เป็นความเชื่อที่มีมาแต่โบราณว่า คราวใดที่โรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน หรือประสบอุบัติเหตุ ทำให้เจ็บหนัก หรือเมื่อหมอดูทักว่ากำลังมีเคราะห์ หรือมีลางบอกเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้เชื่อว่าดวงกำลังตก ก็นิยมไปทำบุญสะเดาะเคราะห์ต่ออายุและเสริมดวงชะตา เพื่อให้โชคดีและมีชีวิตยืนยาวต่อไปอีก
พระราชพรหมยาน หรือ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง เล่าว่า สมัยที่ท่านบวชใหม่ ๆ จำพรรษาอยู่กับหลวงพ่อปานที่วัดบางนมโค ท่านได้เสี่ยงทายอายุด้วยการยกรูปเหมือนพระศรีอาริยเมตไตรย ซึ่งแห่มาจากวัดไลย์ จังหวัดลพบุรี ทราบว่าจะถึงกาลมรณะเมื่ออายุ 27 ปี ครั้งนั้น หลวงพ่อปานได้ซื้อปลามาให้หนึ่งกะละมังใหญ่ บอกให้ท่านเอาไปปล่อยเพื่อเป็นการต่ออายุ
เมื่อคราวที่อหิวาตกโรคระบาด ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 นั้น การระบาดของโรครุนแรงมาก มีผู้เสียชีวิตหลายหมื่นคน พระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ รับสั่งให้ซื้อปลาที่ถูกนำมาฆ่าขายกันในตลาดไปปล่อย สิ้นพระราชทรัพย์เป็นจำนวนมาก เพื่อหวังจะช่วยสะเดาะเคราะห์ให้กับบ้านเมือง
(ภาพอดีต) ศพผู้เสียชีวิตจากโรคระบาด ถูกนำมาทิ้งที่ป่าช้าวัดสระเกศ |
สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) เจ้าอาวาสองค์แรกของวัดโสมนัสวิหาร เล่าถึงอหิวาตกโรคที่ระบาดรุนแรงในครั้งนั้นว่า
".. คนต้องโรคตายมากนัก ผู้ที่เห็นเขาเจ็บตายไปอย่างนั้น ก็หวาดหวั่นพรั่นตัว กลัวจะต้องเจ็บต้องตายไปบ้าง พากันทำบุญให้ทาน ทำการกุศลต่าง ๆ เพื่อจะห้ามกันความตาย หรือเพื่อจะตายไป บุญกุศลนั้นจะได้เป็นของตัวติดตามไปให้ได้ความสุขในเบื้องหน้า บางพวกก็ภาวนาบ่นพึมพำ ๆ เพื่อจะกันตาย ครั้นท้องร้องจ๊อกขึ้นมาก็ตกใจหน้าสลด คิดว่าเราเห็นจะตายคราวนี้เป็นแน่ บางพวกมีคนเป็นที่รักจากไปเสียในที่อื่นก็ร้องไห้ร่ำไรคิดถึงกัน บางพวกเที่ยวนิมนต์พระสงฆ์ไปสวดมนต์ฉันเช้า บางพวกก็นิมนต์พระมารับสังฆภัตต์และอุทเทศภัตต์ เป็นต้น คราวนั้นพระภิกษุสงฆ์ตามบึงบาง และภิกษุสงฆ์ในบ้านในเมืองร่ำรวยนักจนไม่มีท้องจะใส่ เพราะมีผู้เขาทำบุญให้ทานมาก ครั้นอหิวาตกโรคสงบเงียบลง พระภิกษุก็อดโซไป เพลาเช้า ๆ ออกเที่ยวบิณฑบาตก็ไม่ใคร่จะพอฉัน ท่านที่มีอุปัฏฐากญาติโยมอยู่ใกล้ ๆ ก็พอยังชั่ว ท่านที่ไม่มีอุปัฏฐากญาติโยม หรือมีอยู่เสียไกลก็ลำบาก เพราะไม่ใคร่จะมีผู้ทำบุญ ผู้ที่จะทำบุญกุศลและจะเหลียวแลดูพระ จะนับถือพระเป็นที่พึ่งที่ระลึกนั้น ก็เมื่อยามทุกข์ภัยบังเกิดขึ้น หรือเมื่อแก่ทุพพลจวนจะใกล้ตาย หรือเมื่อยามเจ็บหนักจวนจะแตกดับ หรือเมื่อยามความตายใกล้จะถึงเข้า ยามปรกติเป็นสุขสบายอยู่แล้ว ผู้ที่จะเหลียวหน้ามาดูพระและจะนับถือพระเป็นที่พึ่ง และจะคิดทำบุญทำกุศลนั้นน้อยนัก.."
