"... ขณะที่เฮลิคอปเตอร์กำลังร่วงลงไปนั้น ผม (พลตำรวจเอกวสิษฐ เดชกุญชร) มีความรู้สึกอย่างเดียวกับนักบิน คือนึกว่าตัวเองกำลังจะตายเพราะเครื่องบินตก ผมได้ยินทุกคนในเครื่องบินต่างสวดมนต์เสียงดังไม่ได้ศัพท์
ตัวผมเองนั้น ทำสิ่งที่ผมเชื่อว่าจะเป็นสิ่งสุดท้ายที่ได้ทำก่อนตายคือ เอามือกุมพระเครื่ององค์เดียวที่ห้อยคออยู่แล้วร้องเรียกพระห้าองค์ที่ผมไหว้เป็นประจำคือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จฯ (สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ)
พระเครื่ององค์นั้น เป็นพระเครื่องที่ผมได้รับพระราชทานจากพระหัตถ์ของพระเจ้าอยู่หัว ในคืนวันหนึ่งใน พ.ศ. 2510 หลังจากที่รับพระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำในวังไกลกังวล คือ “พระสมเด็จจิตรลดา” หรือ "พระกำลังแผ่นดิน” ที่พระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างเอง
คืนนั้น บนพระตำหนักเปี่ยมสุขในวังไกลกังวล จำได้ว่า พระเจ้าอยู่หัวเสด็จลงมาพร้อมด้วยกล่องใส่พระเครื่องในพระหัตถ์ ขณะที่ทรงวางพระลงบนฝ่ามือที่ผมแบรับอยู่นั้น ผมมีความรู้สึกว่าองค์พระร้อนเหมือนเพิ่งออกจากเตา
ภายหลังเมื่อมีโอกาสกราบบังคมทูลถาม จึงได้ทราบว่า พระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระเครื่องด้วยการนำเอาวัตถุมงคลหลายชนิดผสมกัน เช่น ดินจากปูชนียสถานต่าง ๆ ทั่วประเทศ ดอกไม้ที่ประชาชนทูลเกล้าฯ ถวายในโอกาสต่างๆ และเส้นพระเจ้า (คือเส้นผม) ของพระองค์เอง เมื่อผสมกันโดยใช้กาวลาเท็กซ์เป็นเครื่องยึดแล้ว จึงทรงกดพระแต่ละองค์ลงในพิมพ์ โดยไม่ได้เอาเข้าเตาหรือใช้ความร้อนชนิดใด ๆ
หลังจากที่เรา (นายตำรวจรวมแปดนายและนายทหารเรือหนึ่งนาย) รับพระราชทานพระแล้ว ทรงพระกรุณาพระราชทานพระบรมราโชวาทมีความว่า พระที่พระราชทานนั้น ก่อนจะเอาไปบูชา ให้ปิดทองเสียก่อน แต่ให้ปิดเฉพาะข้างหลังพระเท่านั้น
พระราชทานพระบรมราชาธิบายด้วยว่า ที่ให้ปิดทองหลังพระก็เพื่อจะได้เตือนตัวเองว่า การทำความดีไม่จำเป็นต้องอวดใคร หรือประกาศให้ใครรู้ ให้ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ และถือว่าความสำเร็จในการทำหน้าที่เป็นบำเหน็จรางวัลที่สมบูรณ์แล้ว
... หลังจากที่ไปเร่ร่อนปฏิบัติหน้าที่อยู่ไกลห่างพระยุคลบาทเป็นเวลาประมาณหนึ่งปี ผมได้มีโอกาสกลับไปเฝ้าฯ ที่วังไกลกังวลอีก ความรู้สึกเมื่อได้เฝ้าฯ นอกจากจะเป็นความปีติยินดีที่ได้ใกล้พระยุคลบาทอีกครั้งหนึ่งแล้ว ก็มีความน้อยใจที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความตั้งใจ ลำบาก และเผชิญอันตรายนานาชนิด บางครั้งแทบเป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ปรากฏว่ากรมตำรวจมิได้ตอบแทนด้วยบำเหน็จใด ๆ ทั้งสิ้น
ก่อนเสด็จขึ้นคืนนั้น ผมจึงก้มลงกราบบนโต๊ะเสวย แล้วกราบบังคมทูลว่า ใคร่ขอพระราชทานอะไรสักอย่างหนึ่ง
พระเจ้าอยู่หัวตรัสถามว่า “จะเอาอะไร?” และผมก็กราบบังคมทูลอย่างกล้าหาญชาญชัยว่า จะขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตปิดทองบนหน้าพระที่ได้รับพระราชทานไป พระเจ้าอยู่หัวตรัสถามเหตุผลที่ผมขอปิดทองหน้าพระ
ผมกราบบังคมทูลอย่างตรงไปตรงมาว่า พระสมเด็จจิตรลดาหรือพระกำลังแผ่นดินนั้น นับตั้งแต่ได้รับพระราชทานไปห้อยคอแล้ว ต้องทำงานหนักและเหนื่อยเป็นที่สุด เกือบได้รับอันตรายร้ายแรงก็หลายครั้ง มิหนำซ้ำกรมตำรวจยังไม่ให้เงินเดือนขึ้นแม้แต่บาทเดียวอีกด้วย
พระเจ้าอยู่หัวทรงแย้มพระสรวล (ยิ้ม) ก่อนที่จะมีพระราชดำรัสตอบด้วยพระสุรเสียงที่ส่อพระเมตตาและพระกรุณาว่า ปิดทองข้างหลังพระไปเรื่อย ๆ แล้วทองจะล้นออกมาที่หน้าพระเอง...”
