหลวงพ่อ นำไปล้อเล่นจนเกิดเป็นเรื่องเป็นราวก็มี เล่ากันว่า โยมคนหนึ่งชื่อปู้ บ้านอยู่สุพรรณบุรี มาฝึกมโนมยิทธิเต็มกำลังที่วัดท่าซุง เมื่อกลับไปบ้าน ก็เล่าให้คนในบ้านฟังว่า วัดท่าซุงนี่ ศาลาตั้ง 12 ไร่ ห้องน้ำมีเป็นพัน ๆ ห้อง ลูกชายได้ยินก็พูดขัดคอด้วยความคะนองปาก บอกว่าอยากไปวัดท่าซุงสักหน่อย จะเอาตลับเมตรไปด้วย ไปวัดดู แม่ได้ยินก็ห้าม เตือนว่าอย่าไปพูดล้อเล่น
วันหนึ่งก็มีเหตุให้ลูกชายต้องติดตามแม่ไปวัดท่าซุงจริง ๆ ก่อนออกจากบ้านก็ยังไม่วายคึกคะนอง ร้องหาตลับเมตรว่าจะเอาติดตัวไปด้วย พอเข้าเขตวัดเท่านั้นแหละ ลูกชายโยมปู้ชักดิ้นชักงออยู่ในรถ จะตายให้ได้ โยมปู้นึกขึ้นได้ว่า ลูกคนนี้เคยพูดปรามาสหลวงพ่อฤาษีลิงดำไว้ แกรีบบอกให้ขอขมาหลวงพ่อ ลูกชายที่กำลังชักมือสั่นก็นอนขอขมา หายเดี๋ยวนั้นเลย ไม่ต้องพาส่งโรงพยาบาล
ต่อมาก็เกิดเรื่องขึ้นอีก หลานของโยมปู้ คือลูกของลูกชายแกที่เคยชักดิ้นชักงออยู่หน้าวัด ยังเป็นเด็กวัยรุ่น มาเรียนหนังสืออยู่ที่กรุงเทพฯ เมื่อกลับบ้านได้ข่าวว่าวัดท่าซุงใหญ่โตมาก เนื้อที่สองร้อยกว่าไร่ ก็อยากมาเห็น หลังจากเข้าไปกราบสรีระของหลวงพ่อภายในวิหารแก้วร้อยเมตรแล้ว ตอนกลับออกมา ก็ไปลักรองเท้าของใครไม่รู้ ยี่ห้อสกอร์ ราคาพันกว่าบาท หยิบติดมือไปด้วย โยมปู้เห็นหลานชายลักรองเท้า ก็ใจคอไม่ดี แกดุเอา บอกว่าวันนี้เขาต้องจับมึงถ่ายรูปขึงไว้หน้าวัดแน่ กูจะพลอยอับอายขายขี้หน้าไปด้วย เขารู้จักกูด้วยสิ หลานชายแกหยิบรองเท้าไปแล้วก็กลับขึ้นรถ นั่งเที่ยวรอบวัด พอไปถึงมณฑปสมเด็จองค์ปฐม ก็เอารองเท้าที่ลักมาวางไว้ตรงทางขึ้นลงมณฑป แล้วก็ขึ้นไปกราบพระข้างบน โยมปู้เล่าว่า อยู่ดี ๆ มีใครไม่รู้ เดินมาหยิบรองเท้าที่หลานชายแกลักมาวางไว้ หยิบแล้วก็เดินจากไป ไม่พูดไม่จา ไม่ถามสักคำว่ารองเท้านี่มาอยู่ตรงนี้ได้อย่างไร นี่แกหยิบรองเท้าของฉันมาหรือ
พอหลานชายแกไหว้พระข้างบนเสร็จลงมา ก็บอกกับย่าคือโยมปู้ว่า ผมเชื่อแล้วครับว่าหลวงพ่อวัดท่าซุงศักดิ์สิทธิ์จริง เพราะว่าตอนผมเข้าไปกราบท่านที่วิหารแก้วร้อยเมตร ผมอธิษฐานว่า ถ้าหลวงพ่อวัดท่าซุงเก่งจริง อย่าให้ผมลักรองเท้าออกนอกวัดได้ แล้วผมจะนับถือตลอดชีวิตเลย
และเมื่อเข้าไปเสี่ยงเซียมซีบนมณฑปสมเด็จองค์ปฐม เซียมซีบอกว่า พ่ออยากเจอนัก ไอ้คนจริงนี่ เซียมซีบอกแบบนั้นจริง ๆ บอกว่า ขอให้ตั้งใจเรียนหนังสือให้ดี ต่อไปจะเป็นเจ้าคนนายคน เป็นใหญ่เป็นโต อะไรทำนองนี้ แต่ เอ๊ะ.. ความจริง เซียมซีข้อความแบบนี้วัดไม่เคยพิมพ์นะ แล้วคนที่ไปหยิบเอารองเท้าคืนนี่ เข้าใจว่าคงไม่ใช่คนธรรมดาเสียแล้ว
สรีระของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ไม่เน่าเปื่อย ประดิษฐานบนบุษบก ภายในพระวิหารแก้วร้อยเมตร วัดท่าซุง |
กลับมาเรื่องพระคาถาเงินล้าน.. ปรกติพระคาถาที่ได้จากกรรมฐานจะไม่นำมาบอกใคร แต่ในคืนวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2527 ก่อนขึ้นศักราชใหม่ "พระ" ได้อนุญาตให้ลูกหลานพุทธบริษัทนำไปใช้ได้เป็นสาธารณะ เพื่อช่วยบรรเทาสภาวะเศรษฐกิจที่จะย่ำแย่ในปี พ.ศ. 2528
ความจริง "พระ" มาเตือนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 บอกว่าปี พ.ศ. 2527 มีอะไรก็ตุนไว้บ้างนะ ปี พ.ศ. 2528 จะเครียดมาก ซึ่งก็ตรงตามที่ท่านบอก ในวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 รัฐบาลในขณะนั้นประกาศลดค่าเงินบาทครั้งสำคัญและปรับเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรามาเป็นระบบตะกร้าเงิน เพื่อจะไม่ผูกค่าเงินไว้กับเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ ก็มีมาตรการจำกัดการใช้ไฟฟ้า เวลาเปิด-ปิด สถานีจำหน่ายน้ำมัน การจำกัดสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ฯลฯ ซึ่งกว่าประเทศจะผ่านพ้นวิกฤติครั้งนั้นมาได้ ก็ได้รับผลกระทบกันทั่วหน้า มากบ้างน้อยบ้าง
* พรหมา ออกเสียงว่า พรม-มา
** สวาโหม ออกเสียงว่า สะ-หวา-โหม
กล่าวถึงความเป็นมาของพระคาถาแต่ละบทที่ประกอบกันเข้าเป็น "พระคาถาเงินล้าน" ...
- สัมปะติจฉามิ - บทนี้เป็นบทเร่งลาภให้ได้เร็วขึ้น
พระคาถาทั้งหมดนี้ ต้องสวดเป็นบทเดียวกัน เวลาสวดมนต์บูชาพระแล้ว ให้สวดพระคาถานี้ 9 จบ เวลานอน ภาวนาพระคาถานี้ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งหลับไปเลยก็ได้ เวลาว่าง ๆ นั่งนึกก็ได้ เดินนึกก็ได้ ให้มันติดอยู่ในใจอย่างนั้น ถือเป็นกรรมฐานไปในตัวเสร็จ
เวลาภาวนา อย่าไปหวังเอาลาภ อย่าภาวนาด้วยความอยาก จะทำให้จิตฟุ้งซ่าน วางอารมณ์สบาย ๆ สำคัญคือให้จิตทรงสมาธิขณะที่ภาวนา ภาวนาด้วยจิตที่เคารพว่าพระคาถานี้เป็นสมบัติล้ำค่าที่ครูอาจารย์ท่านมอบให้
ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ให้ใส่บาตรพระภิกษุสามเณรเป็นนิจ อย่างน้อยหนึ่งรูปขึ้นไป ทุกวันมิได้ขาด หากใส่บาตรไม่ทัน หรือในย่านที่พักอาศัยไม่มีพระผ่านมารับบิณฑบาต ท่านก็แนะนำให้หาบาตรใบเล็ก ๆ หรือใช้ภาชนะที่หาได้ง่าย เช่น ขวดแก้ว กระป๋อง กระปุก หยอดเงินใส่เพียงวันละหนึ่งบาท หรือมากกว่านั้นก็ได้ตามอัธยาศัย หยอดทุกวัน วันใดที่ลืมก็ให้ใส่ทบเข้าไปในวันรุ่งขึ้น เมื่อได้เงินจำนวนพอประมาณ ก็ซื้อของนำไปถวายพระเป็นสังฆทาน หรือหยอดใส่ตู้รับบริจาคตามวัดต่าง ๆ เป็นค่าภัตตาหารพระเณร ค่าน้ำค่าไฟฟ้า หรือจะนำไปบริจาคให้กับวัดที่กำลังบูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะ โรงพยาบาล โรงเรียน เป็นวิหารทานก็ได้
เงินที่จะนำไปทำบุญ ไม่จำเป็นต้องเจาะจงว่าเป็นเหรียญที่หยอดลงในกระปุกแล้วเท่านั้น สามารถนำไปแลกเป็นธนบัตร หรือจะไปโอนที่ธนาคาร หรือจะซื้อธนาณัติ อย่างไรก็ได้ทั้งนั้น แม้หาเหรียญสำหรับหยอดไม่ได้ จะแลกจากเหรียญที่หยอดลงไปในกระปุกแล้วก็ได้
การใส่บาตรนี้เป็นกุศโลบายให้บำเพ็ญทานบารมี ซึ่งจะส่งผลให้ได้รับความมั่งคั่งบริบูรณ์ ส่วนการใส่บาตรทุกวันนั้น ก็เพื่อให้จิตใจแนบอยู่กับบุญ ให้ระลึกถึงบุญอยู่เสมอ พระพุทธองค์ตรัสว่า "บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบุญเล็กน้อยว่าจะไม่มาถึง แม้หม้อน้ำก็ยังเต็มด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมาฉันใด ผู้ฉลาดเมื่อสะสมบุญแม้ทีละน้อยทีละน้อย ก็ย่อมเต็มด้วยบุญฉะนั้น"
ความจริง "พระ" มาเตือนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 บอกว่าปี พ.ศ. 2527 มีอะไรก็ตุนไว้บ้างนะ ปี พ.ศ. 2528 จะเครียดมาก ซึ่งก็ตรงตามที่ท่านบอก ในวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 รัฐบาลในขณะนั้นประกาศลดค่าเงินบาทครั้งสำคัญและปรับเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรามาเป็นระบบตะกร้าเงิน เพื่อจะไม่ผูกค่าเงินไว้กับเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ ก็มีมาตรการจำกัดการใช้ไฟฟ้า เวลาเปิด-ปิด สถานีจำหน่ายน้ำมัน การจำกัดสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ฯลฯ ซึ่งกว่าประเทศจะผ่านพ้นวิกฤติครั้งนั้นมาได้ ก็ได้รับผลกระทบกันทั่วหน้า มากบ้างน้อยบ้าง
พระคาถาเงินล้าน
การสวด ให้เริ่มด้วยการตั้ง "นะโมฯ" 3 จบ ดังนี้
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
จากนั้น ว่าพระคาถาดังนี้
สัมปะจิตฉามิ
นาสังสิโม
พรหมา* จะ มหาเทวา สัพเพยักขา ปะลายันติ
พรหมา* จะ มหาเทวา อภิลาภา ภะวันตุ เม
มหาปุญโญ มหาลาโภ ภะวันตุ เม
มิเตพาหุหะติ
พุทธะ มะอะอุ นะโมพุทธายะ
วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา
วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย
วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา
วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย
พุทธัสสะ มานีมามะ พุทธัสสะ สวาโหม **
สัมปะติจฉามิ
เพ็ง ๆ พา ๆ หา ๆ ฤา ๆ
สัมปะติจฉามิ
เพ็ง ๆ พา ๆ หา ๆ ฤา ๆ
* พรหมา ออกเสียงว่า พรม-มา
** สวาโหม ออกเสียงว่า สะ-หวา-โหม
กล่าวถึงความเป็นมาของพระคาถาแต่ละบทที่ประกอบกันเข้าเป็น "พระคาถาเงินล้าน" ...