การสะเดาะเคราะห์ต่ออายุที่ดูเป็นพิธีรีตรอง คือการนิมนต์พระท่านช่วยทำพิธี บังสุกุลตาย-บังสุกุลเป็น ด้วยหวังจะให้บังเกิดผลเฉียบพลันทันตาเห็น
".. คนต้องโรคตายมากนัก ผู้ที่เห็นเขาเจ็บตายไปอย่างนั้น ก็หวาดหวั่นพรั่นตัว กลัวจะต้องเจ็บต้องตายไปบ้าง พากันทำบุญให้ทาน ทำการกุศลต่าง ๆ เพื่อจะห้ามกันความตาย หรือเพื่อจะตายไป บุญกุศลนั้นจะได้เป็นของตัวติดตามไปให้ได้ความสุขในเบื้องหน้า บางพวกก็ภาวนาบ่นพึมพำ ๆ เพื่อจะกันตาย ครั้นท้องร้องจ๊อกขึ้นมาก็ตกใจหน้าสลด คิดว่าเราเห็นจะตายคราวนี้เป็นแน่ บางพวกมีคนเป็นที่รักจากไปเสียในที่อื่นก็ร้องไห้ร่ำไรคิดถึงกัน บางพวกเที่ยวนิมนต์พระสงฆ์ไปสวดมนต์ฉันเช้า บางพวกก็นิมนต์พระมารับสังฆภัตต์และอุทเทศภัตต์ เป็นต้น คราวนั้นพระภิกษุสงฆ์ตามบึงบาง และภิกษุสงฆ์ในบ้านในเมืองร่ำรวยนักจนไม่มีท้องจะใส่ เพราะมีผู้เขาทำบุญให้ทานมาก ครั้นอหิวาตกโรคสงบเงียบลง พระภิกษุก็อดโซไป เพลาเช้า ๆ ออกเที่ยวบิณฑบาตก็ไม่ใคร่จะพอฉัน ท่านที่มีอุปัฏฐากญาติโยมอยู่ใกล้ ๆ ก็พอยังชั่ว ท่านที่ไม่มีอุปัฏฐากญาติโยม หรือมีอยู่เสียไกลก็ลำบาก เพราะไม่ใคร่จะมีผู้ทำบุญ ผู้ที่จะทำบุญกุศลและจะเหลียวแลดูพระ จะนับถือพระเป็นที่พึ่งที่ระลึกนั้น ก็เมื่อยามทุกข์ภัยบังเกิดขึ้น หรือเมื่อแก่ทุพพลจวนจะใกล้ตาย หรือเมื่อยามเจ็บหนักจวนจะแตกดับ หรือเมื่อยามความตายใกล้จะถึงเข้า ยามปรกติเป็นสุขสบายอยู่แล้ว ผู้ที่จะเหลียวหน้ามาดูพระและจะนับถือพระเป็นที่พึ่ง และจะคิดทำบุญทำกุศลนั้นน้อยนัก.."
การสะเดาะเคราะห์ต่ออายุที่ดูเป็นพิธีรีตรอง คือการนิมนต์พระท่านช่วยทำพิธี บังสุกุลตาย-บังสุกุลเป็น ด้วยหวังจะให้บังเกิดผลเฉียบพลันทันตาเห็น
การบังสุกุลเพื่อต่ออายุนั้น คนที่ต้องการต่ออายุขัยจะนอนหงาย เหยียดยาวตามสบาย พระท่านจะเอาผ้าขาวมาคลุมตลอดร่าง กล่าวคำบังสุกุลตายแล้วเอาผ้าขาวที่คลุมไว้ออก จากนั้นก็กล่าวคำบังสุกุลเป็นอีกครั้งหนึ่ง เป็นอันเสร็จพิธี หากอาจารย์เจ้าพิธีเป็นคนถือทิศ เวลาบังสุกุลตาย ก็จะให้คนที่จะต่ออายุนอนหันศีรษะไปทางทิศตะวันตก เมื่อจะบังสุกุลเป็น ก็เปลี่ยนให้หันศีรษะไปทางทิศตะวันออก ตามความเชื่อว่า ทิศตะวันตกเป็นทิศของความตาย
พิธีบังสุกุลต่ออายุ พระสงฆ์ชักผ้าจากศพหรือชักผ้าที่ทอดไว้หน้าศพด้วยการปลงกรรมฐาน เช่นเดียวกับการบังสุกุล เพียงแต่ทำในขณะที่ผู้เข้าพิธียังมีชีวิตอยู่ |
บทบังสุกุลตาย กล่าวว่า ...
อะนิจจา วะตะ สังขารา
อุปปาทะวะยะธัมมิโน
อุปปัชชิตวา นิรุชฌันติ
เตสัง วูปะสะโม สุโข
มีความหมายว่า ...
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ
มีความเกิดขึ้นและมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป
ความเข้าไปสงบแห่งสังขารเหล่านั้นได้ ย่อมนำมาซึ่งความสุข
บทบังสุกุลเป็น กล่าวว่า ...
อุปปาทะวะยะธัมมิโน
อุปปัชชิตวา นิรุชฌันติ
เตสัง วูปะสะโม สุโข
มีความหมายว่า ...
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ
มีความเกิดขึ้นและมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป
ความเข้าไปสงบแห่งสังขารเหล่านั้นได้ ย่อมนำมาซึ่งความสุข
บทบังสุกุลเป็น กล่าวว่า ...
อะจิรัง วะตะยัง กาโย
ปะฐะวิง อะธิเสสสะติ
ฉุฑโฑ อะเปตะ วิญญาโน
นิรัตถังวะ กะลิงคะลัง
มีความหมายว่า ...
ร่างกายของเรานี้ คงไม่นานหนอ
จะต้องลงไปทับถมซึ่งแผ่นดิน
เมื่อวิญญาณได้ปราศจากตัวเราทิ้งไปเสียแล้ว
เปรียบเหมือนท่อนไม้ท่อนฟืน หาประโยชน์มิได้ดังนี้แล
ปะฐะวิง อะธิเสสสะติ
ฉุฑโฑ อะเปตะ วิญญาโน
นิรัตถังวะ กะลิงคะลัง
มีความหมายว่า ...