จากหนังสือ “รอยพระยุคลบาท”
บันทึกความทรงจำของ พลตำรวจเอกวสิษฐ เดชกุญชร
พระสมเด็จจิตรลดา หรือพระกำลังแผ่นดิน จัดเป็นหนึ่งในสุดยอดพระมหามงคล เป็นพระเครื่องที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง และพระราชทานแก่ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ และพลเรือน ในระหว่างปี พ.ศ. 2508 - พ.ศ. 2513 มีทั้งสิ้นประมาณ 2,500 องค์
ทุกองค์มีเอกสารส่วนพระองค์ หรือใบกำกับพระ แสดงชื่อ-สกุล วันที่รับพระราชทาน หมายเลขกำกับทุกองค์ โดยทรงมีพระราชดำรัสแก่ผู้รับพระราชทานว่า "ให้ปิดทองที่หลังองค์พระปฏิมาแล้วเอาไว้บูชาตลอดไป ให้ทำความดีโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใด ๆ"
การปิดทองด้านหลังองค์พระ เป็นปริศนาธรรมที่ทรงมีพระราชดำริในการปลูกฝังนิสัยให้ผู้รับพระราชทานนำไปคิดในทำนองว่า การที่บุคคลใดจะทำกุศลหรือประโยชน์สาธารณะใด ๆ นั้น พึงมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยแท้จริง โดยไม่หวังลาภยศชื่อเสียงใด ๆ
ความเป็นมาของการสร้างพระสมเด็จจิตรลดานั้น ในราวปี พ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้นายไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ข้าราชการกองหัตถศิลป กรมศิลปากร เป็นผู้แกะแม่พิมพ์พระพุทธรูปนี้ในพระราชฐาน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และทรงตรวจพระพุทธศิลป์ของพระพุทธรูปพิมพ์นี้จนเป็นที่พอพระราชหฤทัย
พระพุทธรูปพิมพ์ที่แกะถวายนั้น เป็นพระพุทธรูปพิมพ์นั่งปางสมาธิแบบขัดราบ พระบาทขวาทับพระบาทซ้าย ประทับเหนือดอกบัวบาน บน 5 กลีบ ล่าง 4 กลีบ รวมเป็น 9 กลีบ รูปทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ขอบองค์พระด้านหน้าทั้งสามด้านเฉียงป้านออกด้านหลังเล็กน้อย พิมพ์ใหญ่ขนาดกว้าง 2 เซนติเมตร สูง 3 เซนติเมตร พิมพ์เล็ก ขนาดกว้าง 1.2 เซนติเมตร สูง 1.9 เซนติเมตร
พระพุทธลักษณะขององค์พระสมเด็จจิตรลดา ซึ่งทรงสร้างขึ้นระหว่าง ปี พ.ศ. 2508 - พ.ศ. 2513 มีความแตกต่างกันออกไป ความลึกและคมชัดขององค์พระในแต่ละปีก็ไม่เท่ากัน เนื้อพระ สีพระ ความหนาบางขององค์พระในแต่ละปีก็แตกต่างกัน
พระสมเด็จจิตรลดาพิมพ์เล็กมีไม่มากนัก ทรงมีการพระราชทานให้เพียง 2 ปีเท่านั้น คือปี พ.ศ. 2508 และปี พ.ศ. 2509 องค์พระดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่างสำหรับพิมพ์เล็ก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้เวลาว่างหลังจากทรงพระอักษรและทรงงานอันเป็นราชภารกิจในเวลาดึก สร้างด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เองโดยใช้ผงมงคลอันศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ทั้งส่วนพระองค์และวัตถุศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ อันศาสนิกชนทั่วพระราชอาณาจักรได้ปฏิบัติบูชาสืบเนื่องกันมาเป็นเวลาช้านาน ประกอบด้วย
ก. ส่วนในพระองค์
1. ดอกไม้แห้งจากมาลัยที่ประชาชนได้ทูลเกล้าฯ ถวายในการเสด็จพระราชดำเนินเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธปฏิมากรแก้วมรกต และได้ทรงแขวนไว้ที่องค์พระพุทธปฏิมากรตลอดเทศกาล จนถึงคราวที่จะเปลี่ยนเครื่องทรงใหม่ ดอกไม้แห้งนี้ได้โปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมไว้
2. เส้นพระเจ้า (เส้นผม) ซึ่งเจ้าพนักงานได้รวบรวมไว้หลังจากทรงพระเครื่องใหญ่ทุกครั้ง
3. ดอกไม้แห้งจากมาลัยที่แขวนพระมหาเศวตฉัตรและด้ามพระขรรค์ชัยศรีในพระราชพิธีฉัตรมงคล
4. สีซึ่งขูดจากผ้าใบที่ทรงเขียนภาพฝีพระหัตถ์
5. ชันและสีซึ่งทรงขูดจากเรือใบพระที่นั่งขณะที่ทรงตกแต่งเรือใบพระที่นั่ง
ข. ส่วนที่มาจากจังหวัดต่าง ๆ ทุกจังหวัดทั่วพระราชอาณาจักร
วัตถุเครื่องผสมที่มาจากต่างจังหวัดนี้ กระทรวงมหาดไทยได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เป็นวัตถุที่ได้มาจากปูชนียสถานหรือพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนเคารพบูชาในแต่ละจังหวัด อันได้แก่ดินหรือตะไคร่น้ำแห้งจากปูชนียสถาน เปลวทองคำปิดพระพุทธรูป ผงธูปหน้าที่บูชา น้ำจากบ่อศักดิ์สิทธิ์ซึ่งได้เคยนำมาใช้เป็นน้ำสรงมุรธาภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จำแนกรายละเอียดได้ดังนี้
ภาคกลาง
กรุงเทพมหานคร (ในอดีต ก่อนปี พ.ศ. 2515 แยกเป็น 2 จังหวัดคือ จังหวัดพระนคร และ จังหวัดธนบุรี)