- สัมปะจิตฉามิ - บทนี้เป็นคาถาอภิญญา ผู้ที่ได้อภิญญามาแต่ชาติปางก่อน ถ้าใช้พระคาถาบทนี้ ของเก่าจะรวมตัว นอกจากนี้ ยังมีผลสนองกลับต่อผู้ที่กระทำคุณไสย หลวงพ่อฤาษีลิงดำเล่าว่า เมื่อปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2529 ขณะพำนักอยู่ที่ Queenstown ประเทศนิวซีแลนด์ มีผู้กระทำคุณไสยใส่หลวงพ่อ ทำให้ขยับเขยื้อนกายไม่ได้ คล้ายเป็นอัมพาต "พระ" มาบอกให้แก้ด้วยการภาวนาพระคาถาบทนี้
ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการ มูลนิธิชัยพัฒนา |
เรื่องการกระทำคุณไสยหรือลมเพลมพัดนี้ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เคยประสบกับตนเองเช่นกัน คือ อยู่ ๆ หน้าตาก็หมดราศี ดูดำคล้ำ แม้ตัวเองก็รู้สึกได้ อารมณ์ก้าวร้าวรุนแรงผิดปรกติ เวลาใครทำอะไรให้ไม่พอใจ ก็ด่าเขาหยาบ ๆ เล่นเขาแรง ๆ คุมสติตัวเองไม่ได้ อารมณ์เสียตลอดเวลา ขณะที่กำลังกังวลใจอยู่ มีรองอธิบดีกรมที่ดินโทรมาชวนว่าจะพาไปดูอะไรประหลาด ๆ แล้วก็เอารถมารับไปที่สำนักของอาจารย์โสมทัต เขมจารี ตอนที่ไปถึงนั้น อาจารย์กำลังทำพิธี "ถอนของ" คนที่มาถอนของบางคนอาเจียนเป็นลูกหมากเขียนยันต์เต็ม บางคนมีของออกจากตัวแบบแปลก ๆ ดร.สุเมธ นั่งดูจนเกือบเที่ยงคืน อาจารย์โสมทัตก็หันมาเรียก บอกว่า "เอ็งน่ะ..นอน" อาจารย์ให้ ดร.สุเมธ นอนบนแคร่ยาว เอาน้ำมันมนต์มาทาที่หน้าอก นวด ๆ ทา ๆ แล้วก็เขียนยันต์ จากนั้นก็พูดขึ้นว่า "รู้นะ พวกนักเรียนนอกเนี่ย พูดอะไรไปก็ไม่เชื่อหรอก ฉะนั้นให้คนที่มาด้วยนั่นแหละมาถอนของ" ตอนนั้น คุณมนูญ มุกข์ประดิษฐ์ รองเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ไปกับ ดร.สุเมธ ด้วย อาจารย์โสมทัตจึงให้คุณมนูญใช้มีดหมอ 2 เล่มบ่งของออกจากหน้าอกเหมือนบ่งเข็ม ปรากฏว่าดึงออกมาเป็นตะปู 2 ตัว เป็นเบ็ดตกปลายืดตรง 1 ตัว ตอนที่บ่งออกไม่รู้สึกเจ็บอะไร เพียงแสบ ๆ คัน ๆ นิดหน่อย พอวันรุ่งขึ้น หน้าตาที่เคยดำคล้ำก็หายไปเป็นปรกติ ไม่หงุดหงิดอารมณ์เสีย อาจารย์ถาม ดร.สุเมธ ว่า พักนี้ได้เดินทางไปแถบชายแดนเขมรบ้างหรือเปล่า เพราะคนมีวิชาจะไปปล่อยของที่นั่นทุกวันพระ !
- นาสังสิโม - บทนี้เป็นคาถาพญาเต่าเรือน หรือ คาถาพระพุทธกัสสปะ โบราณว่าเป็นคาถาสารพัดใช้ อธิษฐานเอาเถิด มีอานุภาพมาก โดยเฉพาะด้านโชคลาภ ภาวนาไปเรื่อย ๆ ไม่มีคำว่าอด แต่เดิมพระคาถาเงินล้านไม่มีบทนี้ หลวงพ่อให้ท่องเพิ่มเติมหน้าพระคาถาในปี พ.ศ. 2532
พระพุทธกัสสปะ คือ พระพุทธเจ้าองค์ที่สามในจำนวนพระพุทธเจ้าทั้งหมดห้าพระองค์ที่อุบัติขึ้นในกัปนี้ พระพุทธเจ้าที่อุบัติขึ้นแล้วมี 4 พระองค์ คือ พระกะกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระพุทธกัสสปะ พระโคตมะซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย และจะอุบัติขึ้นในอนาคตกาลอีกหนึ่งพระองค์คือ พระศรีอารยเมตไตรย หรือ พระศรีอารย์ การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นการยาก แต่ในกัปนี้ มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นถึงห้าพระองค์ด้วยกัน จึงเรียกว่า "ภัทรกัป" แปลว่า กัปเจริญ
กัปหนึ่ง ๆ มีระยะเวลายาวนานมาก ไม่เป็นการง่ายที่จะนับว่ามีกี่หมื่นกี่แสนปี แต่กำหนดโดยอุปมาว่า ภูเขาหินใหญ่ ยาวหนึ่งโยชน์ กว้างหนึ่งโยชน์ สูงหนึ่งโยชน์ เป็นก้อนหินทึบ ไม่มีโพรง ทุก ๆ ร้อยปี จะมีบุรุษนำผ้าทอมาลูบผู้เขาหินแท่งนี้ครั้งหนึ่ง จนภูเขาหินนั้นราบเรียบเป็นหน้ากลอง แต่กัปยังไม่สิ้น
กัปหนึ่ง ๆ มีระยะเวลายาวนานมาก ไม่เป็นการง่ายที่จะนับว่ามีกี่หมื่นกี่แสนปี แต่กำหนดโดยอุปมาว่า ภูเขาหินใหญ่ ยาวหนึ่งโยชน์ กว้างหนึ่งโยชน์ สูงหนึ่งโยชน์ เป็นก้อนหินทึบ ไม่มีโพรง ทุก ๆ ร้อยปี จะมีบุรุษนำผ้าทอมาลูบผู้เขาหินแท่งนี้ครั้งหนึ่ง จนภูเขาหินนั้นราบเรียบเป็นหน้ากลอง แต่กัปยังไม่สิ้น
พระพุทธกัสสปะ |
ในชาดกเรื่องกาเผือก เล่าเรื่องราวการอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ว่า มีพญากาเผือกสองผัวเมียทำรังอยู่บนต้นมะเดื่อใหญ่ ต่อมาแม่กาเผือกออกไข่ 5 ฟอง วันหนึ่งกาเผือกสองผัวเมียออกไปหาอาหาร เกิดพายุฟ้าคะนอง ไข่ทั้งห้าฟองถูกลมพัดตกจากต้นไม้ลอยไปตามกระแสน้ำ เมื่อแม่กากลับมาไม่เห็นไข่ ก็พยายามออกตามหาแต่ไม่พบ ด้วยความอาลัยต่อไข่ของตน ทำให้ไม่เป็นอันกินอันนอน มีแต่ความโศกเศร้าอาดูร ในที่สุดก็ตรอมใจตาย ด้วยแรงแห่งกุศลกรรมและบุญบารมีที่เป็นผู้ให้กำเนิดหน่อพุทธางกูร คือผู้ที่จะได้เป็นพระพุทธเจ้าในภายภาคหน้า ส่งผลให้แม่กาเผือกไปเกิดในพรหมโลกชั้นสุทธาวาส มีชื่อว่า ฆฏิการมหาพรหม
ส่วนไข่ทั้งห้าฟองที่ตกลงไปในแม่น้ำก็ลอยไปคนละทิศละทาง ฟองที่หนึ่งแม่ไก่เก็บได้ ฟองที่สองแม่นาคเก็บได้ ฟองที่สามแม่เต่าเก็บได้ ฟองที่สี่แม่โคเก็บได้ ฟองที่ห้าแม่ราชสีห์เก็บได้
แม่สัตว์ทั้งหลายเฝ้าฟูมฟักไข่ด้วยความรัก ไม่นานก็ฟักออกเป็นมนุษย์ เมื่อโตเป็นหนุ่ม ได้ออกบวชเป็นฤาษีบำเพ็ญบารมีในป่า ต่อมาฤาษีทั้งห้าได้โคจรมาพบกัน เมื่อสอบถามความเป็นมาของกันและกันแล้ว ก็สันนิษฐานว่า ทั้งหมดคงเป็นพี่น้องเกิดร่วมท้องมารดาเดียวกัน จึงพากันอธิษฐานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอให้ได้พบมารดาผู้ให้กำเนิด คำอธิษฐานก้องไปถึงพรหมโลก ท้าวฆฏิการมหาพรหม หรือแม่กาเผือกในอดีตชาติ จึงจำแลงร่างเป็นแม่กาเผือกมาปรากฏให้เห็น ฤาษีทั้งห้าก็ทราบด้วยญาณว่านี่คือแม่บังเกิดเกล้า และกราบขอรอยเท้าแม่กาเผือกไว้บูชา แม่กาเผือกจึงนำเอาฝ้ายมาฟั่นเป็นสามแฉกแบบตีนกา ไว้ใช้เป็นไส้ประทีปจุดบูชาพระ เป็นที่มาของประเพณีจุดประทีปบูชาในวันยี่เป็งของล้านนา ฤาษีทั้งห้า เวียนว่ายตายเกิดอยู่หลายอสงไขยกัป ต่างประพฤติพรหมจรรย์และบำเพ็ญบารมี พี่ชายคนโตบารมีเต็มบริบูรณ์ก่อน จึงบรรลุเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จากนั้นก็เป็นน้อง ๆ ถัดมาตามลำดับ เป็นที่มาของพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ มีพระนามตามแม่เลี้ยงที่นำไข่ไปฟูมฟักเลี้ยงดู คือ
องค์ที่ 1 มีพระนามว่า พระกะกุสันธะ ตามนามแม่เลี้ยงที่เป็นไก่
องค์ที่ 2 มีพระนามว่า พระโกนาคมนะ ตามนามแม่เลี้ยงที่เป็นนาคราช
องค์ที่ 3 มีพระนามว่า พระพุทธกัสสปะ ตามนามแม่เลี้ยงที่เป็นเต่า
องค์ที่ 4 มีพระนามว่า พระโคตมะ ตามนามแม่เลี้ยงที่เป็นโค
องค์ที่ 5 มีพระนามว่า พระศรีอารยเมตไตรย ตามนามแม่เลี้ยงที่เป็นราชสีห์