ร่างกายของเรานี้ คงไม่นานหนอ
จะต้องลงไปทับถมซึ่งแผ่นดิน
เมื่อวิญญาณได้ปราศจากตัวเราทิ้งไปเสียแล้ว
เปรียบเหมือนท่อนไม้ท่อนฟืน หาประโยชน์มิได้ดังนี้แล
ในบางสำนัก อาจารย์เจ้าพิธีจะให้คนที่ต้องการต่ออายุขัยลงไปนอนในโลงศพและทำพิธีในลักษณะเดียวกัน ประหนึ่งว่า คน ๆ นั้นได้ตายจากไปแล้ว หมดเคราะห์หมดโศกแล้ว ที่กลับฟื้นคืนมาคือคนใหม่พร้อมกับชีวิตใหม่ที่ดีขึ้น อะไรทำนองนั้น
บางรายถึงขนาดที่ว่าวิญญาณออกจากร่างไปแล้ว ไปตามกลับมาเพื่อให้มีชีวิตอยู่ต่อก็มี ดังเช่นเรื่องที่ท่านพลเรือตรีหลวงสุวิชานแพทย์ เล่าไว้เมื่อครั้งได้รับเชิญให้ไปพูดเรื่องจิตและวิญญาณ ต่อมา ท่านอาจารย์ทองทิว สุวรรณทัต ได้นำเรื่องดังกล่าวมาบันทึกไว้ในหนังสือ "ประสบการณ์ทางวิญญาณ" ความว่า ..
บางรายถึงขนาดที่ว่าวิญญาณออกจากร่างไปแล้ว ไปตามกลับมาเพื่อให้มีชีวิตอยู่ต่อก็มี ดังเช่นเรื่องที่ท่านพลเรือตรีหลวงสุวิชานแพทย์ เล่าไว้เมื่อครั้งได้รับเชิญให้ไปพูดเรื่องจิตและวิญญาณ ต่อมา ท่านอาจารย์ทองทิว สุวรรณทัต ได้นำเรื่องดังกล่าวมาบันทึกไว้ในหนังสือ "ประสบการณ์ทางวิญญาณ" ความว่า ..
พลเรือตรี หลวงสุวิชานแพทย์ ร.น. |
มีญาติของผู้ป่วยรายหนึ่ง เชิญท่านอาจารย์หลวงสุวิชานแพทย์ไปรักษาเพราะผู้ป่วยมีอาการเพียบหนัก เมื่อท่านไปถึงบ้าน ได้ตรวจดูอาการตามวิชาแพทย์ซึ่งท่านมีความเชี่ยวชาญ ก็พบว่า ชีพจรของผู้ป่วยนั้นหยุดเต้นแล้ว และเสียชีวิตก่อนที่ท่านจะไปถึงเพียงชั่วครู่เดียว
ครั้นญาติของผู้ตายทราบเช่นนั้น ก็พากันร้องไห้ด้วยความอาลัยอาวรณ์ในความดีของผู้ตาย เป็นที่น่าเวทนา ทั้งร่ำร้องขอให้ท่านอาจารย์หลวงสุวิชานแพทย์ หาหนทางช่วยเหลือให้ผู้ตายฟื้นคืนสติอีกครั้ง เพราะพวกเขาทราบดีว่า ท่านมีความสามารถพอที่จะช่วยได้
ท่านอาจารย์หลวงสุวิชานแพทย์ ได้ฟังญาติของผู้ตายรุมเร้าขอความช่วยเหลือจากท่าน ครั้งแรกท่านยังไม่กล้าที่จะรับปากพวกเขา เพียงแต่บอกว่า ขอให้ท่านได้ตรวจดูตามหลักวิชาสมาธิของท่านดูก่อน
และแล้วท่านก็เข้าสมาธิติดตามวิญญาณของผู้ตายไป จนพบกับเทวดาที่รักษาอายุของเขา ท่านจึงได้ขอร้องกับเทวดาเพื่อขอชีวิตกลับคืนสู่ร่างตามเดิม สุดท้ายได้มีการต่อรองกับเทวดารักษาอายุองค์นั้น โดยเทวดาได้ขอสัญญาว่า ถ้าให้วิญญาณของชายผู้นั้นกลับคืนสู่ร่างแล้ว จะต้องให้เขาบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาชั่วระยะหนึ่ง ซึ่งท่านอาจารย์หลวงสุวิชานแพทย์ ก็รับปากจะบอกญาติพี่น้องของเขาให้จัดการตามประสงค์ของเทวดาทุกประการ
ครั้นท่านอาจารย์หลวงสุวิชานแพทย์ออกจากญาณสมาธิแล้ว จึงแจ้งให้วงศาคณาญาติของผู้ซึ่งถึงแก่กรรมไปแล้วให้ทราบ อันเป็นการนำความปลื้มปิติแก่พวกเขาเป็นอย่างมาก และต่างก็นั่งรอเวลาที่วิญญาณจะกลับคืนสู่ร่าง
เวลาผ่านไปครู่ใหญ่ ๆ ท่านอาจารย์หลวงสุวิชานแพทย์ได้ตรวจอาการของผู้ตายอีกครั้งหนึ่ง ปรากฏว่าหัวใจเริ่มเต้นช้า ๆ จนเข้าระดับปรกติในเวลาต่อมาไม่นาน
เมื่อผู้ตายฟื้นคืนกลับมาและแข็งแรงดีแล้ว ญาติพี่น้องได้จัดการให้เขาได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ตามข้อตกลงที่ท่านอาจารย์ได้ให้ไว้แก่เทวดารักษาอายุของเขา โดยไม่กล้าบิดพลิ้วแต่อย่างใด
ครั้นญาติของผู้ตายทราบเช่นนั้น ก็พากันร้องไห้ด้วยความอาลัยอาวรณ์ในความดีของผู้ตาย เป็นที่น่าเวทนา ทั้งร่ำร้องขอให้ท่านอาจารย์หลวงสุวิชานแพทย์ หาหนทางช่วยเหลือให้ผู้ตายฟื้นคืนสติอีกครั้ง เพราะพวกเขาทราบดีว่า ท่านมีความสามารถพอที่จะช่วยได้