จังหวัดพระนคร
- ผงธูปและดินจากกระถางธูปที่บูชาในศาลหลักเมืองทุกกระถาง คือหน้าพระหลักเมือง และหน้าที่บูชาเทพารักษ์ประจำพระนครทั้งห้าองค์ได้แก่ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระกาฬไชยศรี เจ้าเจตคุปต์ เจ้าหอกลอง
- เปลวทองจากหลักเมือง
จังหวัดธนบุรี
- ผงจากพระปรางค์ วัดอรุณราชวราราม
- ผงธูปและเปลวทองจาก "หลวงพ่อแสน" พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ วัดหงส์รัตนาราม
- ผงธูปและเปลวทองจาก "หลวงพ่อสุข" พระพุทธรูปทองโบราณสมัยสุโขทัย วัดหงส์รัตนาราม
- ดิน ผงธูป และเกสรดอกไม้ จากศาลพระเจ้าตากสินมหาราช วัดหงส์รัตนาราม
จังหวัดกำแพงเพชร
- ผงจากยอดองค์พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระบรมธาตุ นครชุม
- ดินและเปลวทองจากหลักเมือง
จังหวัดชัยนาท
- น้ำอภิเษกจากวัดพระบรมธาตุ
- ผงจากองค์พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระบรมธาตุ
- น้ำอภิเษกจากวัดธรรมามูล
- เปลวทองและเกสรดอกไม้จากหลวงพ่อธรรมจักร พระพุทธรูปวัดธรรมามูล
- ผงจากวิหารหลวงพ่อธรรมจักร วัดธรรมามูล
จังหวัดนครนายก
- ผงธูปจากหลักเมือง
- ผงจากมณฑปพระพุทธบาท ยอดเขานางบวช
- ผงจากพระปรางค์ วัดมหาธาตุ
- ผงและเปลวทองจากพระพุทธไตรรัตนนายก วัดพนัญเชิง
- ผงจากพระเจดีย์ศรีสุริโยทัย วัดสวนหลวงสบสวรรค์
- เปลวทองจากพระมงคลบพิตร
จังหวัดพิจิตร
- ผงธูปและเปลวทองจากหลวงพ่อเพชร พระพุทธรูปวัดท่าหลวง
จังหวัดพิษณุโลก
- ทองคำเปลวผสมน้ำรัก ที่ขูดจากองค์พระพุทธชินราช เพื่อกระทำพิธีปิดทองใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2500
- เกสรบัวหลวงจากที่บูชาพระพุทธชินราช
- ผงจากศาลลูกศร
- ผงจากพระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท ภายในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ (ท้องพระโรงที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จออก ให้คณะทูตจากประเทศฝรั่งเศสเฝ้าฯ)
จังหวัดสมุทรปราการ
- ผงจากองค์พระสมุทรเจดีย์
- ผงธูปและเปลวทองจากหลักเมือง
จังหวัดสมุทรสาคร
- ผงธูปและดินจากศาลหลักเมือง
- ผงธูปจากศาลพันท้ายนรสิงห์
จังหวัดสิงห์บุรี
- ผงจากวิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ วัดโพธิ์เก้าต้น
- ดินจากสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ พระอาจารย์ธรรมโชติ วัดโพธิ์เก้าต้น
- เปลวทองจากพระพุทธรูปในวิหาร หลังพระธาตุเจดีย์ วัดสิงห์สุทธาวาส
- ผงจากพระธาตุเจดีย์ วัดสิงห์สุทธาวาส
- ผงธูปและเปลวทองจากพระนอนจักรสีห์
จังหวัดสุโขทัย
- ผงเจดีย์พระมหาธาตุเจดีย์ วัดมหาธาตุ อำเภอเมือง
- ดินกรุพระมหาธาตุเจดีย์ วัดมหาธาตุ อำเภอเมือง
- ดินกรุวัดต้นจันทร์
- ผงพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อำเภอศรีสัชนาลัย
- น้ำบ่อแก้ว อำเภอศรีสัชนาลัย
- ผงธูปและเปลวทองจากหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์
- ผงธูปและเปลวทองจากเทวรูป ศาลหลักเมือง
- ผงจากดอนเจดีย์
- ผงจากพระเจดีย์ วัดสนามชัย
- ดินจากสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ทั้งสี่แห่ง (สระแก้ว สระคา สระยมนา สระเกษ)
จังหวัดอ่างทอง
- ผงธูปและเปลวทองจากพระมหาพุทธพิมพ์ วัดไชโยวรวิหาร
- ผงธูปและเปลวทองจากรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พฺรหฺมรังสี วัดไชโยวรวิหาร
- ผงธูปและเปลวทองจากพระพุทธไสยาสน์ วัดป่าโมก
จังหวัดอุทัยธานี
- ผงธูปและเปลวทองจากพระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ พระพุทธรูปวัดสังกัสรัตนคีรี
ภาคตะวันออก
จังหวัดจันทบุรี
- ผงดินจากศาลหลักเมือง
- ผงดินและเปลวทองจากศาลพระเจ้าตากสินมหาราช
- ผงตะไคร่น้ำแห้งจากพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ
- น้ำในคลองนารายณ์ หน้าน้ำตกเขาสระบาป
- น้ำจากสระแก้ว อำเภอท่าใหม่
จังหวัดฉะเชิงเทรา
- เปลวทองจากพระพุทธโสธร วัดโสธรวราราม
- เกสรดอกบัวหน้าที่บูชาพระพุทธโสธร
- ดอกมะลิหน้าที่บูชาพระพุทธโสธร
- ผงธูปจากหลักเมือง
จังหวัดชลบุรี
- ผงธูปจากพระพุทธสิหิงค์จำลอง
- ผงพระพิมพ์หลวงพ่อแก้ว วัดป่า (วัดอรัญญิกาวาส)
จังหวัดตราด
- ผงธูปจากหลักเมือง
- ผงจากเจดีย์ วัดบุปผาราม
- เปลวทองจากรอยพระพุทธบาทจำลอง วัดบุปผาราม
จังหวัดปราจีนบุรี
