กล่าวถึงพระนิรันตราย (องค์ใน) เป็นพระพุทธรูปที่กำนันอินและนายยังบุตรชาย ขุดพบเมื่อปีมะโรง พ.ศ. 2399 ที่ชายป่าแขวงเมืองปราจีนบุรี ห่างจากดงศรีมหาโพธิ์ประมาณสามเส้น ในขณะที่กำลังขุดมันนกกันอยู่ โดยก่อนหน้านั้น ฝันว่าจับช้างเผือกได้
บริเวณดงศรีมหาโพธิ์เคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณที่เจริญรุ่งเรืองมาแต่สมัยทวารวดี นักโบราณคดีเคยขุดพบเทวสถานและเชิงเทินเมืองโบราณ รูปศิลาที่สลักเป็นพระปางนาคปรก และรูปสัมฤทธิ์ที่หล่อเป็นรูปพระแม่ธรณีบีบมวยผม โบราณวัตถุที่ขุดค้นพบนี้ เป็นฝีมือช่างสมัยเดียวกันกับทวารวดีหรืออู่ทอง
![]() |
พระนิรันตราย (องค์ใน) พระพุทธรูปโบราณ หล่อด้วยทองคำ กำนันอินและบุตรชายขุดพบเมื่อปีมะโรง พ.ศ. 2399 ใกล้ดงศรีมหาโพธิ์ ปราจีนบุรี |
พระพุทธรูปที่กำนันอินและบุตรชายขุดพบ เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองคำเนื้อหก น้ำหนักเจ็ดตำลึงสิบเอ็ดสลึง พุทธศิลปะแบบทวารวดี จึงให้พระเกรียงไกรกระบวนยุทธ์ ปลัดเมืองฉะเชิงเทรา พาเข้ามา ณ กรุงเทพฯ เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ในวันพระฤกษ์เฉลิมพระราชมณเฑียรสีตลาภิรมย์
![]() |
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 |
พระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดสองคนพ่อลูกนี้ว่า มีกตัญญูต่อพระพุทธศาสนาและพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อขุดได้พระทองคำเช่นนี้แล้ว แทนที่จะยุบหลอมนำทองคำไปจับจ่ายใช้สอยเป็นประโยชน์ตน กลับมีน้ำใจนำมาทูลเกล้าฯ ถวาย จึงทรงพระราชทานรางวัลเป็นเงินตราเจ็ดชั่ง (560 บาท)
พระนิรันตรายที่นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานนำไปเก็บไว้ในหอเสถียรธรรมปริตร ครั้นเมื่อปีวอก พ.ศ. 2403 มีคนร้ายลอบเข้าไปขโมยพระกริ่งทองคำองค์น้อยในหอนั้น แต่กลับไม่ลักพระนิรันตราย พระเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีพระราชดำริว่า พระพุทธรูปนี้ เมื่อขุดได้ก็ไม่บุบทำลาย และควรที่ผู้ร้ายจะลัก แต่ก็ไม่ลัก ทั้ง ๆ ที่เป็นพระทองคำองค์ใหญ่กว่าพระกริ่ง แคล้วคลาดไม่เป็นอันตรายถึงสองครั้งเป็นอัศจรรย์ จึงทรงถวายพระนามว่า "พระนิรันตราย" ("นิร" + "อันตราย", มีความหมายว่า "ปราศจากอันตราย")
พระนิรันตรายที่นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานนำไปเก็บไว้ในหอเสถียรธรรมปริตร ครั้นเมื่อปีวอก พ.ศ. 2403 มีคนร้ายลอบเข้าไปขโมยพระกริ่งทองคำองค์น้อยในหอนั้น แต่กลับไม่ลักพระนิรันตราย พระเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีพระราชดำริว่า พระพุทธรูปนี้ เมื่อขุดได้ก็ไม่บุบทำลาย และควรที่ผู้ร้ายจะลัก แต่ก็ไม่ลัก ทั้ง ๆ ที่เป็นพระทองคำองค์ใหญ่กว่าพระกริ่ง แคล้วคลาดไม่เป็นอันตรายถึงสองครั้งเป็นอัศจรรย์ จึงทรงถวายพระนามว่า "พระนิรันตราย" ("นิร" + "อันตราย", มีความหมายว่า "ปราศจากอันตราย")
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานหล่อพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิเพชรต้องตามพุทธลักษณะหน้าตักห้านิ้วกึ่ง หล่อด้วยทองคำ สวมครอบพระพุทธรูปนิรันตรายไว้อีกชั้นหนึ่ง และเรียกนามรวมกันมาจนถึงทุกวันนี้ว่า "พระนิรันตราย" พระพุทธรูปที่หล่อขึ้นในครั้งนี้ ไม่มีซุ้มเรือนแก้วเป็นพุ่มพระมหาโพธิ์อยู่เบื้องหลัง ปัจจุบัน ประดิษฐานอยู่ ณ หอพระสุลาลัยพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร
![]() |
หอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง สถานที่ประดิษฐานพระนิรันตรายทองคำและพระนิรันตรายเงิน |