ท่านอาจารย์หลวงสุวิชานแพทย์ ได้ฟังญาติของผู้ตายรุมเร้าขอความช่วยเหลือจากท่าน ครั้งแรกท่านยังไม่กล้าที่จะรับปากพวกเขา เพียงแต่บอกว่า ขอให้ท่านได้ตรวจดูตามหลักวิชาสมาธิของท่านดูก่อน
และแล้วท่านก็เข้าสมาธิติดตามวิญญาณของผู้ตายไป จนพบกับเทวดาที่รักษาอายุของเขา ท่านจึงได้ขอร้องกับเทวดาเพื่อขอชีวิตกลับคืนสู่ร่างตามเดิม สุดท้ายได้มีการต่อรองกับเทวดารักษาอายุองค์นั้น โดยเทวดาได้ขอสัญญาว่า ถ้าให้วิญญาณของชายผู้นั้นกลับคืนสู่ร่างแล้ว จะต้องให้เขาบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาชั่วระยะหนึ่ง ซึ่งท่านอาจารย์หลวงสุวิชานแพทย์ ก็รับปากจะบอกญาติพี่น้องของเขาให้จัดการตามประสงค์ของเทวดาทุกประการ
ครั้นท่านอาจารย์หลวงสุวิชานแพทย์ออกจากญาณสมาธิแล้ว จึงแจ้งให้วงศาคณาญาติของผู้ซึ่งถึงแก่กรรมไปแล้วให้ทราบ อันเป็นการนำความปลื้มปิติแก่พวกเขาเป็นอย่างมาก และต่างก็นั่งรอเวลาที่วิญญาณจะกลับคืนสู่ร่าง
เวลาผ่านไปครู่ใหญ่ ๆ ท่านอาจารย์หลวงสุวิชานแพทย์ได้ตรวจอาการของผู้ตายอีกครั้งหนึ่ง ปรากฏว่าหัวใจเริ่มเต้นช้า ๆ จนเข้าระดับปรกติในเวลาต่อมาไม่นาน
เมื่อผู้ตายฟื้นคืนกลับมาและแข็งแรงดีแล้ว ญาติพี่น้องได้จัดการให้เขาได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ตามข้อตกลงที่ท่านอาจารย์ได้ให้ไว้แก่เทวดารักษาอายุของเขา โดยไม่กล้าบิดพลิ้วแต่อย่างใด
อีกเรื่องหนึ่ง จากหนังสือเล่มเดียวกัน ท่านอาจารย์ทองทิว สุวรรณทัต เล่าว่า.. ครั้งหนึ่ง ท่านและเพื่อน คือ พ.อ.เจตน์ จารุตามระ ชวนกันลงเรือข้ามฟากจากฝั่งพระนครไปกราบท่านอาจารย์หลวงสุวิชานแพทย์ ณ บ้านของท่านที่อยู่ทางสะพานพระปิ่นเกล้าในปัจจุบัน เพื่อขอความกรุณาให้ท่านช่วยเหลือ เกี่ยวกับอาการเจ็บของญาติผู้ใหญ่ที่กำลังมีอาการค่อนข้างหนัก
ครั้นไปถึงบ้านท่านแล้ว ต้องรับบัตรที่ทางบ้านของท่านจัดเตรียมไว้ให้ แล้วนั่งรอจนกว่าจะถึงคิวของตัว ซึ่งก็กินเวลาเป็นชั่วโมง เพราะคนที่มาพึ่งท่านก่อนหน้ามีจำนวนไม่น้อย
เมื่อถึงคิวของ พ.อ.เจตน์ ก็ชวนกันเข้าไปกราบทำความเคารพ แต่ยังไม่ทันจะเอ่ยปากเล่าเรื่องให้ท่านฟังสักคำ ท่านอาจารย์หลวงสุวิชานแพทย์ก็ชิงพูดขึ้นเสียก่อนว่า ".. คุณป้าของเรายังไม่ถึงที่ตายดอก กลับไปนี่ ให้ท่านทำสังฆทานไปถวายพระ แล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้เจ้ากรรมนายเวรตลอดจนเทวดาที่รักษาตัวเสีย อีกไม่กี่วันก็หาย ยังไม่สิ้นอายุดอก.."
ต่อมาอีกสามถึงสี่วัน ญาติผู้ใหญ่ของท่าน พ.อ.เจตน์ ก็ลุกขึ้นเดินเหินได้ และอยู่มาอีกหลายปี จึงถึงแก่กรรม
ครั้นไปถึงบ้านท่านแล้ว ต้องรับบัตรที่ทางบ้านของท่านจัดเตรียมไว้ให้ แล้วนั่งรอจนกว่าจะถึงคิวของตัว ซึ่งก็กินเวลาเป็นชั่วโมง เพราะคนที่มาพึ่งท่านก่อนหน้ามีจำนวนไม่น้อย
เมื่อถึงคิวของ พ.อ.เจตน์ ก็ชวนกันเข้าไปกราบทำความเคารพ แต่ยังไม่ทันจะเอ่ยปากเล่าเรื่องให้ท่านฟังสักคำ ท่านอาจารย์หลวงสุวิชานแพทย์ก็ชิงพูดขึ้นเสียก่อนว่า ".. คุณป้าของเรายังไม่ถึงที่ตายดอก กลับไปนี่ ให้ท่านทำสังฆทานไปถวายพระ แล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้เจ้ากรรมนายเวรตลอดจนเทวดาที่รักษาตัวเสีย อีกไม่กี่วันก็หาย ยังไม่สิ้นอายุดอก.."