- ผงธูปจากที่บูชาต้นศรีมหาโพธิ์ อำเภอศรีมหาโพธิ์
จังหวัดราชบุรี
- ผงจากพระปรางค์ วัดมหาธาตุ
ภาคเหนือ
จังหวัดเชียงราย
- ผงจากพระธาตุเจดีย์ ยอดดอยตุง
- ผงจากพระธาตุเจดีย์จอมกิตติ
จังหวัดน่าน
- ผงธูป เปลวทอง และดอกไม้แห้งจากพระเจ้าทองทิพย์ พระพุทธรูปวัดสวนตาล
- ผงจากพระธาตุเจดีย์แช่แห้ง
- ผงจากพระธาตุเจดีย์เขาน้อย
- ผงจากพระธาตุเจดีย์พลูแช่
- ผงจากพระธาตุเจดีย์จอมแจ้ง
- เกสรดอกไม้จากพระพุทธรูป วัดพระธาตุจอมแจ้ง อำเภอเวียงสา
จังหวัดลำปาง
- เปลวทองจากพระแก้วมรกต วัดพระธาตุลำปางหลวง
- ผงจากพระธาตุเจดีย์ วัดพระธาตุลำปางหลวง
- ผงจากพระธาตุเจดีย์ วัดพระแก้วดอนเต้า
- ผงจากพระธาตุเจดีย์ วัดพระธาตุเสด็จ
- ดินศาลหลักเมือง
- ดินศาลเจ้าพ่อประตูผา
- ดินศาลเจ้าพ่อหมอกมุงเมือง
จังหวัดลำพูน
- ผงจากองค์พระบรมธาตุหริภุญชัย
- ดินจากสุวรรณจังโกฏเจดีย์ วัดจามเทวี (วัดกู่กุด)
- เกสรดอกไม้จากแท่นบูชาพระบรมธาตุหริภุญชัย
จังหวัดอุตรดิตถ์
- เปลวทองจากพระแท่นศิลาอาสน์
- ผงจากพระธาตุเจดีย์ วัดพระบรมธาตุ
- เปลวทองและผงธูป จากที่บูชาหลวงพ่อเพชร พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ วัดท่าถนน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัดกาฬสินธุ์
- ผงธูปและดินจากหลักเมือง
- ผงจากองค์พระธาตุพนม
- ผงธูปที่บูชาองค์พระธาตุพนม
- ดินจากฐานพระธาตุพนม
- ผงธูปและดินจากหลักเมือง
จังหวัดนครราชสีมา
- ดิน ผงธูป และเปลวทองจากหลักเมือง
- ดิน ผงธูป และเกสรดอกไม้ จากอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี
- ดินจากปราสาทหินพิมาย
- ผงและดินจากพระเจดีย์ วัดศาลาทอง
- ดินทราย ผงธูป และเปลวทอง จากพระพุทธรูปในปราสาทหินพนมวัน
- ดินทราย ผงธูป และเกสรดอกไม้ จากศาลเจ้าแม่บุ่ง
- ดินทราย ผงธูป และเกสรดอกไม้ จากศาลเจ้าพ่อไฟ
- ดินทราย ผงธูป และเกสรดอกไม้ จากศาลเจ้าวัดแจ้ง
- ดินทราย ผงธูป และเกสรดอกไม้ จากศาลเจ้าพ่อพระยาสี่เขี้ยว
จังหวัดบุรีรัมย์
- ดินใจกลางปราสาทหินพนมรุ้ง
- ดินใจกลางปราสาทเมืองต่ำ
- ดินจากหลักเมือง
- ดินจากศาลเทพารักษ์ เจ้าพ่อวังกรูด อำเภอสตึก
- ดินจากสังเวชนียสถานต่าง ๆ จากประเทศอินเดีย
จังหวัดมหาสารคาม
- ผงธูปจากหลักเมือง
จังหวัดร้อยเอ็ด
- ผงจากปรางค์กู่ อำเภอธวัชบุรี
- ดินบริเวณหลักเมือง บึงพลาญชัย
- ผงจากกู่พระโกนา อำเภอสุวรรณภูมิ
- ผงธูปที่บูชาพระสังกัจจายน์ วัดสระทอง
- ดินจากพระธาตุเจดีย์อุปมุง อำเภอโพนทอง
จังหวัดเลย
- ผงจากองค์พระธาตุเจดีย์ศรีสองรัก
จังหวัดศรีสะเกษ
- ผงธูปปนดินจากแท่นบูชาพระโต วัดมหาพุทธาราม
- ผงธูปปนดินจากหลักเมือง
จังหวัดสุรินทร์
- ดินหน้าหลวงพ่อพระชีว์ วัดบูรพาราม
จังหวัดหนองคาย
- ผงจากพระธาตุเจดีย์บังพวน
- ผงธูปที่บูชาหลวงพ่อพระใส พระพุทธรูปวัดโพธิ์ชัย
จังหวัดอุดรธานี
- ดินทราย ผงธูป และเกสรดอกไม้ จากที่บูชาศาลเทพารักษ์ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
- ดินทราย ผงธูป และเกสรดอกไม้ จากศาลหลักเมือง
- ดินทราย ผงธูป และเกสรดอกไม้ จากที่บูชาหลวงพ่อนาค พระพุทธรูปวัดมัชฌิมาวาส
จังหวัดอุบลราชธานี
- ผงธูป เทียน และเกสรดอกไม้ จากที่บูชาพระเจ้าอินทร์แปง พระพุทธรูปวัดมหาวนาราม
ภาคใต้
จังหวัดกระบี่
- ดินในกรุถ้ำพระ บนเขาขนาบน้ำ
- เศษฐานพระในกรุถ้ำพระ
จังหวัดชุมพร
- ทรายใจกลางศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ หาดทรายรี
- ผงธูปที่บูชาพระรูปกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
จังหวัดตรัง
- พระผงศรีวิชัย ได้จากถ้ำสาย ตำบลบางดี และถ้ำคีรีวิหาร ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด
- พระว่านศักดิ์สิทธิ์ ปรุงด้วยว่าน 200 อย่าง
- พระดินดิบ ได้มาจากถ้ำสาย ตำบลบางดี
- ผงธูปที่บูชาพระในถ้ำพระพุทธ ตำบลหนองบัว
- ดินจากสังเวชนียสถานสี่แห่งในประเทศอินเดีย
จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ผงจากองค์พระบรมธาตุ
- เกสรดอกไม้ที่บูชาองค์พระบรมธาตุ
จังหวัดนราธิวาส
- ดิน ผงธูป และเกสรดอกไม้ จากวัดพระพุทธ อำเภอตากใบ
จังหวัดพังงา
- ดินจากหลักเมือง
- ดินและเศษชิ้นส่วนเทวสถานและเทวรูปพระนารายณ์ ตำบลเหล อำเภอกะปง
จังหวัดพัทลุง
- ผงจากองค์พระธาตุเจดีย์ วัดเขียนบางแก้ว อำเภอเขาชัยสน
จังหวัดภูเก็ต