เมื่อพระโพธิสัตว์องค์ไหนจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ฆฏิการมหาพรหมผู้เป็นแม่ก็จะนำสมณบริขารมาถวายลูกพระโพธิสัตว์จนครบทั้งห้าพระองค์
- พรหมา จะ มหาเทวา สัพเพยักขา ปะลายันติ - บทนี้ตัดอุปสรรคที่ลาภจะมาส่วนไข่ทั้งห้าฟองที่ตกลงไปในแม่น้ำก็ลอยไปคนละทิศละทาง ฟองที่หนึ่งแม่ไก่เก็บได้ ฟองที่สองแม่นาคเก็บได้ ฟองที่สามแม่เต่าเก็บได้ ฟองที่สี่แม่โคเก็บได้ ฟองที่ห้าแม่ราชสีห์เก็บได้
แม่สัตว์ทั้งหลายเฝ้าฟูมฟักไข่ด้วยความรัก ไม่นานก็ฟักออกเป็นมนุษย์ เมื่อโตเป็นหนุ่ม ได้ออกบวชเป็นฤาษีบำเพ็ญบารมีในป่า ต่อมาฤาษีทั้งห้าได้โคจรมาพบกัน เมื่อสอบถามความเป็นมาของกันและกันแล้ว ก็สันนิษฐานว่า ทั้งหมดคงเป็นพี่น้องเกิดร่วมท้องมารดาเดียวกัน จึงพากันอธิษฐานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอให้ได้พบมารดาผู้ให้กำเนิด คำอธิษฐานก้องไปถึงพรหมโลก ท้าวฆฏิการมหาพรหม หรือแม่กาเผือกในอดีตชาติ จึงจำแลงร่างเป็นแม่กาเผือกมาปรากฏให้เห็น ฤาษีทั้งห้าก็ทราบด้วยญาณว่านี่คือแม่บังเกิดเกล้า และกราบขอรอยเท้าแม่กาเผือกไว้บูชา แม่กาเผือกจึงนำเอาฝ้ายมาฟั่นเป็นสามแฉกแบบตีนกา ไว้ใช้เป็นไส้ประทีปจุดบูชาพระ เป็นที่มาของประเพณีจุดประทีปบูชาในวันยี่เป็งของล้านนา ฤาษีทั้งห้า เวียนว่ายตายเกิดอยู่หลายอสงไขยกัป ต่างประพฤติพรหมจรรย์และบำเพ็ญบารมี พี่ชายคนโตบารมีเต็มบริบูรณ์ก่อน จึงบรรลุเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จากนั้นก็เป็นน้อง ๆ ถัดมาตามลำดับ เป็นที่มาของพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ มีพระนามตามแม่เลี้ยงที่นำไข่ไปฟูมฟักเลี้ยงดู คือ
องค์ที่ 1 มีพระนามว่า พระกะกุสันธะ ตามนามแม่เลี้ยงที่เป็นไก่
องค์ที่ 2 มีพระนามว่า พระโกนาคมนะ ตามนามแม่เลี้ยงที่เป็นนาคราช
องค์ที่ 3 มีพระนามว่า พระพุทธกัสสปะ ตามนามแม่เลี้ยงที่เป็นเต่า
องค์ที่ 4 มีพระนามว่า พระโคตมะ ตามนามแม่เลี้ยงที่เป็นโค
องค์ที่ 5 มีพระนามว่า พระศรีอารยเมตไตรย ตามนามแม่เลี้ยงที่เป็นราชสีห์
เมื่อพระโพธิสัตว์องค์ไหนจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ฆฏิการมหาพรหมผู้เป็นแม่ก็จะนำสมณบริขารมาถวายลูกพระโพธิสัตว์จนครบทั้งห้าพระองค์
- พรหมา จะ มหาเทวา อภิลาภา ภะวันตุเม - บทนี้เป็นคาถาเงินแสน หลวงพ่อได้มาขณะที่กำลังบวงสรวง ได้ใช้พระคาถานี้ประมาณครึ่งปี กฐินปีนั้นได้เงินเป็นแสน สมัยนั้นวัดต่าง ๆ เขาทอดกฐินผ้าป่ากันได้เงินไม่ถึงหมื่น
- มหาปุญโญ มหาลาโภ ภะวันตุเม - บทนี้เป็นคาถาปลุกพระของวัดพนัญเชิง เจ้าอาวาสรูปแรกท่านไปนั่งกรรมฐานแล้วเสกด้วยพระคาถาบทนี้สามปี วัดพนัญเชิงมีเงินไหลเข้าไม่เคยขาด
- มหาปุญโญ มหาลาโภ ภะวันตุเม - บทนี้เป็นคาถาปลุกพระของวัดพนัญเชิง เจ้าอาวาสรูปแรกท่านไปนั่งกรรมฐานแล้วเสกด้วยพระคาถาบทนี้สามปี วัดพนัญเชิงมีเงินไหลเข้าไม่เคยขาด
- มิเตพาหุหะติ - บทนี้เป็นคาถาเงินล้าน
- พุทธะ มะอะอุ นะโมพุทธายะ วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มานีมามะ พุทธัสสะ สวาโหม - บทนี้เป็นพระคาถาพระปัจเจกโพธิ์โปรดสัตว์
- พุทธะ มะอะอุ นะโมพุทธายะ วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มานีมามะ พุทธัสสะ สวาโหม - บทนี้เป็นพระคาถาพระปัจเจกโพธิ์โปรดสัตว์
- สัมปะติจฉามิ - บทนี้เป็นบทเร่งลาภให้ได้เร็วขึ้น
- เพ็ง ๆ พา ๆ หา ๆ ฤา ๆ - บทนี้เป็นภาษาโบราณ เมื่อเทียบเสียง เขียนออกมาเป็นภาษาไทยได้อย่างนี้ เป็นคาถามหาลาภ มีผลยิ่งใหญ่มาก พระปัจเจกพุทธเจ้ามาบอกกับหลวงพ่อเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2533
เวลาภาวนา อย่าไปหวังเอาลาภ อย่าภาวนาด้วยความอยาก จะทำให้จิตฟุ้งซ่าน วางอารมณ์สบาย ๆ สำคัญคือให้จิตทรงสมาธิขณะที่ภาวนา ภาวนาด้วยจิตที่เคารพว่าพระคาถานี้เป็นสมบัติล้ำค่าที่ครูอาจารย์ท่านมอบให้
เงินที่จะนำไปทำบุญ ไม่จำเป็นต้องเจาะจงว่าเป็นเหรียญที่หยอดลงในกระปุกแล้วเท่านั้น สามารถนำไปแลกเป็นธนบัตร หรือจะไปโอนที่ธนาคาร หรือจะซื้อธนาณัติ อย่างไรก็ได้ทั้งนั้น แม้หาเหรียญสำหรับหยอดไม่ได้ จะแลกจากเหรียญที่หยอดลงไปในกระปุกแล้วก็ได้
การใส่บาตรนี้เป็นกุศโลบายให้บำเพ็ญทานบารมี ซึ่งจะส่งผลให้ได้รับความมั่งคั่งบริบูรณ์ ส่วนการใส่บาตรทุกวันนั้น ก็เพื่อให้จิตใจแนบอยู่กับบุญ ให้ระลึกถึงบุญอยู่เสมอ พระพุทธองค์ตรัสว่า "บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบุญเล็กน้อยว่าจะไม่มาถึง แม้หม้อน้ำก็ยังเต็มด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมาฉันใด ผู้ฉลาดเมื่อสะสมบุญแม้ทีละน้อยทีละน้อย ก็ย่อมเต็มด้วยบุญฉะนั้น"
พระคำข้าว พระมหาลาภ นิยมบูชาคู่กับการสวดพระคาถาเงินล้าน |
แม้ในปัจจุบัน ผู้ที่ประสบกับปรากฏการณ์อัศจรรย์จากการสวดภาวนาพระคาถาพระปัจเจกโพธิ์โปรดสัตว์และพระคาถาเงินล้านก็มีอยู่ไม่น้อย
มีอยู่รายหนึ่ง อยากลองพระคาถานี้ เพราะอยากรวย แต่ติดขัดตรงที่ไม่ค่อยมีเวลาใส่บาตร จึงนำเหรียญสตางค์ที่เหลือติดกระเป๋าในแต่ละวัน สะสมเก็บไว้ที่หน้าหิ้งพระ ใช้จบอธิษฐานแทนการใส่บาตร พอรวบรวมเงินได้จำนวนหนึ่ง ก็นำไปทำบุญตามวัด ตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ให้ทุนการศึกษาเด็กนักเรียน รวมถึงการสงเคราะห์ให้ทานผู้ยากไร้ ทำไปเช่นนี้พร้อมกับการสวดภาวนา พระคาถาพระปัจเจกโพธิ์โปรดสัตว์ พระคาถาบูชาพระสีวลี และ พระคาถาบูชาพระมหากัจจายนะ
จะเป็นด้วยอำนาจพระคาถาบทใดบทหนึ่งหรือทั้งสามบทก็ไม่อาจทราบได้ ในระยะที่สวดภาวนาพระคาถาอยู่ จะมีงานพิเศษที่นอกเหนือจากงานหลักเข้ามาเสมอ ๆ ชนิดที่เรียกว่าทำกันจนเพลีย เมื่องานมากขึ้น รายได้ก็มากขึ้น ต้องเหนื่อยกับงานและการหาเงินทองแทบไม่มีเวลาได้พักผ่อน สุดท้ายมาคิดได้ว่า พอดีกว่า จึงตัดสินใจหยุดท่องพระคาถาทั้งสามบท ปรากฏว่างานพิเศษต่าง ๆ ที่เคยมีเข้ามาก็ค่อย ๆ ลดลงไปเป็นปรกติ นับเป็นเรื่องแปลก
อีกรายหนึ่ง กำลังมองหางานใหม่ เพราะงานที่ทำอยู่นั้น ลูกหลานเจ้าของบริษัทเขาเรียนจบจากต่างประเทศ ก็ทยอยกันมาดูแลกิจการแทนพ่อแม่ คนเก่าคนก่อนที่เคยร่วมบุกเบิกงานกันมาตั้งแต่ต้นก็รู้สึกอึดอัด ถูกลดทอนบทบาทหน้าที่และความสำคัญลง สำหรับรายนี้ สมัครงานไปแล้วหลายที่ แต่ยังไม่มีที่ใดตอบรับเรียกตัวไปสัมภาษณ์ ลูกก็ยังเล็ก อยู่ในวัยกำลังกินกำลังใช้เงิน