ต่อมาอีกสามถึงสี่วัน ญาติผู้ใหญ่ของท่าน พ.อ.เจตน์ ก็ลุกขึ้นเดินเหินได้ และอยู่มาอีกหลายปี จึงถึงแก่กรรม
(ภาพอดีต) ศาลท่านท้าวมหาพรหม และโรงแรมเอราวัณ |
ท่านอาจารย์ พล.ร.ต.หลวงสุวิชานแพทย์ ร.น. นี้ เป็นอดีตนายแพทย์ใหญ่ทหารเรือ เป็นผู้อัญเชิญท่านท้าวมหาพรหมประดิษฐานที่โรงแรมเอราวัณ (ปัจจุบันคือโรงแรมแกรนด์ไฮแอทเอราวัณ) ส่วนบริเวณสำหรับตั้งศาลนั้น ท่านท้าวมหาพรหมโปรดบริเวณมุมโรงแรมด้านสี่แยกราชประสงค์
กลับเข้าเรื่องการทำบุญสะเดาะเคราะห์ต่ออายุและเสริมดวงชะตา ด้วยการบริจาคโลหิต ...
โลหิตเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นในการรักษาผู้ป่วย ผู้ป่วยหลายประเภทมีความจำเป็นต้องใช้โลหิต เช่น ผู้ที่ประสบอุบัติเหตุ ผู้ที่รอการผ่าตัด คลอดบุตร ผู้ป่วยที่เกิดภาวะเสียโลหิต ผู้ป่วยที่ภาวะเกล็ดโลหิตต่ำ ผู้ป่วยมะเร็ง การปลูกถ่ายอวัยวะ การปลูกถ่ายไขกระดูก ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดนี้ จะทำไม่ได้เลยหากไม่มีโลหิต
บ่อยครั้งที่เราได้เห็นภาพพ่อแม่พี่น้องมานอนเฝ้าผู้ป่วยในโรงพยาบาล และเมื่อผู้ป่วยเสียชีวิตก็จะมีเสียงร้องไห้ระงมชวนให้เศร้าใจ ภาพการเก็บข้าวของเครื่องใช้ของคนรักที่จากไปเป็นภาพที่เศร้าสลดและสะเทือนใจมาก เหตุการณ์ลักษณะนี้อาจจะไม่เกิดขึ้นเลย หากมีโลหิตสำรองในคลังเพียงพอที่จะรักษาชีวิตผู้ป่วยได้ทันท่วงที
โลหิตในร่างกายคนเรา ประกอบด้วยพลาสมา (น้ำเหลือง) และเม็ดโลหิต คิดเป็น 8% ของน้ำหนักตัว หรือประมาณ 17-18 แก้วน้ำ ร่างกายใช้เพียง 15-16 แก้วน้ำเท่านั้น ส่วนที่เหลือคือโลหิตส่วนเกินที่ร่างกายยังไม่จำเป็นต้องใช้ สามารถบริจาคให้ผู้อื่นได้โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ แก่ร่างกาย
และเมื่อบริจาคโลหิตไปแล้ว ไขกระดูกจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดโลหิตใหม่ขึ้นมาทดแทน ให้มีปริมาณโลหิตในร่างกายเท่าเดิม
และถึงแม้จะไม่บริจาคโลหิต เม็ดโลหิตแต่ละชนิดก็มีอายุการทำงาน เมื่อหมดอายุ เม็ดโลหิตที่สลายตัวจะถูกขับออกทางปัสสาวะและอุจจาระ หลังจากนั้น ไขกระดูกจะสร้างเซลล์เม็ดโลหิตชุดใหม่ขึ้นมาทดแทนตลอดเวลาโดยไม่มีวันหมด
การบริจาคโลหิตจึงเกิดประโยชน์ต่อร่างกายของผู้บริจาคโดยตรง เพราะไปกระตุ้นการทำงานของไขกระดูก ให้สร้างเม็ดโลหิตใหม่ ๆ ซึ่งแข็งแรงและมีประสิทธิภาพทดแทนโลหิตเก่าที่ขับออกไป ทำให้ผู้บริจาคโลหิตมีผิวพรรณผ่องใส มีสุขภาพอนามัยดี นอกจากนี้ การบริจาคโลหิตอย่างสม่ำเสมอทำให้การสะสมธาตุเหล็กในร่างกายลดลง ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้
ประโยชน์อื่น ๆ ที่ผู้บริจาคโลหิตจะได้รับ คือได้รับการตรวจสุขภาพร่างกาย โลหิตที่บริจาคจะผ่านกระบวนการคัดกรองเชื้อต่าง ๆ ในห้องปฏิบัติการ เท่ากับว่า ผู้บริจาคโลหิตได้รับการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี, ไวรัสตับอักเสบ ซี, เอดส์ และอื่น ๆ
การบริจาคโลหิต ยังช่วยกระตุ้นให้ผู้บริจาคโลหิตหันมาสนใจดูแลรักษาสุขภาพของตนเองมากยิ่งขึ้น เพราะมีความรู้สึกว่า หลังการบริจาคโลหิต ร่างกายควรได้รับการทะนุถนอมและฟื้นฟูให้กลับมาแข็งแรง มีความพร้อมสำหรับการบริจาคในครั้งต่อ ๆ ไป จึงเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ จัดเวลาว่างเพื่อไปออกกำลังกายเป็นประจำ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เลิกสูบบุหรี่ เป็นต้น
ขั้นตอนการรับบริจาคโลหิตนั้น ปฏิบัติงานโดยเจ้าหน้าที่ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางการแพทย์และสาธารณสุข ให้ความสำคัญและระมัดระวังอย่างยิ่งในเรื่องความสะอาดปลอดภัยในทุกขั้นตอน