- ผงจากรอยพระพุทธบาท เกาะแก้ว หน้าหาดราไวย์
- ผงธูปและเปลวทองจากพระผุด พระพุทธรูปวัดพระทอง
- ผงธูปและเปลวทองที่บูชาอนุสาวรีย์พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี (หลวงพ่อแช่ม) วัดฉลอง
จังหวัดยะลา
- ผงจากองค์พระพุทธไสยาสน์ วัดคูหาภิมุข
- ดินจากหลักเมือง
จังหวัดระนอง
- ผงธูปบูชาพระพุทธรูป วัดอุปนันทาราม
จังหวัดสตูล
- ผงธูปหน้าที่บูชาพระพุทธรูป วัดชนาธิปเฉลิม
- ผงธูปหน้าที่บูชาพระพุทธรูป วัดสตูลสันตยาราม
- ผงธูปหน้าที่บูชาพระพุทธรูป วัดหน้าเมือง
- ผงธูปหน้าที่บูชาพระพุทธรูป วัดดุลยาราม
จังหวัดสงขลา
- ผงจากเจดีย์พระบรมธาตุ วัดชัยมงคล
- ผงธูปและเปลวทองจากเจดีย์พระบรมธาตุ วัดชัยมงคล
- ผงธูปที่บูชาพระพุทธสิหิงค์ วัดเลียบ
- ผงจากพระสุวรรณมาลิกเจดีย์ วัดพะโคะ
- ผงธูปและเปลวทองจากหลักเมือง
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- ผงจากองค์พระบรมธาตุไชยา
- เทียนบูชาองค์พระบรมธาตุไชยา
มวลสารต่าง ๆ เหล่านี้ ต่อมาภายหลัง ได้พระราชทานให้แก่วัดบวรนิเวศวิหาร และทางวัดได้นำไปจัดสร้างพระเครื่องบางรุ่น เป็นที่รู้จักกันในนามพระเครื่องผสมมวลสารจิตรลดา
ก. ส่วนในพระองค์
1. ดอกไม้แห้งจากมาลัยที่ประชาชนได้ทูลเกล้าฯ ถวายในการเสด็จพระราชดำเนินเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธปฏิมากรแก้วมรกต และได้ทรงแขวนไว้ที่องค์พระพุทธปฏิมากรตลอดเทศกาล จนถึงคราวที่จะเปลี่ยนเครื่องทรงใหม่ ดอกไม้แห้งนี้ได้โปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมไว้
2. เส้นพระเจ้า (เส้นผม) ซึ่งเจ้าพนักงานได้รวบรวมไว้หลังจากทรงพระเครื่องใหญ่ทุกครั้ง
3. ดอกไม้แห้งจากมาลัยที่แขวนพระมหาเศวตฉัตรและด้ามพระขรรค์ชัยศรีในพระราชพิธีฉัตรมงคล
4. สีซึ่งขูดจากผ้าใบที่ทรงเขียนภาพฝีพระหัตถ์
5. ชันและสีซึ่งทรงขูดจากเรือใบพระที่นั่งขณะที่ทรงตกแต่งเรือใบพระที่นั่ง
ข. ส่วนที่มาจากจังหวัดต่าง ๆ ทุกจังหวัดทั่วพระราชอาณาจักร
วัตถุเครื่องผสมที่มาจากต่างจังหวัดนี้ กระทรวงมหาดไทยได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เป็นวัตถุที่ได้มาจากปูชนียสถานหรือพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนเคารพบูชาในแต่ละจังหวัด อันได้แก่ดินหรือตะไคร่น้ำแห้งจากปูชนียสถาน เปลวทองคำปิดพระพุทธรูป ผงธูปหน้าที่บูชา น้ำจากบ่อศักดิ์สิทธิ์ซึ่งได้เคยนำมาใช้เป็นน้ำสรงมุรธาภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จำแนกรายละเอียดได้ดังนี้
ภาคกลาง
กรุงเทพมหานคร (ในอดีต ก่อนปี พ.ศ. 2515 แยกเป็น 2 จังหวัดคือ จังหวัดพระนคร และ จังหวัดธนบุรี)
จังหวัดพระนคร
- ผงธูปและดินจากกระถางธูปที่บูชาในศาลหลักเมืองทุกกระถาง คือหน้าพระหลักเมือง และหน้าที่บูชาเทพารักษ์ประจำพระนครทั้งห้าองค์ได้แก่ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระกาฬไชยศรี เจ้าเจตคุปต์ เจ้าหอกลอง
- เปลวทองจากหลักเมือง
จังหวัดธนบุรี
- ผงจากพระปรางค์ วัดอรุณราชวราราม
- ผงธูปและเปลวทองจาก "หลวงพ่อแสน" พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ วัดหงส์รัตนาราม
- ผงธูปและเปลวทองจาก "หลวงพ่อสุข" พระพุทธรูปทองโบราณสมัยสุโขทัย วัดหงส์รัตนาราม
- ดิน ผงธูป และเกสรดอกไม้ จากศาลพระเจ้าตากสินมหาราช วัดหงส์รัตนาราม
จังหวัดกำแพงเพชร
- ผงจากยอดองค์พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระบรมธาตุ นครชุม
- ดินและเปลวทองจากหลักเมือง
- น้ำอภิเษกจากวัดพระบรมธาตุ
- ผงจากองค์พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระบรมธาตุ
- น้ำอภิเษกจากวัดธรรมามูล
- เปลวทองและเกสรดอกไม้จากหลวงพ่อธรรมจักร พระพุทธรูปวัดธรรมามูล
- ผงจากวิหารหลวงพ่อธรรมจักร วัดธรรมามูล
- ผงธูปจากหลักเมือง
- ผงจากมณฑปพระพุทธบาท ยอดเขานางบวช
จังหวัดนครปฐม
- ผงจากองค์พระปฐมเจดีย์
- ผงธูปที่บูชาพระร่วงโรจนฤทธิ์ วัดพระปฐมเจดีย์
จังหวัดนครสวรรค์
- ผงจากพระเจดีย์ วัดวรนาถบรรพต (วัดเขากบ)
- เปลวทองจากพระพุทธรูป วัดวรนาถบรรพต
- เกสรดอกไม้จากที่บูชาพระเจดีย์ วัดวรนาถบรรพต
จังหวัดนนทบุรี
- ผงจากพระมหาเจดีย์ วัดเขมาภิรตาราม
จังหวัดปทุมธานี
- ผงจากพัทธสีมารอบพระอุโบสถ วัดเสด็จ
- ดินจากสังเวชนียสถานประเทศอินเดีย ซึ่งบรรจุไว้ในฐานชุกชี ภายในพระอุโบสถ วัดเสด็จ
- ผงธูปและเกสรดอกบัวจากพระอุโบสถ วัดเสด็จ