ขณะที่กำลังสับสนกังวลใจอยู่นั้น มีอยู่คืนหนึ่ง หลังจากสวดมนต์ไหว้พระตามปรกติแล้ว ก็ถือโอกาสทำความสะอาดโต๊ะหมู่บูชาพระไปด้วย ไปพบกระดาษแผ่นเล็ก ๆ พิมพ์ข้อความว่า "คาถาเงินล้าน ตั้งนะโม 3 จบ พรหมา จะ มหาเทวา ... (ตัวพระคาถา จัดเรียงไว้ 8 บรรทัด)... สัมปะติจฉามิ" แล้วลงท้ายว่า ของขวัญปีใหม่จาก พระสุธรรมยานเถร
พลิกไปอีกด้านหนึ่ง มีข้อความพิมพ์บอกว่า "หลวงพ่อได้คาถาเหล่านี้โดยตรงจากองค์สมเด็จฯ ตั้งแต่ปี 2517 เป็นเวลา 4 ปี จึงจะได้ครบถ้วน ท่านบอกว่าคาถาที่ได้จากกรรมฐานเขาจะไม่บอกใคร เมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 27 เวลา 23.59 องค์สมเด็จฯ ได้อนุญาตให้ลูกหลานและพุทธบริษัทใช้ได้เป็นสาธารณะ เพื่อช่วยบรรเทาสภาวะเศรษฐกิจที่จะย่ำแย่ในปี 2528 อีกทั้งการก่อสร้างต่อไปนี้จะต้องเร่งรัดให้ทันฉลองวัดในปี 2530 จึงจำเป็นที่จะต้องใช้คาถาเหล่านี้ด้วย เพื่อบรรดาลูกหลานทั้งหลายจะได้คล่องตัวยิ่งขึ้น" แล้วลงท้ายว่า อภินันทนาการจาก ธัมมวิโมกข์ 1 ม.ค. 28
พลิกอ่านไปมา 2-3 รอบ นึกไม่ออกว่า ได้กระดาษแผ่นเล็ก ๆ นี้มาจากที่ไหนตั้งแต่เมื่อไหร่ "พระสุธรรมยานเถร" (สมณศักดิ์ของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ระหว่างปี พ.ศ. 2527-2532) ที่ปรากฏชื่ออยู่บนกระดาษ เป็นใครที่ไหนก็ไม่รู้จัก ธัมมวิโมกข์คือใครก็ไม่ทราบ เพียงแต่มีความรู้สึกว่าน่าสนใจ จึงลองนำไปหัดสวดจนจำได้ขึ้นใจ เวลาสวดมนต์ไหว้พระก่อนนอน ก็ปิดท้ายด้วยบทสวดพระคาถานี้ 9 จบตามที่บอกไว้ในกระดาษ เวลาว่าง แทนที่จะปล่อยใจให้คิดฟุ้งซ่าน ก็ภาวนาพระคาถานี้แทน ทำเช่นนี้อยู่ไม่นาน วันหนึ่งก็มีเพื่อนชาวต่างชาติติดต่อมา บอกว่ากำลังขยายงาน ต้องการชักชวนให้ไปร่วมงานด้วย
ตั้งแต่นั้นมา ชีวิตก็เปลี่ยนไปจากเดิมมาก ต้องเดินทางไปเจรจาธุรกิจการค้าในหลาย ๆ ประเทศ ทั้งในเอเชียและยุโรป เดินทางเกือบทุกเดือน ตอนที่ได้งานใหม่ ๆ ก็ดีใจ มีความสุขและภูมิใจกับตำแหน่งหน้าที่การงาน แต่พอเวลาผ่านไปหลายปีก็เริ่มเครียด ถึงแม้รายได้จะเพิ่มขึ้นจากเดิมหลายเท่า แต่ปริมาณงานก็เพิ่มมากขึ้นหลายเท่าตามไปด้วยจนแทบไม่มีเวลาพักผ่อน ไม่มีเวลาส่วนตัวให้กับครอบครัว โดยเฉพาะลูกซึ่งกำลังโตเป็นวัยรุ่นและใกล้สอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย กลายเป็นว่าไม่มีความสุขในงานที่ทำเอาเสียเลย ถึงกับบ่นกับภรรยาและคนใกล้ชิดอยู่เสมอ ๆ ว่าอยากลาออก ไม่อยากทำแล้ว บ่นมาก ๆ เข้า สุดท้าย ก็ได้ตกงานสมใจ
รายต่อมาเป็นสุภาพสตรี เล่าประสบการณ์ว่า วันหนึ่งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2525 ทราบข่าวว่า หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง จะมาโปรดญาติโยมที่บ้านซอยสายลม กรุงเทพฯ เพราะเป็นวันเกิดของท่าน มีพระธาตุมาแจกญาติโยมด้วย จึงรีบออกเดินทางไปแต่เช้า ปรากฏว่าผู้คนหลั่งไหลมาแน่นขนัด เธอมีเงินติดตัวอยู่ประมาณ 300 บาท จึงถวายเงินทำบุญวันเกิดหลวงพ่อฤาษีลิงดำ 100 บาท ได้รับแจกพระธาตุและคาถาหลวงพ่อปาน อ่านแล้วก็พับใส่กระเป๋าถือ ไม่ได้สนใจใยดี
เธอเล่าว่า จากเดิมที่เคยเตรียมเงินใส่ซองทำบุญ ซองละ 20 บาท แต่ทำด้วยจิตที่เปี่ยมด้วยศรัทธา ปัจจุบัน จะสร้างวิหารทานที่ใด ก็สามารถช่วยเหลือทางวัดได้ครั้งละ 100,000 - 200,000 บาท ทั้งยังเป็นเจ้าของบ้าน เจ้าของที่ดินอีกหลายแปลงภายในระยะเวลาอันสั้น จนเพื่อนฝูงแปลกใจ
แล้วก็มานึกว่า เมื่อก่อน หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ท่านบอกพระคาถาพระปัจเจกโพธิ์โปรดสัตว์ให้กับลูกศิษย์ มีคนนำไปปฏิบัติแล้วเห็นผลคือนายห้างประยงค์ ตั้งตรงจิตร พอมาถึงสมัยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ท่านบอกพระคาถาเงินล้าน ตนจะนำไปปฏิบัติให้เห็นผลเป็นตัวอย่างบ้าง จึงเพิ่มการภาวนา จาก 9 จบ เป็น 30 จบ แล้วเพิ่มเป็น 120 จบ
พยายามจะใช้เงินให้หมด ก็ไม่มีทางหมด ลองถึงขนาดสามทุ่มซื้อน้ำหวานถวายพระจนหมดตัว สี่ทุ่มเขาเรียกไปสวดศพรับเงินมาจนได้ จะไปธุดงค์เทกระเป๋าทำบุญเกลี้ยง ก็มีคนตามถวาย หมดเมื่อไรได้ทันที เขาถวายจนระอาใจ ต้องพกเงินไปธุดงค์ด้วย ทุเรศตัวเองชะมัดเลย... หลวงพ่อเล็กเล่าไว้อย่างนี้
จาก 300 จบก็เพิ่มไปเรื่อย ๆ จนถึง 1,200 จบ ท่านว่าภาวนาสบาย ๆ ไม่ได้เร่งเอาจำนวน เริ่มภาวนาตั้งแต่ตื่นนอนตอนตีสาม ไปครบเอาตอนหนึ่งทุ่ม พูดได้ว่า ถ้านับในส่วนของพระด้วยกัน นอกจากหลวงพ่อฤาษีลิงดำวัดท่าซุงแล้ว การเงินของหลวงพ่อเล็กมีความคล่องตัวที่สุด ท่านสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรมเกาะพระฤาษีจากผืนดินว่างเปล่า ใช้เวลาเพียง 13 เดือน สำเร็จครบถ้วนสมบูรณ์ สร้างวัดพร้อมกันคราวละ 4-5 วัด โดยไม่สะดุดและไม่ต้องกลัวว่าเงินไม่พอ
การสวด ให้เริ่มด้วยการตั้ง "นะโมฯ" 3 จบ ดังนี้
ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา หรือ ครูบาวงศ์ เป็นพระสุปฏิปันโนและพระนักพัฒนา เป็นพระอริยเจ้าผู้ทรงอภิญญาญาณ ท่านบูรณะวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จากสภาพวัดร้าง กลายเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองดังที่ปรากฏอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้ ตรงตามที่ครูบาเจ้าชัยลังกาและครูบาเจ้าศรีวิชัยเคยพยากรณ์ไว้ว่า "วัดพระพุทธบาทห้วยข้าวต้มนั้น วันหนึ่ง จะมีพระน้อยเมืองตื๋นมาสร้าง" ขณะที่ท่านอยู่ที่เมืองตื๋นนั้น ชาวบ้านชาวเขาต่างเรียกท่านว่าน้อย เมื่อท่านมาอยู่ที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ชาวบ้านทั้งหลายจึงเชื่อว่า ท่านคือพระน้อยเมืองตื๋น ตามคำจารึกโบราณของวัด
ชีวิตในวัยเด็กของครูบาวงศ์ลำบากยากแค้นมาก โยมบิดาของครูบาจะอบรมสั่งสอนลูก ๆ ของท่านอยู่เสมอว่า ตอนนี้พ่อแม่อด ลูกทุกคนก็อด แต่ลูก ๆ ทุกคนอย่าท้อแท้ใจ ค่อยทำบุญไปเรื่อย ๆ บุญมี ภายหน้าก็จะสบาย เมื่อครูบาวงศ์อายุได้ 20 ปี ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า จังหวัดลำพูน เป็นพระอุปัชฌาย์ ครูบาพรหมจักรเคยกล่าวยกย่องครูบาวงศ์ต่อหน้าลูกศิษย์นับร้อยว่า "..พวกลูกมีบุญมากและโชคดีที่ได้มาพบพระระดับหลวงพ่อวงศ์ ซึ่งเป็นพระปฏิบัติดี มีคุณธรรมสูง เคยเดินธุดงค์มาด้วยกันกับท่าน หลวงพ่อได้อะไร หลวงพ่อวงศ์ก็ได้เช่นเดียวกัน ไม่ด้อยไปกว่ากันเลย.."