ผู้บริจาคมั่นใจได้ว่า จะไม่มีการใช้เข็มซ้ำอย่างแน่นอน เริ่มตั้งแต่การตรวจคัดกรองความเข้มข้นของโลหิต เข็มที่ใช้เจาะปลายนิ้วมาจากอุปกรณ์ที่มีกลไกป้องกันการใช้ซ้ำครั้งที่สอง ฉะนั้น เมื่อเจาะครั้งที่หนึ่งแล้ว จะไม่สามารถจะเจาะซ้ำครั้งที่สองอีก สำหรับเข็มที่ใช้เจาะเข้าท่อนแขนเพื่อเก็บโลหิตนั้น ก็มาพร้อมกับถุงบรรจุโลหิต ซึ่งมีทั้งสายยางและเข็มเจาะครบชุด เป็นของใหม่และไม่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้
พระพุทธศาสนาเชื่อว่า การที่เราจะสุข จะทุกข์ จะเสื่อม จะเจริญ ไม่ใช่อำนาจของดวงดาว ไม่ใช่อำนาจของสิ่งภายนอกอื่นใด หากแต่อยู่ที่กรรมหรือการกระทำของเราเอง ทำกรรมอันใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม ย่อมได้รับผลแห่งกรรมนั้น และกรรมสามารถส่งผลข้ามภพข้ามชาติได้
การบริจาคโลหิต เป็นกุศลกรรม เป็นบุญชนิดหนึ่งที่เรียกว่า บุญเกิดจากการให้ หรือ "ทานมัย" โลหิตเป็นส่วนสำคัญของทุกชีวิต เป็นปัจจัยหล่อเลี้ยงรักษาชีวิตให้ดำรงอยู่ การบริจาคโลหิตจึงเทียบได้กับการบริจาคชีวิต นับเป็นการบำเพ็ญทานบารมีที่ยิ่งใหญ่ ควรแก่การยกย่องสรรเสริญเป็นอย่างยิ่ง
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนจะทรงตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ได้เวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร ทรงบำเพ็ญบารมีอันกระทำได้ยากนับครั้งไม่ถ้วน ในบางพระชาติ ทรงสละชีวิตของพระองค์เองเพื่อความอยู่รอดของชีวิตอื่น
ทานมัยนี้มีผลมาก ให้มนุษย์สมบัติก็ได้ ให้สวรรค์สมบัติก็ได้ นิพพานสมบัติก็ได้ เป็นที่รักของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย
การบริจาคโลหิต ยังนับเป็น "เวยยาวัจจมัย" หรือบุญอันเกิดจากการขวนขวายในกิจที่ชอบ ช่วยทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นหรือต่อส่วนรวม บุญข้อนี้มีผลมาก ไปที่ใดก็จะได้รับความสะดวก ได้รับความช่วยเหลือ ไม่ขัดข้องเดือดร้อน
การให้ทุกชนิดย่อมมีผลทั้งสิ้น แม้แต่บุคคลเทน้ำลงในหลุมหรือบ่อเล็ก ๆ ด้วยหวังว่าจะให้สัตว์ตัวเล็ก ๆ ได้อาศัยน้ำนี้เป็นอยู่ พระพุทธองค์ยังตรัสว่าเป็นบุญ จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า โลหิตที่เสียสละบริจาคเพื่อสงเคราะห์ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ให้พ้นจากความทุกข์ โดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง และไม่มุ่งหวังอามิสสิ่งตอบแทน จะมีอานิสงส์ผลบุญมากมายเพียงใด
ผู้ป่วยที่รอรับโลหิตบริจาค บางรายเป็นพ่อเป็นแม่ของลูกซึ่งยังเล็กอยู่ บางรายเป็นกำลังสำคัญในการทำมาหาเลี้ยงชีพ เป็นความหวังของครอบครัว บางท่านเป็นปูชนียบุคคล เป็นครูบาอาจารย์ผู้ประสิทธิประสาทวิชาความรู้ ฯลฯ การช่วยเหลือพวกเขาเหล่านั้นให้มีชีวิตรอดยืนยาวต่อไป จึงไม่ใช่การให้ความช่วยเหลือเพียงเฉพาะผู้ที่เจ็บไข้ได้ป่วยเท่านั้น หากแต่ยังมีความหมายอย่างยิ่งสำหรับอีกหลายชีวิตที่พึ่งพาอาศัยอยู่รอบข้าง
การประกอบกุศลกรรมที่ยิ่งใหญ่ มีอานิสงส์มากเช่นนี้ ย่อมสามารถตัดรอนอกุศลกรรมที่หนักที่แรงได้ แม้ดวงชะตามีเกณฑ์ประสบเคราะห์หนัก ถึงขั้นเลือดตกยางออก ก็สามารถรักษาชีวิตรอดปลอดภัยได้อย่างน่าอัศจรรย์
การบริจาคโลหิตนั้น ไม่ว่าจะเป็นคนมั่งมีหรือยากจน ก็สามารถทำได้ด้วยกันทั้งสิ้น และเมื่อทำแล้ว ย่อมเกิดความสุขและความภาคภูมิใจที่ได้เสียสละโลหิตในร่างกายตนเพื่อสาธารณประโยชน์ต่อผู้อื่น