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้อัญเชิญพระนิรันตรายทองคำประดิษฐานในพระแท่นมณฑลในพระราชพิธีต่าง ๆ เช่น พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ ( ทำบุญตรุษ ) พระราชพิธีสงกรานต์ ฯลฯ ปัจจุบัน เจ้าพนักงานภูษามาลายังรักษาแบบแผนโบราณราชประเพณีโดยอัญเชิญพระนิรันตรายไปตั้งในพระราชพิธีสำคัญ เช่น ในการบำเพ็ญพระราชกุศลวันเฉลิมพระชนมพรรษา และการพระราชกุศลที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัด ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ฯลฯ เป็นต้น
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้พระพุทธรูปงาช้าง ประทับขัดสมาธิราบจากลังกา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างครอบถวายโดยจำลองจากพระนิรันตราย (องค์ครอบ) ขึ้นใหม่ด้วยเงิน เรียกว่า "พระนิรันตรายเงิน" ไม่มีซุ้มเรือนแก้ว
![]() |
(ซ้าย) พระสัมพุทธพรรณี วัดราชาธิวาส (กลาง) พระสัมพุทธสิริ วัดโสมนัสราชวรวิหาร (ขวา) พระพุทธอังคีรส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม |
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพิจารณาแบบอย่างพุทธลักษณะว่า พระพุทธรูปไม่ควรมีพระเมาลี (จุกหรือมวยผม) ดังนั้น พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระองค์จึงมีพุทธศิลป์ที่ต่างจากพระพุทธรูปที่สร้างกันมาแต่โบราณ คือ มีพระรัศมีบนพระเกศา แต่ไม่มีพระเมาลี เช่น พระนิรันตราย พระสัมพุทธพรรณี พระสัมพุทธสิริ พระพุทธอังคีรส
ในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า พระสงฆ์คณะธรรมยุติกนิกายที่พระองค์ทรงสถาปนานั้น แพร่หลายไพบูลย์มากขึ้น มีผู้มีทรัพย์และศรัทธาสร้างพระอารามถวายเป็นการเฉพาะแด่พระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติหลายพระอาราม จึงควรมีสิ่งอันสำคัญเพื่อเป็นที่ระลึกสืบไป ดังนั้น ในปีมะโรง พ.ศ. 2411 โปรดเกล้าฯ ให้ช่างหล่อพระพุทธรูปด้วยทองเหลืองกะไหล่ทอง นั่งขัดสมาธิเพชร พิมพ์เดียวกันกับพระพุทธรูปทองคำซึ่งสวมพระนิรันตราย แต่มีเรือนแก้วอยู่เบื้องหลังเป็นพุ่มพระมหาโพธิ์ มีอักษรขอมจำหลักลงไว้ในวงกลีบบัว เบื้องหน้า 9 เบื้องหลัง 9 แสดงพระพุทธคุณตั้งแต่ "อรหังสัมมาสัมพุทโธ" จนถึง "ภควา" ยอดเรือนแก้วมีรูปพระมหามงกุฎตั้งติดอยู่กับฐานชั้นล่าง รองฐานพระซึ่งเป็นที่สำหรับรับน้ำสรงพระ มีท่อเป็นรูปศีรษะโคแสดงเป็นที่หมายพระโคตร ซึ่งเป็นโคตมะ
ในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า พระสงฆ์คณะธรรมยุติกนิกายที่พระองค์ทรงสถาปนานั้น แพร่หลายไพบูลย์มากขึ้น มีผู้มีทรัพย์และศรัทธาสร้างพระอารามถวายเป็นการเฉพาะแด่พระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติหลายพระอาราม จึงควรมีสิ่งอันสำคัญเพื่อเป็นที่ระลึกสืบไป ดังนั้น ในปีมะโรง พ.ศ. 2411 โปรดเกล้าฯ ให้ช่างหล่อพระพุทธรูปด้วยทองเหลืองกะไหล่ทอง นั่งขัดสมาธิเพชร พิมพ์เดียวกันกับพระพุทธรูปทองคำซึ่งสวมพระนิรันตราย แต่มีเรือนแก้วอยู่เบื้องหลังเป็นพุ่มพระมหาโพธิ์ มีอักษรขอมจำหลักลงไว้ในวงกลีบบัว เบื้องหน้า 9 เบื้องหลัง 9 แสดงพระพุทธคุณตั้งแต่ "อรหังสัมมาสัมพุทโธ" จนถึง "ภควา" ยอดเรือนแก้วมีรูปพระมหามงกุฎตั้งติดอยู่กับฐานชั้นล่าง รองฐานพระซึ่งเป็นที่สำหรับรับน้ำสรงพระ มีท่อเป็นรูปศีรษะโคแสดงเป็นที่หมายพระโคตร ซึ่งเป็นโคตมะ
![]() |
พระนิรันตราย หล่อด้วยทองเหลืองกะไหล่ทอง มีซุ้มเรือนแก้ว สร้างขึ้นรวม 18 องค์ เพื่อพระราชทานไว้ ณ พระอาราม คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย |
พระพุทธรูปซึ่งหล่อใหม่นี้มีจำนวน 18 องค์ เท่าจำนวนปีที่ดำรงสิริราชสมบัติ (พ.ศ. 2394 - พ.ศ. 2411) พระราชทานนามพระพุทธรูปทั้ง 18 องค์นี้ว่า "พระนิรันตราย" เช่นกัน
![]() |
พระนิรันตราย เนื้อทองเหลืองกะไหล่ทอง มีซุ้มเรือนแก้ว ประดิษฐานหน้าพระสัมพุทธสิริ พระประธานในพระอุโบสถ วัดโสมนัสราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร 1 ใน 18 องค์ที่ทรงพระราชทานไว้ ณ พระอาราม คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย |
![]() |
พระนิรันตราย เนื้อทองเหลืองกะไหล่ทอง มีซุ้มเรือนแก้ว ประดิษฐานหน้าพระพุทธวรนาถ พระประธานในพระอุโบสถ วัดบุปผารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร 1 ใน 18 องค์ที่ทรงพระราชทานไว้ ณ พระอาราม คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย |
พระนิรันตรายทั้ง 18 องค์นี้ ยังมิทันได้กะไหล่ทองก็เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ช่างกะไหล่ทองจนแล้วเสร็จและพระราชทานไว้ ณ พระอารามในคณะธรรมยุติกนิกาย ตามพระราชประสงค์ในสมเด็จพระบรมชนกนาถ วัดละองค์ ได้แก่ วัดบวรนิเวศวิหาร วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม วัดเสนาสนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัดนิเวศธรรมประวัติ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัดบรมนิวาส วัดมกุฎกษัตริยาราม วัดเทพศิรินทราวาส วัดโสมนัสราชวรวิหาร วัดราชาธิวาส วัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี วัดปทุมวนาราม วัดราชผาติการาม วัดสัมพันธวงศาราม วัดเครือวัลย์ วัดบุปผารามวรวิหาร วัดบุรณศิริมาตยาราม วัดยุคันธราวาส จังหวัดนนทบุรี
อ้างอิง พระพุทธรูปสำคัญ กรมศิลปากร
![]() |
พระนิรันตราย วัดบวรนิเวศวิหาร ที่ระลึกงานบำเพ็ญพระกุศลคล้ายวันประสูติ เจริญพระชันษา 99 ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก 3 ตุลาคม 2555 |
![]() |
พระนิรันตราย พิธีใหญ่ วัดบวรนิเวศวิหาร พ.ศ. 2555 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จฯ ทรงเททอง จัดสร้างโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกับมูลนิธิโรงพยาบาลตำรวจ รายได้สมทบทุนจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ โรงพยาบาลตำรวจ |
ด้วยประวัติความเป็นมา จึงมีความเชื่อว่า พระนิรันตรายมีพุทธคุณโดดเด่นในด้านแคล้วคลาดและป้องกันศัตรูคิดร้าย วัดในสังกัดธรรมยุติกนิกาย จึงนิยมสร้างพระพิมพ์เป็นรูปพระนิรันตราย สำหรับแจกเป็นที่ระลึกในโอกาสสำคัญต่าง ๆ
อ้างอิง พระพุทธรูปสำคัญ กรมศิลปากร
("นิร" + "อันตราย", มีความหมายว่า "ปราศจากอันตราย")
ตอบลบปรัชญาสถานศึกษา
ความรู้คู่คุณธรรม น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
รหัสประจำตัวประชาชน 3160100547447
รหัสประจำตัวนักศึกษา 5723000263 รหัสกลุ่ม 135
นักศึกษา กศน.อำเภอเมืองลพบุรี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองลพบุรี
284 ถ.นารายณ์มหาราช ต.ทะเลชุบศร อ.เมืองลพบุรี จ.ลพบุรี 15000
เว็บไซด์ : http://lopburi.nfe.go.th/5002 โทร.063412497,036413929
ปรัชญาสถานศึกษา
ตอบลบความรู้คู่คุณธรรม น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
รหัสประจำตัวประชาชน 3160100547447
รหัสประจำตัวนักศึกษา 5723000263 รหัสกลุ่ม 135
นักศึกษา กศน.อำเภอเมืองลพบุรี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองลพบุรี
284 ถ.นารายณ์มหาราช ต.ทะเลชุบศร อ.เมืองลพบุรี จ.ลพบุรี 15000
เว็บไซด์ : http://lopburi.nfe.go.th/5002 โทร.063412497,036413929
ปรัชญาสถานศึกษา
ตอบลบความรู้คู่คุณธรรม น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
รหัสประจำตัวประชาชน 3160100547447
รหัสประจำตัวนักศึกษา 5723000263 รหัสกลุ่ม 135
นักศึกษา กศน.อำเภอเมืองลพบุรี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองลพบุรี
284 ถ.นารายณ์มหาราช ต.ทะเลชุบศร อ.เมืองลพบุรี จ.ลพบุรี 15000
เว็บไซด์ : http://lopburi.nfe.go.th/5002 โทร.063412497,036413929
กระผมนับถือมากผมได้เก็บไว้บูชาจำนวน2องค์ของกรมตำรวจออกปี2555 โดยพล.ต.อเพรียวพัน ดามาพงศ์ท่านเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ตอบลบ