มีอยู่รายหนึ่ง อยากลองพระคาถานี้ เพราะอยากรวย แต่ติดขัดตรงที่ไม่ค่อยมีเวลาใส่บาตร จึงนำเหรียญสตางค์ที่เหลือติดกระเป๋าในแต่ละวัน สะสมเก็บไว้ที่หน้าหิ้งพระ ใช้จบอธิษฐานแทนการใส่บาตร พอรวบรวมเงินได้จำนวนหนึ่ง ก็นำไปทำบุญตามวัด ตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ให้ทุนการศึกษาเด็กนักเรียน รวมถึงการสงเคราะห์ให้ทานผู้ยากไร้ ทำไปเช่นนี้พร้อมกับการสวดภาวนา พระคาถาพระปัจเจกโพธิ์โปรดสัตว์ พระคาถาบูชาพระสีวลี และ พระคาถาบูชาพระมหากัจจายนะ
จะเป็นด้วยอำนาจพระคาถาบทใดบทหนึ่งหรือทั้งสามบทก็ไม่อาจทราบได้ ในระยะที่สวดภาวนาพระคาถาอยู่ จะมีงานพิเศษที่นอกเหนือจากงานหลักเข้ามาเสมอ ๆ ชนิดที่เรียกว่าทำกันจนเพลีย เมื่องานมากขึ้น รายได้ก็มากขึ้น ต้องเหนื่อยกับงานและการหาเงินทองแทบไม่มีเวลาได้พักผ่อน สุดท้ายมาคิดได้ว่า พอดีกว่า จึงตัดสินใจหยุดท่องพระคาถาทั้งสามบท ปรากฏว่างานพิเศษต่าง ๆ ที่เคยมีเข้ามาก็ค่อย ๆ ลดลงไปเป็นปรกติ นับเป็นเรื่องแปลก
อีกรายหนึ่ง กำลังมองหางานใหม่ เพราะงานที่ทำอยู่นั้น ลูกหลานเจ้าของบริษัทเขาเรียนจบจากต่างประเทศ ก็ทยอยกันมาดูแลกิจการแทนพ่อแม่ คนเก่าคนก่อนที่เคยร่วมบุกเบิกงานกันมาตั้งแต่ต้นก็รู้สึกอึดอัด ถูกลดทอนบทบาทหน้าที่และความสำคัญลง สำหรับรายนี้ สมัครงานไปแล้วหลายที่ แต่ยังไม่มีที่ใดตอบรับเรียกตัวไปสัมภาษณ์ ลูกก็ยังเล็ก อยู่ในวัยกำลังกินกำลังใช้เงิน
ขณะที่กำลังสับสนกังวลใจอยู่นั้น มีอยู่คืนหนึ่ง หลังจากสวดมนต์ไหว้พระตามปรกติแล้ว ก็ถือโอกาสทำความสะอาดโต๊ะหมู่บูชาพระไปด้วย ไปพบกระดาษแผ่นเล็ก ๆ พิมพ์ข้อความว่า "คาถาเงินล้าน ตั้งนะโม 3 จบ พรหมา จะ มหาเทวา ... (ตัวพระคาถา จัดเรียงไว้ 8 บรรทัด)... สัมปะติจฉามิ" แล้วลงท้ายว่า ของขวัญปีใหม่จาก พระสุธรรมยานเถร
พลิกไปอีกด้านหนึ่ง มีข้อความพิมพ์บอกว่า "หลวงพ่อได้คาถาเหล่านี้โดยตรงจากองค์สมเด็จฯ ตั้งแต่ปี 2517 เป็นเวลา 4 ปี จึงจะได้ครบถ้วน ท่านบอกว่าคาถาที่ได้จากกรรมฐานเขาจะไม่บอกใคร เมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 27 เวลา 23.59 องค์สมเด็จฯ ได้อนุญาตให้ลูกหลานและพุทธบริษัทใช้ได้เป็นสาธารณะ เพื่อช่วยบรรเทาสภาวะเศรษฐกิจที่จะย่ำแย่ในปี 2528 อีกทั้งการก่อสร้างต่อไปนี้จะต้องเร่งรัดให้ทันฉลองวัดในปี 2530 จึงจำเป็นที่จะต้องใช้คาถาเหล่านี้ด้วย เพื่อบรรดาลูกหลานทั้งหลายจะได้คล่องตัวยิ่งขึ้น" แล้วลงท้ายว่า อภินันทนาการจาก ธัมมวิโมกข์ 1 ม.ค. 28
พลิกอ่านไปมา 2-3 รอบ นึกไม่ออกว่า ได้กระดาษแผ่นเล็ก ๆ นี้มาจากที่ไหนตั้งแต่เมื่อไหร่ "พระสุธรรมยานเถร" (สมณศักดิ์ของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ระหว่างปี พ.ศ. 2527-2532) ที่ปรากฏชื่ออยู่บนกระดาษ เป็นใครที่ไหนก็ไม่รู้จัก ธัมมวิโมกข์คือใครก็ไม่ทราบ เพียงแต่มีความรู้สึกว่าน่าสนใจ จึงลองนำไปหัดสวดจนจำได้ขึ้นใจ เวลาสวดมนต์ไหว้พระก่อนนอน ก็ปิดท้ายด้วยบทสวดพระคาถานี้ 9 จบตามที่บอกไว้ในกระดาษ เวลาว่าง แทนที่จะปล่อยใจให้คิดฟุ้งซ่าน ก็ภาวนาพระคาถานี้แทน ทำเช่นนี้อยู่ไม่นาน วันหนึ่งก็มีเพื่อนชาวต่างชาติติดต่อมา บอกว่ากำลังขยายงาน ต้องการชักชวนให้ไปร่วมงานด้วย
ตั้งแต่นั้นมา ชีวิตก็เปลี่ยนไปจากเดิมมาก ต้องเดินทางไปเจรจาธุรกิจการค้าในหลาย ๆ ประเทศ ทั้งในเอเชียและยุโรป เดินทางเกือบทุกเดือน ตอนที่ได้งานใหม่ ๆ ก็ดีใจ มีความสุขและภูมิใจกับตำแหน่งหน้าที่การงาน แต่พอเวลาผ่านไปหลายปีก็เริ่มเครียด ถึงแม้รายได้จะเพิ่มขึ้นจากเดิมหลายเท่า แต่ปริมาณงานก็เพิ่มมากขึ้นหลายเท่าตามไปด้วยจนแทบไม่มีเวลาพักผ่อน ไม่มีเวลาส่วนตัวให้กับครอบครัว โดยเฉพาะลูกซึ่งกำลังโตเป็นวัยรุ่นและใกล้สอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย กลายเป็นว่าไม่มีความสุขในงานที่ทำเอาเสียเลย ถึงกับบ่นกับภรรยาและคนใกล้ชิดอยู่เสมอ ๆ ว่าอยากลาออก ไม่อยากทำแล้ว บ่นมาก ๆ เข้า สุดท้าย ก็ได้ตกงานสมใจ
รายต่อมาเป็นสุภาพสตรี เล่าประสบการณ์ว่า วันหนึ่งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2525 ทราบข่าวว่า หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง จะมาโปรดญาติโยมที่บ้านซอยสายลม กรุงเทพฯ เพราะเป็นวันเกิดของท่าน มีพระธาตุมาแจกญาติโยมด้วย จึงรีบออกเดินทางไปแต่เช้า ปรากฏว่าผู้คนหลั่งไหลมาแน่นขนัด เธอมีเงินติดตัวอยู่ประมาณ 300 บาท จึงถวายเงินทำบุญวันเกิดหลวงพ่อฤาษีลิงดำ 100 บาท ได้รับแจกพระธาตุและคาถาหลวงพ่อปาน อ่านแล้วก็พับใส่กระเป๋าถือ ไม่ได้สนใจใยดี
ช่วงนั้น เริ่มผ่อนส่งบ้านเดือนละ 5,000 บาท แต่เงินเดือนเพียง 3,000 บาทเศษ ทุกข์ใจเหลือเกิน
เงินในธนาคารก็จะหมดแล้ว พอดีเห็นกระดาษพับอยู่ในกระเป๋าถือ เป็นคาถาหลวงพ่อปาน
ก็นำมาอ่าน
คาถาเรียกทรัพย์ "พุทธะ มะอะอุ นะโมพุทธายะ วิระทะโย วิระโคนายัง
วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มานีมามะ พุทธัสสะ สวาโหม" ท่องทุกวัน วันละ 3-5-7-9 จบ แล้วให้ใส่บาตรทุกวันก่อนไปทำงาน หรือท่องคาถาแล้วเอาเงินใส่กระปุกทุกวัน แล้วนำเงินไปถวายเป็นค่าภัตตาหารพระเณร
ขณะนั้นกำลังจนตรอก เงินจะขาดมืออยู่แล้ว จึงตัดสินใจทดลองดู จะรวยขึ้นมาได้อย่างไรก็ยังมองไม่เห็น แต่ก็ตั้งหน้าตั้งตาท่องคาถาหลวงพ่อปานทุก ๆ วัน แล้วนำกระปุกมาติดป้าย “พุทธะมะอะอุ” กันไว้ ไม่ให้เผลอหยิบเงินไปใช้ นำเงินเหรียญ 5 บาทใส่กระปุกทุกวัน ขณะอยู่บนรถเมล์ ก็ท่องพระคาถานี้ในใจ ประมาณ 10-15 นาทีกว่าจะถึงที่ทำงาน มีเวลาเหลือก็สวดอิติปิโส 2-3 จบ จากนั้นก็แผ่เมตตา
ทำอย่างนี้อยู่ 2 สัปดาห์ ความอัศจรรย์ก็เกิด เพราะมีคนที่อาศัยอยู่หมู่บ้านเดียวกัน ได้มาหาทั้ง ๆ ที่ไม่รู้จัก มาชวนไปทำงานพิเศษคือ ขายน้ำยาทำความสะอาด เช่น น้ำยาซักผ้า น้ำยาล้างรถ น้ำยาขัดพื้น น้ำยาล้างเครื่องเงิน เครื่องทองเหลือง ล้างเพชรพลอย น้ำยาแต่ละอย่างมีราคาสูง ขวดละ 100 บาทเศษ ซึ่งเทียบค่าเงินสมัยนั้นจัดว่าแพง แต่ก็ขายได้ เวลานั้นเงินติดตัวหมดแล้วจึงขอยืมเพื่อน 200 บาท มาซื้อน้ำยา เวลาผ่านไป 7 วัน ก็มีกำไรมา 2,000 บาท ตื่นเต้นเป็นที่สุด นำเงินไปคืนเพื่อน เพื่อนถามว่าทำไมเธอไม่มาหาฉันเหมือนแต่ก่อน หายไปไหน จึงตอบเพื่อนไปว่า เวลาว่างไม่มีแล้ว ไม่มีเวลาคุยหรือเที่ยวเตร่พักผ่อน เพราะต้องหาเงินมาผ่อนบ้าน เวลาเย็น ๆ และเสาร์-อาทิตย์ ต้องทำงานหนักมาก
ขณะนั้นกำลังจนตรอก เงินจะขาดมืออยู่แล้ว จึงตัดสินใจทดลองดู จะรวยขึ้นมาได้อย่างไรก็ยังมองไม่เห็น แต่ก็ตั้งหน้าตั้งตาท่องคาถาหลวงพ่อปานทุก ๆ วัน แล้วนำกระปุกมาติดป้าย “พุทธะมะอะอุ” กันไว้ ไม่ให้เผลอหยิบเงินไปใช้ นำเงินเหรียญ 5 บาทใส่กระปุกทุกวัน ขณะอยู่บนรถเมล์ ก็ท่องพระคาถานี้ในใจ ประมาณ 10-15 นาทีกว่าจะถึงที่ทำงาน มีเวลาเหลือก็สวดอิติปิโส 2-3 จบ จากนั้นก็แผ่เมตตา
ทำอย่างนี้อยู่ 2 สัปดาห์ ความอัศจรรย์ก็เกิด เพราะมีคนที่อาศัยอยู่หมู่บ้านเดียวกัน ได้มาหาทั้ง ๆ ที่ไม่รู้จัก มาชวนไปทำงานพิเศษคือ ขายน้ำยาทำความสะอาด เช่น น้ำยาซักผ้า น้ำยาล้างรถ น้ำยาขัดพื้น น้ำยาล้างเครื่องเงิน เครื่องทองเหลือง ล้างเพชรพลอย น้ำยาแต่ละอย่างมีราคาสูง ขวดละ 100 บาทเศษ ซึ่งเทียบค่าเงินสมัยนั้นจัดว่าแพง แต่ก็ขายได้ เวลานั้นเงินติดตัวหมดแล้วจึงขอยืมเพื่อน 200 บาท มาซื้อน้ำยา เวลาผ่านไป 7 วัน ก็มีกำไรมา 2,000 บาท ตื่นเต้นเป็นที่สุด นำเงินไปคืนเพื่อน เพื่อนถามว่าทำไมเธอไม่มาหาฉันเหมือนแต่ก่อน หายไปไหน จึงตอบเพื่อนไปว่า เวลาว่างไม่มีแล้ว ไม่มีเวลาคุยหรือเที่ยวเตร่พักผ่อน เพราะต้องหาเงินมาผ่อนบ้าน เวลาเย็น ๆ และเสาร์-อาทิตย์ ต้องทำงานหนักมาก
แต่ทุกเช้าก็ยังคงท่องพระคาถาพระปัจเจกโพธิ์โปรดสัตว์ของหลวงพ่อปานเหมือนเดิม
พอรวบรวมเงินได้จำนวนหนึ่ง ก็นำไปซื้ออาหารถวายพระบ้าง ส่งไปทำบุญตามวัดปฏิบัติธรรมในต่างจังหวัดบ้าง สินค้าที่ขายอยู่ก็ขายดี ลูกค้าใช้แล้วติดใจ กลายมาเป็นขาประจำทั้งยังบอกต่อกันไปอีก ทำให้รายได้เพิ่มขึ้นมาก มีเงินส่งค่าผ่อนบ้านทุกเดือนไม่ติดขัด ทั้งยังมีเงินทำบุญมากขึ้นด้วย
เธอเล่าว่า จากเดิมที่เคยเตรียมเงินใส่ซองทำบุญ ซองละ 20 บาท แต่ทำด้วยจิตที่เปี่ยมด้วยศรัทธา ปัจจุบัน จะสร้างวิหารทานที่ใด ก็สามารถช่วยเหลือทางวัดได้ครั้งละ 100,000 - 200,000 บาท ทั้งยังเป็นเจ้าของบ้าน เจ้าของที่ดินอีกหลายแปลงภายในระยะเวลาอันสั้น จนเพื่อนฝูงแปลกใจ
พระครูวิลาศกาญจนธรรม หรือ หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ เจ้าอาวาสวัดท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ได้พูดถึง "พระคาถาเงินล้าน" นี้ว่า เป็นพระคาถาที่หลวงพ่อฤาษีลิงดำ มอบให้ลูกหลานได้นำไปใช้เพื่อเสริมสร้างความคล่องตัวในการดำเนินชีวิต ท่านว่า ถ้าภาวนาพระคาถานี้เป็นกรรมฐาน ทรงอารมณ์ไม่เคลื่อนเลยวันละหนึ่งชั่วโมง จะสร้างโบสถ์กี่หลังก็ทำได้
เมื่อครั้งที่หลวงพ่อเล็กยังเป็นฆราวาส ท่านภาวนาพระคาถาพระปัจเจกโพธิ์โปรดสัตว์ของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ครั้งละ 9 จบ ทำไปสามเดือนก็เริ่มเห็นผล
ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 หลวงพ่อฤาษีลิงดำมอบพระคาถาเงินล้านให้ ท่านก็ท่องครั้งละ 9 จบ รู้สึกว่ารายรับรายจ่ายคล่องตัวมาก การส่งเสียให้น้องสาวสองคน
หลานอีกหนึ่งคนเรียนนั้น ไม่รู้สึกหนักใจ ปีนั้นน้องเรียนจบ ปีถัดมา (พ.ศ. 2529) หลวงพ่อเล็กก็บวช คราวนี้เห็นผลของพระคาถาชัดมาก หลวงปู่มหาอำพัน วัดเทพศิรินทราวาส กล่าวว่า
“คุณเป็นเนื้อนาบุญแล้วนี่
บุญใหญ่มาหนุน ลาภผลก็มากสิ.."