คัมภีร์โบราณของจีนกล่าวว่า บุคคลใดสั่งสมแต่ความดีงาม ไม่เพียงแต่บุคคลนั้นจะได้เสวยผลแห่งความดีนั้น แม้แต่สมาชิกในครอบครัว รวมถึงลูกหลานเหลนโหลนก็จะพลอยได้เสวยผลแห่งกรรมดีนั้นด้วยเช่นกัน
อ้างอิง - สื่อประชาสัมพันธ์ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
- กฎแห่งกรรม, พระสาสนโสภณ (พิจิตร ฐิตวณฺโณ)
- ประสบการณ์ทางวิญญาณ, ท่านอาจารย์ทองทิว สุวรรณทัต
ขอขอบคุณ ท่านเจ้าของภาพถ่ายในอินเทอร์เน็ตทุกท่าน ที่เอื้อเฟื้อภาพประกอบเป็นวิทยาทาน
โลหิตเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นในการรักษาผู้ป่วย ผู้ป่วยหลายประเภทมีความจำเป็นต้องใช้โลหิต เช่น ผู้ที่ประสบอุบัติเหตุ ผู้ที่รอการผ่าตัด คลอดบุตร ผู้ป่วยที่เกิดภาวะเสียโลหิต ผู้ป่วยที่ภาวะเกล็ดโลหิตต่ำ ผู้ป่วยมะเร็ง การปลูกถ่ายอวัยวะ การปลูกถ่ายไขกระดูก ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดนี้ จะทำไม่ได้เลยหากไม่มีโลหิต
และเมื่อบริจาคโลหิตไปแล้ว ไขกระดูกจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดโลหิตใหม่ขึ้นมาทดแทน ให้มีปริมาณโลหิตในร่างกายเท่าเดิม
และถึงแม้จะไม่บริจาคโลหิต เม็ดโลหิตแต่ละชนิดก็มีอายุการทำงาน เมื่อหมดอายุ เม็ดโลหิตที่สลายตัวจะถูกขับออกทางปัสสาวะและอุจจาระ หลังจากนั้น ไขกระดูกจะสร้างเซลล์เม็ดโลหิตชุดใหม่ขึ้นมาทดแทนตลอดเวลาโดยไม่มีวันหมด
การบริจาคโลหิตจึงเกิดประโยชน์ต่อร่างกายของผู้บริจาคโดยตรง เพราะไปกระตุ้นการทำงานของไขกระดูก ให้สร้างเม็ดโลหิตใหม่ ๆ ซึ่งแข็งแรงและมีประสิทธิภาพทดแทนโลหิตเก่าที่ขับออกไป ทำให้ผู้บริจาคโลหิตมีผิวพรรณผ่องใส มีสุขภาพอนามัยดี นอกจากนี้ การบริจาคโลหิตอย่างสม่ำเสมอทำให้การสะสมธาตุเหล็กในร่างกายลดลง ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้
ประโยชน์อื่น ๆ ที่ผู้บริจาคโลหิตจะได้รับ คือได้รับการตรวจสุขภาพร่างกาย โลหิตที่บริจาคจะผ่านกระบวนการคัดกรองเชื้อต่าง ๆ ในห้องปฏิบัติการ เท่ากับว่า ผู้บริจาคโลหิตได้รับการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี, ไวรัสตับอักเสบ ซี, เอดส์ และอื่น ๆ
การบริจาคโลหิต ยังช่วยกระตุ้นให้ผู้บริจาคโลหิตหันมาสนใจดูแลรักษาสุขภาพของตนเองมากยิ่งขึ้น เพราะมีความรู้สึกว่า หลังการบริจาคโลหิต ร่างกายควรได้รับการทะนุถนอมและฟื้นฟูให้กลับมาแข็งแรง มีความพร้อมสำหรับการบริจาคในครั้งต่อ ๆ ไป จึงเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ จัดเวลาว่างเพื่อไปออกกำลังกายเป็นประจำ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เลิกสูบบุหรี่ เป็นต้น
ขั้นตอนการรับบริจาคโลหิตนั้น ปฏิบัติงานโดยเจ้าหน้าที่ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางการแพทย์และสาธารณสุข ให้ความสำคัญและระมัดระวังอย่างยิ่งในเรื่องความสะอาดปลอดภัยในทุกขั้นตอน
ผู้บริจาคมั่นใจได้ว่า จะไม่มีการใช้เข็มซ้ำอย่างแน่นอน เริ่มตั้งแต่การตรวจคัดกรองความเข้มข้นของโลหิต เข็มที่ใช้เจาะปลายนิ้วมาจากอุปกรณ์ที่มีกลไกป้องกันการใช้ซ้ำครั้งที่สอง ฉะนั้น เมื่อเจาะครั้งที่หนึ่งแล้ว จะไม่สามารถจะเจาะซ้ำครั้งที่สองอีก สำหรับเข็มที่ใช้เจาะเข้าท่อนแขนเพื่อเก็บโลหิตนั้น ก็มาพร้อมกับถุงบรรจุโลหิต ซึ่งมีทั้งสายยางและเข็มเจาะครบชุด เป็นของใหม่และไม่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้
พระพุทธศาสนาเชื่อว่า การที่เราจะสุข จะทุกข์ จะเสื่อม จะเจริญ ไม่ใช่อำนาจของดวงดาว ไม่ใช่อำนาจของสิ่งภายนอกอื่นใด หากแต่อยู่ที่กรรมหรือการกระทำของเราเอง ทำกรรมอันใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม ย่อมได้รับผลแห่งกรรมนั้น และกรรมสามารถส่งผลข้ามภพข้ามชาติได้