- ผงปถมัง ผงอิทธิเจ ของพระครูสาทรพัฒนกิจ (หลวงพ่อลมูล ขันติพโล) วัดเสด็จ
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- ผงและเปลวทองจากพระพุทธไตรรัตนนายก วัดพนัญเชิง
- ผงจากพระเจดีย์ศรีสุริโยทัย วัดสวนหลวงสบสวรรค์
- เปลวทองจากพระมงคลบพิตร
จังหวัดพิจิตร
- ผงธูปและเปลวทองจากหลวงพ่อเพชร พระพุทธรูปวัดท่าหลวง
จังหวัดพิษณุโลก
- ทองคำเปลวผสมน้ำรัก ที่ขูดจากองค์พระพุทธชินราช เพื่อกระทำพิธีปิดทองใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2500
- เกสรบัวหลวงจากที่บูชาพระพุทธชินราช
จังหวัดเพชรบูรณ์
- ผงธูปและเปลวทองจากพระพุทธมหาธรรมราชา วัดไตรภูมิ
- ผงธูปและเปลวทองจากหลักเมือง
จังหวัดลพบุรี
- ผงจากศาลพระกาฬ- ผงจากศาลลูกศร
- ผงจากพระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท ภายในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ (ท้องพระโรงที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จออก ให้คณะทูตจากประเทศฝรั่งเศสเฝ้าฯ)
จังหวัดสมุทรปราการ
- ผงจากองค์พระสมุทรเจดีย์
- ผงธูปและเปลวทองจากหลักเมือง
จังหวัดสมุทรสงคราม
- ผงธูปและเปลวทองจากพระพุทธรูป วัดเพชรสมุทร (วัดบ้านแหลม)
- ผงธูปและดินจากศาลหลักเมือง
- ผงธูปจากศาลพันท้ายนรสิงห์
จังหวัดสระบุรี
- เปลวทองจากรอยพระพุทธบาท
- ผงธูปและผงเกสรดอกบัวที่บูชาพระพุทธบาท
- ผงจากพระพุทธฉาย
- ผงจากวิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ วัดโพธิ์เก้าต้น
- ดินจากสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ พระอาจารย์ธรรมโชติ วัดโพธิ์เก้าต้น
- เปลวทองจากพระพุทธรูปในวิหาร หลังพระธาตุเจดีย์ วัดสิงห์สุทธาวาส
- ผงจากพระธาตุเจดีย์ วัดสิงห์สุทธาวาส
- ผงธูปและเปลวทองจากพระนอนจักรสีห์
จังหวัดสุโขทัย
- ผงเจดีย์พระมหาธาตุเจดีย์ วัดมหาธาตุ อำเภอเมือง
- ดินกรุพระมหาธาตุเจดีย์ วัดมหาธาตุ อำเภอเมือง
- ดินกรุวัดต้นจันทร์
- ผงพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อำเภอศรีสัชนาลัย
- น้ำบ่อแก้ว อำเภอศรีสัชนาลัย
- น้ำบ่อทอง อำเภอศรีสัชนาลัย
จังหวัดสุพรรณบุรี- ผงธูปและเปลวทองจากหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์
- ผงธูปและเปลวทองจากเทวรูป ศาลหลักเมือง
- ผงจากดอนเจดีย์
- ผงจากพระเจดีย์ วัดสนามชัย
- ดินจากสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ทั้งสี่แห่ง (สระแก้ว สระคา สระยมนา สระเกษ)
- ผงธูปและเปลวทองจากพระมหาพุทธพิมพ์ วัดไชโยวรวิหาร
- ผงธูปและเปลวทองจากรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พฺรหฺมรังสี วัดไชโยวรวิหาร
- ผงธูปและเปลวทองจากพระพุทธไสยาสน์ วัดป่าโมก
จังหวัดอุทัยธานี
- ผงธูปและเปลวทองจากพระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ พระพุทธรูปวัดสังกัสรัตนคีรี
ภาคตะวันออก
จังหวัดจันทบุรี
- ผงดินจากศาลหลักเมือง
- ผงดินและเปลวทองจากศาลพระเจ้าตากสินมหาราช
- ผงตะไคร่น้ำแห้งจากพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ
- น้ำในคลองนารายณ์ หน้าน้ำตกเขาสระบาป
- น้ำจากสระแก้ว อำเภอท่าใหม่
จังหวัดฉะเชิงเทรา
- เปลวทองจากพระพุทธโสธร วัดโสธรวราราม
- เกสรดอกบัวหน้าที่บูชาพระพุทธโสธร
- ดอกมะลิหน้าที่บูชาพระพุทธโสธร
- ผงธูปจากหลักเมือง
จังหวัดชลบุรี
- ผงธูปจากพระพุทธสิหิงค์จำลอง
- ผงพระพิมพ์หลวงพ่อแก้ว วัดป่า (วัดอรัญญิกาวาส)
- ผงธูปจากหลักเมือง
- ผงจากเจดีย์ วัดบุปผาราม
- เปลวทองจากรอยพระพุทธบาทจำลอง วัดบุปผาราม
จังหวัดปราจีนบุรี
- ผงธูปจากที่บูชาต้นศรีมหาโพธิ์ อำเภอศรีมหาโพธิ์
จังหวัดระยอง
- ผงดินจากหลักเมือง
- ดอกไม้แห้งจากศาลพระเจ้าตากสินมหาราช
ภาคตะวันตก
จังหวัดกาญจนบุรี
- ผงธูปและเปลวทองจากพระแท่นดงรัง
- ผงจากโบสถ์ร้าง วัดท่ากระดาน
จังหวัดตาก
- เปลวทองจากพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
- เกสรดอกไม้จากที่บูชาพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- ผงจากพระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ บนยอดเขาช่องกระจก
จังหวัดเพชรบุรี
- ผงธูปบูชา พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บนพระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท พระนครคีรี