ท่านว่า ให้ความคล่องตัวขนาดขึ้นรถฟรีแทบทุกคัน คือถ้าไม่ยัดเยียดให้เขาจริง ๆ เขาก็ไม่รับ ขนาดพระกับพระนั่งไปด้วยกัน เขาเก็บค่ารถรูปอื่น เว้นหลวงพ่อเล็กไว้รูปเดียว ยัดให้เขาก็ไม่รับ จะไปไหนแทบจะไม่ต้องพกเงินเลย
จาก 120 จบ เพิ่มเป็น 300 จบ คราวนี้อาหารการกินก็พลอยฟรีไปด้วย บางทีทนไม่ไหว ต้องบอกเขาไปว่า “อาตมามีเงินนะโยม” เขาก็บอกว่า “ผมถวายครับ” “หนูถวายเจ้าค่ะ” เคยทำสถิติจากอุทัยธานีมากรุงเทพฯ และจากกรุงเทพฯ กลับอุทัยธานี ระหว่างที่อยู่กรุงเทพฯ นั่งแท็กซี่อย่างเดียว ปรากฏว่าสิ้นค่าใช้จ่ายทั้งหมดสามบาท! สามบาทจริง ๆ !
จาก 120 จบ เพิ่มเป็น 300 จบ คราวนี้อาหารการกินก็พลอยฟรีไปด้วย บางทีทนไม่ไหว ต้องบอกเขาไปว่า “อาตมามีเงินนะโยม” เขาก็บอกว่า “ผมถวายครับ” “หนูถวายเจ้าค่ะ” เคยทำสถิติจากอุทัยธานีมากรุงเทพฯ และจากกรุงเทพฯ กลับอุทัยธานี ระหว่างที่อยู่กรุงเทพฯ นั่งแท็กซี่อย่างเดียว ปรากฏว่าสิ้นค่าใช้จ่ายทั้งหมดสามบาท! สามบาทจริง ๆ !
จาก 300 จบก็เพิ่มไปเรื่อย ๆ จนถึง 1,200 จบ ท่านว่าภาวนาสบาย ๆ ไม่ได้เร่งเอาจำนวน เริ่มภาวนาตั้งแต่ตื่นนอนตอนตีสาม ไปครบเอาตอนหนึ่งทุ่ม พูดได้ว่า ถ้านับในส่วนของพระด้วยกัน นอกจากหลวงพ่อฤาษีลิงดำวัดท่าซุงแล้ว การเงินของหลวงพ่อเล็กมีความคล่องตัวที่สุด ท่านสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรมเกาะพระฤาษีจากผืนดินว่างเปล่า ใช้เวลาเพียง 13 เดือน สำเร็จครบถ้วนสมบูรณ์ สร้างวัดพร้อมกันคราวละ 4-5 วัด โดยไม่สะดุดและไม่ต้องกลัวว่าเงินไม่พอ
(ซ้าย) ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน (ขวา) ครููบาธรรมชัย ธมฺมชโย วัดทุ่งหลวง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ |
พระคาถาที่ให้ผลหนักด้านลาภสักการะนี้ ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา และ ครูบาธรรมชัย ผู้เป็นสหธรรมิกกับหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ได้เคยให้ไว้สงเคราะห์ญาติโยมเช่นกัน
พระคาถามหาลาภ
ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา
วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา
วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
การสวด ให้เริ่มด้วยการตั้ง "นะโมฯ" 3 จบ ดังนี้
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
จากนั้น ว่าพระคาถา ดังนี้
มะอะอุเมตตา มหาชะนา
สัพพะสีเนหัง ปูจิตัง
สัพพะสุขขัง มหาลาภัง วะทันตุมัง
สัพพะโกธัง วินาเสติ
สิทธิสีเนหัง นิรัตตะรัง ปิยังมะมะ
ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา หรือ ครูบาวงศ์ เป็นพระสุปฏิปันโนและพระนักพัฒนา เป็นพระอริยเจ้าผู้ทรงอภิญญาญาณ ท่านบูรณะวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จากสภาพวัดร้าง กลายเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองดังที่ปรากฏอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้ ตรงตามที่ครูบาเจ้าชัยลังกาและครูบาเจ้าศรีวิชัยเคยพยากรณ์ไว้ว่า "วัดพระพุทธบาทห้วยข้าวต้มนั้น วันหนึ่ง จะมีพระน้อยเมืองตื๋นมาสร้าง" ขณะที่ท่านอยู่ที่เมืองตื๋นนั้น ชาวบ้านชาวเขาต่างเรียกท่านว่าน้อย เมื่อท่านมาอยู่ที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ชาวบ้านทั้งหลายจึงเชื่อว่า ท่านคือพระน้อยเมืองตื๋น ตามคำจารึกโบราณของวัด
(ซ้าย) ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน (ขวา) ครูบาพรหมจักร พฺรหฺมจกฺโก วัดพระพุทธบาทตากผ้า อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน |
ครูบาวงศ์มรณภาพวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะโรง เป็น วันวิสาขบูชา สรีระของท่านไม่เน่าเปื่อยและยังคงประดิษฐานอยู่ที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ในวันที่ 17 เดือนพฤษภาคมของทุกปี จะมีประเพณีเปลี่ยนผ้าครองสรีระ ซึ่งชาวเขาทั่วภาคเหนือและประชาชนจากทั่วสารทิศผู้มีความเคารพเลื่อมใสศรัทธาครูบาวงศ์จะเดินทางมาร่วมงานบุญนี้กันอย่างคับคั่ง
ในอดีตชาติ ครูบาวงศ์กับหลวงพ่อฤาษีลิงดำเคยเป็นพี่น้องกัน หลังจากมรณภาพแล้ว ครูบาวงศ์ท่านยังไม่ไปพระนิพพาน ท่านอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิตและจะกลับลงมาเกิดอีกเพื่อบำเพ็ญบารมีพระโพธิสัตว์ จนกว่าจะตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตกาลตามที่ได้อธิษฐานจิตปรารถนาพุทธภูมิไว้ ครูบาวงศ์ย้ำกับลูกศิษย์ของท่านอยู่เสมอว่า "ลูก ๆ ที่มีบารมีแก่กล้าแล้ว ใครไปได้ให้ไปก่อน ไม่ต้องคอยหลวงพ่อ มันช้า" ท่านบอกว่า พระโพธิสัตว์บางองค์บารมีแก่ แต่ยังไปนิพพานไม่ได้ เพราะเป็นหนี้ลูกหลาน อย่างหลวงพ่อ จะไปนิพพานชาตินี้ ลูก ๆ ขอเกาะชายผ้าเหลือง ปรารถนาจะไปนิพพานร่วมกับหลวงพ่อ ขอให้หลวงพ่อโปรด จะติดตามไปให้ได้ หลวงพ่อก็ต้องอยู่เมตตาไปอย่างนี้ เพราะคนที่ขอติดตาม บารมีไม่เท่ากัน ก็ไปลำบาก ลูก ๆ ทั้งหลายที่มีกิเลส มีกรรมมาก หลวงพ่อก็ต้องรอจนกว่าจะไปนิพพานได้ทั้งหมด แม้ว่าลูกศิษย์ที่ขอติดตามหลวงพ่อจะถูกจำคุกตลอดชีวิต หลวงพ่อก็จะต้องคอย
ครูบาธรรมชัย เป็นศิษย์ผู้ใกล้ชิดครูบาเจ้าศรีวิชัย ศิษย์พี่-ศิษย์น้องพระอาจารย์เดียวกัน ก็มีครูบาชุ่ม โพธิโก วัดวังมุย ลำพูน ครูบาคำแสน วัดสวนดอก เชียงใหม่
ครูบาธรรมชัยมีกำลังจิตกล้าแข็งมาก ท่านออกธุดงค์ตั้งแต่ยังเป็นสามเณรน้อย เข้าป่าไปตามลำพัง ซึ่งสมัยนั้น ชุกชุมไปด้วยสัตว์ป่าและสัตว์ร้าย ท่านได้พบกับพระธุดงค์ในป่าซึ่งแนะนำสั่งสอนข้อปฏิบัติกรรมฐานหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการนั่งสมาธิภาวนา การเดินจงกรม พร้อมกับแนะนำให้สามเณรน้อยไปฝากตัวเป็นศิษย์ครูบาเจ้าศรีวิชัย
แม้ในภายหลังเมื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว ครูบาธรรมชัยยังคงออกธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรตามลำพังอยู่เสมอ ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 ท่านรับนิมนต์มาจำพรรษาอยู่ที่วัดทุ่งหลวง อำเภอแม่แตง ซึ่งขณะนั้น เป็นเพียงสำนักสงฆ์เล็ก ๆ มีศาลาอยู่หนึ่งหลัง บริเวณรอบวัดยังเป็นป่า ปัจจุบันวัดทุ่งหลวงกลายสภาพเป็นวัดใหญ่โต แม้วัดอื่น ๆ ในพื้นที่ภาคเหนือจำนวนไม่น้อย ครูบาธรรมชัยก็ให้ความอุปถัมภ์ เผื่อแผ่ความช่วยเหลือไปให้ไม่มีประมาณ
ครูบาธรรมชัยเป็นพระอริยเจ้าที่มีญาณแก่กล้า ท่านรับนิมนต์เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกครั้งสำคัญ ๆ อยู่บ่อยครั้ง ครูบามรณภาพในปี พ.ศ. 2530 สิริอายุ 73 ปี สรีระของท่านไม่เน่าเปื่อย ยังคงประดิษฐานอยู่ ณ วัดทุ่งหลวง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