การบริจาคโลหิต เป็นกุศลกรรม เป็นบุญชนิดหนึ่งที่เรียกว่า บุญเกิดจากการให้ หรือ "ทานมัย" โลหิตเป็นส่วนสำคัญของทุกชีวิต เป็นปัจจัยหล่อเลี้ยงรักษาชีวิตให้ดำรงอยู่ การบริจาคโลหิตจึงเทียบได้กับการบริจาคชีวิต นับเป็นการบำเพ็ญทานบารมีที่ยิ่งใหญ่ ควรแก่การยกย่องสรรเสริญเป็นอย่างยิ่ง
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนจะทรงตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ได้เวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร ทรงบำเพ็ญบารมีอันกระทำได้ยากนับครั้งไม่ถ้วน ในบางพระชาติ ทรงสละชีวิตของพระองค์เองเพื่อความอยู่รอดของชีวิตอื่น
ทานมัยนี้มีผลมาก ให้มนุษย์สมบัติก็ได้ ให้สวรรค์สมบัติก็ได้ นิพพานสมบัติก็ได้ เป็นที่รักของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย
การบริจาคโลหิต ยังนับเป็น "เวยยาวัจจมัย" หรือบุญอันเกิดจากการขวนขวายในกิจที่ชอบ ช่วยทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นหรือต่อส่วนรวม บุญข้อนี้มีผลมาก ไปที่ใดก็จะได้รับความสะดวก ได้รับความช่วยเหลือ ไม่ขัดข้องเดือดร้อน
การให้ทุกชนิดย่อมมีผลทั้งสิ้น แม้แต่บุคคลเทน้ำลงในหลุมหรือบ่อเล็ก ๆ ด้วยหวังว่าจะให้สัตว์ตัวเล็ก ๆ ได้อาศัยน้ำนี้เป็นอยู่ พระพุทธองค์ยังตรัสว่าเป็นบุญ จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า โลหิตที่เสียสละบริจาคเพื่อสงเคราะห์ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ให้พ้นจากความทุกข์ โดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง และไม่มุ่งหวังอามิสสิ่งตอบแทน จะมีอานิสงส์ผลบุญมากมายเพียงใด
ผู้ป่วยที่รอรับโลหิตบริจาค บางรายเป็นพ่อเป็นแม่ของลูกซึ่งยังเล็กอยู่ บางรายเป็นกำลังสำคัญในการทำมาหาเลี้ยงชีพ เป็นความหวังของครอบครัว บางท่านเป็นปูชนียบุคคล เป็นครูบาอาจารย์ผู้ประสิทธิประสาทวิชาความรู้ ฯลฯ การช่วยเหลือพวกเขาเหล่านั้นให้มีชีวิตรอดยืนยาวต่อไป จึงไม่ใช่การให้ความช่วยเหลือเพียงเฉพาะผู้ที่เจ็บไข้ได้ป่วยเท่านั้น หากแต่ยังมีความหมายอย่างยิ่งสำหรับอีกหลายชีวิตที่พึ่งพาอาศัยอยู่รอบข้าง
การประกอบกุศลกรรมที่ยิ่งใหญ่ มีอานิสงส์มากเช่นนี้ ย่อมสามารถตัดรอนอกุศลกรรมที่หนักที่แรงได้ แม้ดวงชะตามีเกณฑ์ประสบเคราะห์หนัก ถึงขั้นเลือดตกยางออก ก็สามารถรักษาชีวิตรอดปลอดภัยได้อย่างน่าอัศจรรย์
การบริจาคโลหิตนั้น ไม่ว่าจะเป็นคนมั่งมีหรือยากจน ก็สามารถทำได้ด้วยกันทั้งสิ้น และเมื่อทำแล้ว ย่อมเกิดความสุขและความภาคภูมิใจที่ได้เสียสละโลหิตในร่างกายตนเพื่อสาธารณประโยชน์ต่อผู้อื่น
คัมภีร์โบราณของจีนกล่าวว่า บุคคลใดสั่งสมแต่ความดีงาม ไม่เพียงแต่บุคคลนั้นจะได้เสวยผลแห่งความดีนั้น แม้แต่สมาชิกในครอบครัว รวมถึงลูกหลานเหลนโหลนก็จะพลอยได้เสวยผลแห่งกรรมดีนั้นด้วยเช่นกัน
ผู้ให้ของที่พอใจ ย่อมได้ของที่พอใจ
ผู้ให้ของที่เลิศ ย่อมได้ของที่เลิศ
ผู้ให้ของที่ดี ย่อมได้ของที่ดี
ผู้ให้ของที่ประเสริฐ ย่อมเข้าถึงฐานะอันประเสริฐ
นระใดให้ของที่เลิศ ให้ของที่ดี และให้ของที่ประเสริฐ
นระนั้นจะเกิด ณ ที่ใด ๆ ย่อมมีอายุยืน มียศ ณ ที่นั้น ๆ
(มนาปทายีสูตร)
อ้างอิง - สื่อประชาสัมพันธ์ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
- กฎแห่งกรรม, พระสาสนโสภณ (พิจิตร ฐิตวณฺโณ)
- ประสบการณ์ทางวิญญาณ, ท่านอาจารย์ทองทิว สุวรรณทัต
ขอขอบคุณ ท่านเจ้าของภาพถ่ายในอินเทอร์เน็ตทุกท่าน ที่เอื้อเฟื้อภาพประกอบเป็นวิทยาทาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น