- ผงจากพระเจดีย์พระธาตุจอมเพชร พระนครคีรี
- ผงดินจากยอดสูงสุดของพระนครคีรี
- ผงธูปจากพระพุทธรูปเชียงแสน พระนครคีรี
- ผงดินจากศาลหลักเมืองเก่า
- ผงธูปจากเทพารักษ์ ศาลหลักเมืองเก่า
- ผงธูปจากพระปรางค์ วัดมหาธาตุ
- ผงธูปจากพระประธานในพระวิหารหลวง วัดมหาธาตุ
- ผงจากพระปรางค์ วัดมหาธาตุ
ภาคเหนือ
จังหวัดเชียงราย
- ผงจากพระธาตุเจดีย์ ยอดดอยตุง
- ผงจากพระธาตุเจดีย์จอมกิตติ
จังหวัดเชียงใหม่
- ผงจากพระธาตุเจดีย์ วัดพระธาตุศรีจอมทอง
- เปลวทองจากที่บูชาพระพุทธรูป วัดพระธาตุศรีจอมทอง
- เปลวทองจากที่บูชาพระพุทธรูป วัดพระธาตุศรีจอมทอง
- ดอกไม้แห้งที่บูชาพระบรมธาตุ วัดพระธาตุศรีจอมทอง
- ดินจากโคนพระศรีมหาโพธิ์ วัดพระธาตุศรีจอมทอง
- ดินจากโคนพระศรีมหาโพธิ์ วัดพระธาตุศรีจอมทอง
- ผงจากพระธาตุเจดีย์ ดอยสุเทพ
- ผงธูปจากที่บูชาพระพุทธสิหิงค์
- ดินจากเสาอินทขีลหรือหลักเมือง
- ดินจากบริเวณที่ได้ทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 8 วัดเจดีย์เจ็ดยอด
- ดินจากบริเวณที่ตั้งค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อำเภอฝาง
- เปลวทองและเกสรดอกไม้จากที่บูชาอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย
- ผงธูป เปลวทอง และดอกไม้แห้งจากพระเจ้าทองทิพย์ พระพุทธรูปวัดสวนตาล
- ผงจากพระธาตุเจดีย์แช่แห้ง
- ผงจากพระธาตุเจดีย์เขาน้อย
- ผงจากพระธาตุเจดีย์พลูแช่
- ผงจากพระธาตุเจดีย์จอมแจ้ง
- เกสรดอกไม้จากพระพุทธรูป วัดพระธาตุจอมแจ้ง อำเภอเวียงสา
จังหวัดแพร่
- ผงธูปและดินหลักเมือง
- ผงจากพระธาตุเจดีย์ช่อแฮ
จังหวัดแม่ฮ่องสอน
- ผงจากพระธาตุเจดีย์ ดอยกองมู
- เปลวทองจากพระแก้วมรกต วัดพระธาตุลำปางหลวง
- ผงจากพระธาตุเจดีย์ วัดพระธาตุลำปางหลวง
- ผงจากพระธาตุเจดีย์ วัดพระแก้วดอนเต้า
- ผงจากพระธาตุเจดีย์ วัดพระธาตุเสด็จ
- ดินศาลหลักเมือง
- ดินศาลเจ้าพ่อประตูผา
- ดินศาลเจ้าพ่อหมอกมุงเมือง
จังหวัดลำพูน
- ผงจากองค์พระบรมธาตุหริภุญชัย
- ดินจากสุวรรณจังโกฏเจดีย์ วัดจามเทวี (วัดกู่กุด)
- เกสรดอกไม้จากแท่นบูชาพระบรมธาตุหริภุญชัย
จังหวัดอุตรดิตถ์
- เปลวทองจากพระแท่นศิลาอาสน์
- ผงจากพระธาตุเจดีย์ วัดพระบรมธาตุ
- เปลวทองและผงธูป จากที่บูชาหลวงพ่อเพชร พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ วัดท่าถนน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัดกาฬสินธุ์
- ผงธูปและดินจากหลักเมือง
จังหวัดขอนแก่น
- ผงปูนพระธาตุขามแก่น
จังหวัดชัยภูมิ
จังหวัดนครพนม
- ผงจากปรางค์กู่
- ผงจากพระธาตุเจดีย์กุดจอก
- ผงจากพระธาตุเจดีย์สามหมื่น
- ผงธูปที่บูชาพระเจ้าองค์ตื้อ ภูพระ
- ผงธูปที่บูชาเจ้าพ่อพญาแล
- ผงจากองค์พระธาตุพนม
- ผงธูปที่บูชาองค์พระธาตุพนม
- ดินจากฐานพระธาตุพนม
- ผงธูปและดินจากหลักเมือง
- ดิน ผงธูป และเปลวทองจากหลักเมือง
- ดิน ผงธูป และเกสรดอกไม้ จากอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี
- ดินจากปราสาทหินพิมาย
- ผงและดินจากพระเจดีย์ วัดศาลาทอง
- ดินทราย ผงธูป และเปลวทอง จากพระพุทธรูปในปราสาทหินพนมวัน
- ดินทราย ผงธูป และเกสรดอกไม้ จากศาลเจ้าแม่บุ่ง
- ดินทราย ผงธูป และเกสรดอกไม้ จากศาลเจ้าพ่อไฟ
- ดินทราย ผงธูป และเกสรดอกไม้ จากศาลเจ้าวัดแจ้ง
- ดินทราย ผงธูป และเกสรดอกไม้ จากศาลเจ้าพ่อพระยาสี่เขี้ยว
จังหวัดบุรีรัมย์
- ดินใจกลางปราสาทหินพนมรุ้ง
- ดินใจกลางปราสาทเมืองต่ำ
- ดินจากหลักเมือง
- ดินจากศาลเทพารักษ์ เจ้าพ่อวังกรูด อำเภอสตึก
- ดินจากสังเวชนียสถานต่าง ๆ จากประเทศอินเดีย
จังหวัดมหาสารคาม
- ผงธูปจากหลักเมือง
จังหวัดร้อยเอ็ด
- ผงจากปรางค์กู่ อำเภอธวัชบุรี
- ดินบริเวณหลักเมือง บึงพลาญชัย
- ผงจากกู่พระโกนา อำเภอสุวรรณภูมิ
- ผงธูปที่บูชาพระสังกัจจายน์ วัดสระทอง
- ดินจากพระธาตุเจดีย์อุปมุง อำเภอโพนทอง
จังหวัดเลย
- ผงจากองค์พระธาตุเจดีย์ศรีสองรัก
จังหวัดศรีสะเกษ
- ผงธูปปนดินจากแท่นบูชาพระโต วัดมหาพุทธาราม
- ผงธูปปนดินจากหลักเมือง
จังหวัดสกลนคร
- ผงจากองค์พระธาตุเจดีย์เชิงชุม วัดพระธาตุเชิงชุม
- เกสรดอกไม้ที่บูชาหลวงพ่อองค์แสน พระพุทธรูปวัดพระธาตุเชิงชุม
- เศษปูนที่แตกร้าวจากหลวงพ่อองค์แสน
- ดินหน้าหลวงพ่อพระชีว์ วัดบูรพาราม
จังหวัดหนองคาย
- ผงจากพระธาตุเจดีย์บังพวน
- ผงธูปที่บูชาหลวงพ่อพระใส พระพุทธรูปวัดโพธิ์ชัย