ในอดีตชาติ ครูบาวงศ์กับหลวงพ่อฤาษีลิงดำเคยเป็นพี่น้องกัน หลังจากมรณภาพแล้ว ครูบาวงศ์ท่านยังไม่ไปพระนิพพาน ท่านอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิตและจะกลับลงมาเกิดอีกเพื่อบำเพ็ญบารมีพระโพธิสัตว์ จนกว่าจะตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตกาลตามที่ได้อธิษฐานจิตปรารถนาพุทธภูมิไว้ ครูบาวงศ์ย้ำกับลูกศิษย์ของท่านอยู่เสมอว่า "ลูก ๆ ที่มีบารมีแก่กล้าแล้ว ใครไปได้ให้ไปก่อน ไม่ต้องคอยหลวงพ่อ มันช้า" ท่านบอกว่า พระโพธิสัตว์บางองค์บารมีแก่ แต่ยังไปนิพพานไม่ได้ เพราะเป็นหนี้ลูกหลาน อย่างหลวงพ่อ จะไปนิพพานชาตินี้ ลูก ๆ ขอเกาะชายผ้าเหลือง ปรารถนาจะไปนิพพานร่วมกับหลวงพ่อ ขอให้หลวงพ่อโปรด จะติดตามไปให้ได้ หลวงพ่อก็ต้องอยู่เมตตาไปอย่างนี้ เพราะคนที่ขอติดตาม บารมีไม่เท่ากัน ก็ไปลำบาก ลูก ๆ ทั้งหลายที่มีกิเลส มีกรรมมาก หลวงพ่อก็ต้องรอจนกว่าจะไปนิพพานได้ทั้งหมด แม้ว่าลูกศิษย์ที่ขอติดตามหลวงพ่อจะถูกจำคุกตลอดชีวิต หลวงพ่อก็จะต้องคอย
พระคาถามหาลาภ
ครูบาธรรมชัย ธมฺมชโย
วัดทุ่งหลวง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
ครูบาธรรมชัย ธมฺมชโย
วัดทุ่งหลวง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
การสวด ให้เริ่มด้วยการตั้ง "นะโมฯ" 3 จบ ดังนี้
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
จากนั้น ว่าพระคาถา ดังนี้
โอม ปลาทองไหลเข้ามาในไซ
ปลาไหลเข้ามาในข้อง
ปลาช่อนเข้ามาในซอง
ปลาทองก็ไหลมา ปลาเงินก็ไหลมา
จตุทิสา อันอยู่ในทิศทั้งสี่
อัฏฐะทิสา อันอยู่ในทิศทั้งแปด
ก็ไหลมา ไหลมา
สัพเพชะนา พะหุชะนา มหาลาภา เอหิ มา มา
สัพเพชะนา พะหุชะนา มหาลาภา เอหิ มา มา
ครูบาธรรมชัยมีกำลังจิตกล้าแข็งมาก ท่านออกธุดงค์ตั้งแต่ยังเป็นสามเณรน้อย เข้าป่าไปตามลำพัง ซึ่งสมัยนั้น ชุกชุมไปด้วยสัตว์ป่าและสัตว์ร้าย ท่านได้พบกับพระธุดงค์ในป่าซึ่งแนะนำสั่งสอนข้อปฏิบัติกรรมฐานหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการนั่งสมาธิภาวนา การเดินจงกรม พร้อมกับแนะนำให้สามเณรน้อยไปฝากตัวเป็นศิษย์ครูบาเจ้าศรีวิชัย
แม้ในภายหลังเมื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว ครูบาธรรมชัยยังคงออกธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรตามลำพังอยู่เสมอ ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 ท่านรับนิมนต์มาจำพรรษาอยู่ที่วัดทุ่งหลวง อำเภอแม่แตง ซึ่งขณะนั้น เป็นเพียงสำนักสงฆ์เล็ก ๆ มีศาลาอยู่หนึ่งหลัง บริเวณรอบวัดยังเป็นป่า ปัจจุบันวัดทุ่งหลวงกลายสภาพเป็นวัดใหญ่โต แม้วัดอื่น ๆ ในพื้นที่ภาคเหนือจำนวนไม่น้อย ครูบาธรรมชัยก็ให้ความอุปถัมภ์ เผื่อแผ่ความช่วยเหลือไปให้ไม่มีประมาณ
ครูบาธรรมชัยเป็นพระอริยเจ้าที่มีญาณแก่กล้า ท่านรับนิมนต์เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกครั้งสำคัญ ๆ อยู่บ่อยครั้ง ครูบามรณภาพในปี พ.ศ. 2530 สิริอายุ 73 ปี สรีระของท่านไม่เน่าเปื่อย ยังคงประดิษฐานอยู่ ณ วัดทุ่งหลวง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต |
พระคาถาอาคมต่าง ๆ นั้น ผูกพันกับวิถีชีวิตของผู้คนมาแต่โบราณ เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรป หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ได้ถวาย พระคาถามงกุฎพระพุทธเจ้า (อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิ) ให้พระองค์ใช้บริกรรมภาวนาเพื่อความปลอดภัยและสวัสดิภาพตลอดการเดินทาง
ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา ผู้คนต่างเสาะแสวงหาเครื่องรางของขลังไว้ป้องกันตน ขณะที่ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พำนักอยู่ที่วัดป่าบ้านหนองผือ ก็มีชาวบ้านไปขอ "ของดี" จากท่านเช่นกัน พระอาจารย์มั่นท่านไม่ส่งเสริมความเชื่อเรื่องวัตถุมงคล แต่ท่านก็สงเคราะห์ทำให้ เป็นตะกรุดบ้าง ผ้าประเจียดบ้าง บ่อยเข้า ท่านคงเห็นว่ามากไปจนเกินเลย จึงบอกให้เลิกและให้พระคาถา (นะโมวิมุตตานัง นะโมวิมุตติยา) ไปภาวนาแทน ท่านบอกให้ภาวนาจนขึ้นใจ แล้วจะปลอดภัย อันตรายต่าง ๆ จะไม่กล้ำกรายได้เลย
ในปัจจุบัน แม้บ้านเมืองสงบ ไม่มีศึกสงครามประชิด แต่ภัยคุกคามที่บั่นทอนความสุขของผู้คนก็ยังมีอยู่ คือความยากจนและปัญหาปากท้อง ก่อนออกจากบ้านไปทำมาหากิน ก็ยกพระในคอขึ้นจบ นอกจากจะขอให้ท่านคุ้มครองแล้ว ก็อธิษฐานขอให้ขายดี มีลูกค้ามาก ๆ มีกำไรเยอะ ๆ
ถึงแม้ว่าเงินจะไม่ใช่คำตอบสำหรับทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า สิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตทุกอย่างต้องอาศัยเงินแลกมา คนเราถ้ามีรายได้น้อยกว่าค่าใช้จ่ายสำหรับปัจจัยพื้นฐานของชีวิต ชีวิตก็จะมีแต่ความทุกข์ นอกจากจะมีเงินใช้จ่ายสำหรับความจำเป็นพื้นฐานของชีวิตแล้ว เราควรมีเงินสำหรับไปพักผ่อนหย่อนใจ ไปรับประทานอาหารกับเพื่อนหรือคนที่เรารัก เพื่อสร้างความทรงจำที่ยาวนาน และถ้าหากเรามีเงินพอที่จะบริจาคช่วยเหลือผู้อื่นด้วย ก็จะยิ่งทำให้เรามีความสุขมากขึ้นกว่าการจับจ่ายใช้สอยเพื่อส่วนตัวเพียงอย่างเดียว การไม่มีหนี้ อย่างน้อยก็ทำให้เรานอนหลับเป็นสุข สบายใจกว่าการที่ต้องไปกู้หนี้ยืมสินแล้วมาผ่อนจ่ายในภายหลัง
ท่านที่บุญเก่าทำมาดี ความสุขในชีวิตคงไม่ได้อยู่ที่การมีเงินมาก หากแต่เป็นความมีสุขภาพดี มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีเกียรติยศชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับของสังคม ซึ่งต่างจากผู้ที่ต้องทำงานแบบปากกัดตีนถีบเพื่อให้พอกินพอใช้ เราจึงเห็นปรากฏการณ์ในสังคมที่ผู้คนจำนวนไม่น้อย สาละวนอยู่กับการเสาะแสวงหาเลขเด็ด ในขณะที่คนอีกกลุ่มหนึ่ง วุ่นวายอยู่กับการปรับเปลี่ยนฮวงจุ้ย เซ่นไหว้เทพเจ้า สะเดาะเคราะห์ต่ออายุ เสริมดวงแก้ปีชง
พระคาถาพระปัจเจกโพธิ์โปรดสัตว์ และ พระคาถาเงินล้าน นี้ เป็นพระคาถาที่มีอานุภาพโดดเด่นด้านโชคลาภ พ่อแม่ครูอาจารย์ท่านให้ไว้ ก็เพื่อสงเคราะห์ลูกหลานพุทธบริษัทให้พ้นจากความยากจนค่นแค้น บรรเทาความยากลำบากในการดำรงชีพ เพื่อจะไม่ทุกข์ทรมานจนเกินไปนักขณะที่ชีวิตยังดิ้นรนวนเวียนอยู่ในวัฏสงสาร
เมื่อสามารถสลัดพ้นจากความทุกข์ยาก พอจะยืนได้ด้วยกำลังของตนเองบ้างแล้ว หากใครมีความขยันหมั่นเพียรเสมอต้นเสมอปลาย ตะเกียกตะกายช่วยเหลือตนเองมากกว่าจะนั่งงอมืองอเท้ารอรับความช่วยเหลืออยู่ถ่ายเดียว รู้จักประหยัดอดออม ไม่ฝักใฝ่อบายมุข ไม่ก่อบาปเวร ก็อยู่ในวิสัยที่จะสร้างฐานะขึ้นได้
หรือหากใครปรารถนาจะต่อยอดถึงชาติต่อ ๆ ไป ให้ได้ไปเกิดในภพชาติที่ดี มีความมั่งคั่งบริบูรณ์ ไม่ต้องลำบากยากจนดั่งเช่นที่ประสบอยู่ในชาติปัจจุบัน หรือแม้แต่จะให้บรรลุมรรคผลนิพพาน ไม่ต้องกลับมาเวียนตายเวียนเกิดอีก พระพุทธองค์ก็ทรงชี้บอกทางไว้แล้วใน "อริยมรรค มีองค์ 8" ส่วนใครจะนำไปปฏิบัติให้เกิดผลมากน้อยเพียงไร ก็เป็นเรื่องของแต่ละชีวิตที่จะไปเลือกทางเดินของตนเอง พระพุทธองค์ทรงเป็นเพียงผู้บอกทาง บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น
ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา ผู้คนต่างเสาะแสวงหาเครื่องรางของขลังไว้ป้องกันตน ขณะที่ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พำนักอยู่ที่วัดป่าบ้านหนองผือ ก็มีชาวบ้านไปขอ "ของดี" จากท่านเช่นกัน พระอาจารย์มั่นท่านไม่ส่งเสริมความเชื่อเรื่องวัตถุมงคล แต่ท่านก็สงเคราะห์ทำให้ เป็นตะกรุดบ้าง ผ้าประเจียดบ้าง บ่อยเข้า ท่านคงเห็นว่ามากไปจนเกินเลย จึงบอกให้เลิกและให้พระคาถา (นะโมวิมุตตานัง นะโมวิมุตติยา) ไปภาวนาแทน ท่านบอกให้ภาวนาจนขึ้นใจ แล้วจะปลอดภัย อันตรายต่าง ๆ จะไม่กล้ำกรายได้เลย
ในปัจจุบัน แม้บ้านเมืองสงบ ไม่มีศึกสงครามประชิด แต่ภัยคุกคามที่บั่นทอนความสุขของผู้คนก็ยังมีอยู่ คือความยากจนและปัญหาปากท้อง ก่อนออกจากบ้านไปทำมาหากิน ก็ยกพระในคอขึ้นจบ นอกจากจะขอให้ท่านคุ้มครองแล้ว ก็อธิษฐานขอให้ขายดี มีลูกค้ามาก ๆ มีกำไรเยอะ ๆ
ถึงแม้ว่าเงินจะไม่ใช่คำตอบสำหรับทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า สิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตทุกอย่างต้องอาศัยเงินแลกมา คนเราถ้ามีรายได้น้อยกว่าค่าใช้จ่ายสำหรับปัจจัยพื้นฐานของชีวิต ชีวิตก็จะมีแต่ความทุกข์ นอกจากจะมีเงินใช้จ่ายสำหรับความจำเป็นพื้นฐานของชีวิตแล้ว เราควรมีเงินสำหรับไปพักผ่อนหย่อนใจ ไปรับประทานอาหารกับเพื่อนหรือคนที่เรารัก เพื่อสร้างความทรงจำที่ยาวนาน และถ้าหากเรามีเงินพอที่จะบริจาคช่วยเหลือผู้อื่นด้วย ก็จะยิ่งทำให้เรามีความสุขมากขึ้นกว่าการจับจ่ายใช้สอยเพื่อส่วนตัวเพียงอย่างเดียว การไม่มีหนี้ อย่างน้อยก็ทำให้เรานอนหลับเป็นสุข สบายใจกว่าการที่ต้องไปกู้หนี้ยืมสินแล้วมาผ่อนจ่ายในภายหลัง
"เงินซื้อบ้านได้ แต่ซื้อความอบอุ่นไม่ได้ ฯลฯ" อาจฟังดูไพเราะ แต่อย่างไรเสีย มีเงินซื้อบ้าน ก็ย่อมดีกว่าไม่มีเงินซื้อบ้าน จะหลังเล็กหรือหลังใหญ่ อย่างน้อยยังพอมีพื้นที่ส่วนตัวให้ซุกหัวนอน ส่วนความอบอุ่นในครอบครัวนั้น เป็นเรื่องของความรักความเข้าใจ ไม่ใช่เรื่องที่จะเอาเงินไปซื้อ มีเงินก็ทะเลาะเบาะแว้ง ไม่มีเงินก็ยิ่งระหองระแหงกันไปใหญ่ คำพูดที่ว่า "เงินซื้อเตียงนอนได้ แต่ซื้อการหลับที่เป็นสุขไม่ได้" อาจจะจริงอยู่บ้าง แต่อย่าลืมว่า หากไม่มีเงิน ก็คงนอนไม่หลับอยู่ดี
พระท่านเข้าใจดีว่า คนไม่เสมอกัน สิ่งใดที่พอจะช่วยเหลือได้ไม่เกินกำลัง ท่านก็หยิบยื่นให้ สงเคราะห์ให้ด้วยจิตที่เมตตา อาจเป็นวัตถุสิ่งของบ้าง เครื่องรางของขลังบ้าง พระคาถาบ้าง หรือหากไม่มีอะไรจะให้ อย่างน้อยก็ให้กำลังใจกัน
เมื่อครั้งที่ หลวงพ่อจง เป็นสมภารอยู่วัดหน้าต่างนอก ท่านเคยสงเคราะห์หญิงม่ายคนหนึ่ง แกมีลูกมาก ตั้ง 7-8 คน พอสามีตายไป แกต้องรับภาระเลี้ยงดูลูกตามลำพัง ฐานะทางบ้านก็ยากจน ไร่นาไม่มี ต้องรับจ้างเขา ยังดีที่อยู่บ้านนอก ผักปลาไม่ต้องซื้อ หาได้เอง ข้าวก็ไปเก็บตามลานตากที่เขาไม่ต้องการ นำมาร่อนพอได้หุงกิน วันหนึ่งแกมาหาหลวงพ่อจง บอกว่า หลวงพ่อเจ้าคะ เวลานี้ทุนรอนก็ใกล้จะหมดแล้ว จะเลี้ยงลูกเต้าก็ไม่มีทุน ฉันขอหวยสักคราว ขอหลวงพ่อให้ให้ถูกด้วย สตางค์ฉันมีอยู่ไม่มาก หลวงพ่อจงสงสาร เลยเขียนเลขให้สามตัว บอกเอาไปเล่นคนเดียวนะ อย่าให้คนอื่นเขา พอแกกลับไปแล้วเห็นจะนึกขึ้นได้ว่า ผู้หญิงคนนี้แกมีลาภไม่มาก หลวงพ่อจงก็ลงเรือพายไปเอง พอถึงหน้าบ้านก็เรียก นังหนูเอ้ย นังหนู หวยที่หลวงพ่อให้น่ะ เอ็งเล่นแล้วหรือยัง หญิงคนนั้นก็บอกว่า ฉันไปหาหลวงพ่อกลับมายังไม่ได้ว่าง ต้องหาอาหารเลี้ยงลูก ตั้งใจว่าจะไปซื้อในวันรุ่งขึ้น หลวงพ่อท่านก็บอกว่าดีแล้วลูก คราวนี้ลาภของเอ็งมีไม่มากนะ ถ้าจะซื้อก็อย่าให้เกินห้าบาท ถ้ามากกว่าห้าบาทมันเกินวาสนาบารมี ไม่ถูกหรอก หญิงคนนั้นก็รับคำแล้วก้มกราบ หลวงพ่อท่านก็กำชับว่า อย่าไปบอกใครเขานะ เลขนี้บอกใครไม่ได้ มันเป็นลาภของเอ็งคนเดียว แล้วเล่นได้เพียงห้าบาทเท่านั้น พอถึงเวลาหวยออก ผู้หญิงคนนั้นก็ถูกหวย ก็มารายงานให้หลวงพ่อจงทราบ แล้วเอาเงินบางส่วนมาถวายท่าน แต่ท่านไม่รับ บอกให้เอาเงินไปเลี้ยงลูกเถอะ กว่าน้ำจะยุบ ข้าวใหม่จะออกมันก็อีกนาน เอาไปทำทุนเข้าไว้ แล้วก็อย่าพูดไปนะว่าเราถูกหวย ประเดี๋ยวใครเขาจะมาแย่งเอา เรื่องก็มีเท่านี้ นำมาเล่าสู่กันฟัง
เมื่อครั้งที่ หลวงพ่อจง เป็นสมภารอยู่วัดหน้าต่างนอก ท่านเคยสงเคราะห์หญิงม่ายคนหนึ่ง แกมีลูกมาก ตั้ง 7-8 คน พอสามีตายไป แกต้องรับภาระเลี้ยงดูลูกตามลำพัง ฐานะทางบ้านก็ยากจน ไร่นาไม่มี ต้องรับจ้างเขา ยังดีที่อยู่บ้านนอก ผักปลาไม่ต้องซื้อ หาได้เอง ข้าวก็ไปเก็บตามลานตากที่เขาไม่ต้องการ นำมาร่อนพอได้หุงกิน วันหนึ่งแกมาหาหลวงพ่อจง บอกว่า หลวงพ่อเจ้าคะ เวลานี้ทุนรอนก็ใกล้จะหมดแล้ว จะเลี้ยงลูกเต้าก็ไม่มีทุน ฉันขอหวยสักคราว ขอหลวงพ่อให้ให้ถูกด้วย สตางค์ฉันมีอยู่ไม่มาก หลวงพ่อจงสงสาร เลยเขียนเลขให้สามตัว บอกเอาไปเล่นคนเดียวนะ อย่าให้คนอื่นเขา พอแกกลับไปแล้วเห็นจะนึกขึ้นได้ว่า ผู้หญิงคนนี้แกมีลาภไม่มาก หลวงพ่อจงก็ลงเรือพายไปเอง พอถึงหน้าบ้านก็เรียก นังหนูเอ้ย นังหนู หวยที่หลวงพ่อให้น่ะ เอ็งเล่นแล้วหรือยัง หญิงคนนั้นก็บอกว่า ฉันไปหาหลวงพ่อกลับมายังไม่ได้ว่าง ต้องหาอาหารเลี้ยงลูก ตั้งใจว่าจะไปซื้อในวันรุ่งขึ้น หลวงพ่อท่านก็บอกว่าดีแล้วลูก คราวนี้ลาภของเอ็งมีไม่มากนะ ถ้าจะซื้อก็อย่าให้เกินห้าบาท ถ้ามากกว่าห้าบาทมันเกินวาสนาบารมี ไม่ถูกหรอก หญิงคนนั้นก็รับคำแล้วก้มกราบ หลวงพ่อท่านก็กำชับว่า อย่าไปบอกใครเขานะ เลขนี้บอกใครไม่ได้ มันเป็นลาภของเอ็งคนเดียว แล้วเล่นได้เพียงห้าบาทเท่านั้น พอถึงเวลาหวยออก ผู้หญิงคนนั้นก็ถูกหวย ก็มารายงานให้หลวงพ่อจงทราบ แล้วเอาเงินบางส่วนมาถวายท่าน แต่ท่านไม่รับ บอกให้เอาเงินไปเลี้ยงลูกเถอะ กว่าน้ำจะยุบ ข้าวใหม่จะออกมันก็อีกนาน เอาไปทำทุนเข้าไว้ แล้วก็อย่าพูดไปนะว่าเราถูกหวย ประเดี๋ยวใครเขาจะมาแย่งเอา เรื่องก็มีเท่านี้ นำมาเล่าสู่กันฟัง
พระคาถาพระปัจเจกโพธิ์โปรดสัตว์ และ พระคาถาเงินล้าน นี้ เป็นพระคาถาที่มีอานุภาพโดดเด่นด้านโชคลาภ พ่อแม่ครูอาจารย์ท่านให้ไว้ ก็เพื่อสงเคราะห์ลูกหลานพุทธบริษัทให้พ้นจากความยากจนค่นแค้น บรรเทาความยากลำบากในการดำรงชีพ เพื่อจะไม่ทุกข์ทรมานจนเกินไปนักขณะที่ชีวิตยังดิ้นรนวนเวียนอยู่ในวัฏสงสาร
เมื่อสามารถสลัดพ้นจากความทุกข์ยาก พอจะยืนได้ด้วยกำลังของตนเองบ้างแล้ว หากใครมีความขยันหมั่นเพียรเสมอต้นเสมอปลาย ตะเกียกตะกายช่วยเหลือตนเองมากกว่าจะนั่งงอมืองอเท้ารอรับความช่วยเหลืออยู่ถ่ายเดียว รู้จักประหยัดอดออม ไม่ฝักใฝ่อบายมุข ไม่ก่อบาปเวร ก็อยู่ในวิสัยที่จะสร้างฐานะขึ้นได้
หรือหากใครปรารถนาจะต่อยอดถึงชาติต่อ ๆ ไป ให้ได้ไปเกิดในภพชาติที่ดี มีความมั่งคั่งบริบูรณ์ ไม่ต้องลำบากยากจนดั่งเช่นที่ประสบอยู่ในชาติปัจจุบัน หรือแม้แต่จะให้บรรลุมรรคผลนิพพาน ไม่ต้องกลับมาเวียนตายเวียนเกิดอีก พระพุทธองค์ก็ทรงชี้บอกทางไว้แล้วใน "อริยมรรค มีองค์ 8" ส่วนใครจะนำไปปฏิบัติให้เกิดผลมากน้อยเพียงไร ก็เป็นเรื่องของแต่ละชีวิตที่จะไปเลือกทางเดินของตนเอง พระพุทธองค์ทรงเป็นเพียงผู้บอกทาง บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น
ขอบคุณมากครับ สำหรับข้อมูล มีประโยชน์มาก ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย และหลวงพ่อปาน หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ อีกทั้งพ่อแม่ครูบาอาจารย์ผู้ทรงคุณทั้งหลาย โปรดช่วยดลบันดาลให้ท่านมีความสุข ความเจริญตลอดกาลนานเทอญ.
ตอบลบสาธุครับ
ตอบลบสาธุครับ
ตอบลบ