จังหวัดอุดรธานี
- ดินทราย ผงธูป และเกสรดอกไม้ จากที่บูชาศาลเทพารักษ์ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
- ดินทราย ผงธูป และเกสรดอกไม้ จากศาลหลักเมือง
- ดินทราย ผงธูป และเกสรดอกไม้ จากที่บูชาหลวงพ่อนาค พระพุทธรูปวัดมัชฌิมาวาส
จังหวัดอุบลราชธานี
- ผงธูป เทียน และเกสรดอกไม้ จากที่บูชาพระเจ้าอินทร์แปง พระพุทธรูปวัดมหาวนาราม
ภาคใต้
จังหวัดกระบี่
- ดินในกรุถ้ำพระ บนเขาขนาบน้ำ
- เศษฐานพระในกรุถ้ำพระ
- ทรายใจกลางศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ หาดทรายรี
- ผงธูปที่บูชาพระรูปกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
จังหวัดตรัง
- พระผงศรีวิชัย ได้จากถ้ำสาย ตำบลบางดี และถ้ำคีรีวิหาร ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด
- พระว่านศักดิ์สิทธิ์ ปรุงด้วยว่าน 200 อย่าง
- พระดินดิบ ได้มาจากถ้ำสาย ตำบลบางดี
- ผงธูปที่บูชาพระในถ้ำพระพุทธ ตำบลหนองบัว
- ดินจากสังเวชนียสถานสี่แห่งในประเทศอินเดีย
- ผงจากองค์พระบรมธาตุ
- เกสรดอกไม้ที่บูชาองค์พระบรมธาตุ
จังหวัดนราธิวาส
- ดิน ผงธูป และเกสรดอกไม้ จากวัดพระพุทธ อำเภอตากใบ
จังหวัดปัตตานี
- ดิน ผงธูป เปลวทองและเกสรดอกไม้จากหลักเมือง
- ดิน ผงธูป เปลวทองจากที่บูชาหลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด วัดช้างให้
จังหวัดพังงา
- ดินจากหลักเมือง
- ดินและเศษชิ้นส่วนเทวสถานและเทวรูปพระนารายณ์ ตำบลเหล อำเภอกะปง
จังหวัดพัทลุง
- ผงจากองค์พระธาตุเจดีย์ วัดเขียนบางแก้ว อำเภอเขาชัยสน
จังหวัดภูเก็ต
- ผงจากรอยพระพุทธบาท เกาะแก้ว หน้าหาดราไวย์
- ผงธูปและเปลวทองจากพระผุด พระพุทธรูปวัดพระทอง
- ผงธูปและเปลวทองที่บูชาอนุสาวรีย์พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี (หลวงพ่อแช่ม) วัดฉลอง
จังหวัดยะลา
- ผงจากองค์พระพุทธไสยาสน์ วัดคูหาภิมุข
- ดินจากหลักเมือง
จังหวัดระนอง
- ผงธูปบูชาพระพุทธรูป วัดอุปนันทาราม
จังหวัดสตูล
- ผงธูปหน้าที่บูชาพระพุทธรูป วัดชนาธิปเฉลิม
- ผงธูปหน้าที่บูชาพระพุทธรูป วัดสตูลสันตยาราม
- ผงธูปหน้าที่บูชาพระพุทธรูป วัดหน้าเมือง
- ผงธูปหน้าที่บูชาพระพุทธรูป วัดดุลยาราม
- ผงจากเจดีย์พระบรมธาตุ วัดชัยมงคล
- ผงธูปและเปลวทองจากเจดีย์พระบรมธาตุ วัดชัยมงคล
- ผงธูปที่บูชาพระพุทธสิหิงค์ วัดเลียบ
- ผงจากพระสุวรรณมาลิกเจดีย์ วัดพะโคะ
- ผงธูปและเปลวทองจากหลักเมือง
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- ผงจากองค์พระบรมธาตุไชยา
- เทียนบูชาองค์พระบรมธาตุไชยา
มวลสารต่าง ๆ เหล่านี้ ต่อมาภายหลัง ได้พระราชทานให้แก่วัดบวรนิเวศวิหาร และทางวัดได้นำไปจัดสร้างพระเครื่องบางรุ่น เป็นที่รู้จักกันในนามพระเครื่องผสมมวลสารจิตรลดา
สมเด็จนางพญา ญสส ผสมมวลสารจิตรลดา วัดบวรนิเวศวิหาร ฉลองพระชนมายุ 84 พรรษา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก |
ปี พ.ศ. 2539 ในวโรกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก ฉลองสิริราชสมบัติ 50 ปี ได้มีการจัดสร้าง "พระกำลังแผ่นดิน" ขึ้นโดยพระราชพิพัฒน์โกศล เจ้าอาวาสวัดศรีสุดารามวรวิหาร ประธานการก่อสร้างโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ พร้อมด้วยคณะกรรมการฯ เพื่อมอบแก่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์สมทบทุนซื้อเครื่องมือแพทย์ให้แก่โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
พระกำลังแผ่นดินที่จัดสร้างขึ้นในครั้งนั้น ประกอบด้วยเนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนวโลหะ และเนื้อผง องค์พระมีรูปร่างลักษณะคล้ายกับพระสมเด็จจิตรลดา และที่ด้านหลัง ได้อัญเชิญตราสัญลักษณ์งานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปีมาประดิษฐานไว้
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนิน เป็นองค์ประธานประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวัง วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2539 เวลา 15:19 น. โดยพระภาวนาจารย์ 109 รูป
อ้างอิง พระพุทธนวราชบพิตรและพระราชดำรัส หอสมุดแห่งชาติกาญจนาภิเษก สงขลา
ขอขอบคุณ ท่านเจ้าของภาพถ่ายในอินเทอร์เน็ตทุกท่าน ที่เอื้อเฟื้อภาพประกอบเป็นวิทยาทาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น